กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ลิงค์: https://ehenx.com/12130/ หรือ
ตำแหน่ง: นิติกรปฏิบัติการ(ปริญญาโท),นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ(กลุ่มวิศวกรรม)(ปริญญาโท),นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ(กลุ่มปิโตรเคมีและพอลิเมอร์)(ปริญญาตรี),นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ(กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ)(ปริญญาตรี),นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ(ปริญญาตรี),นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ(ปริญญาตรี)
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 15,000-19,250
อัตราว่าง: 8
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 23 ธ.ค. – 14 ม.ค. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชกรเ็นข้าราชการพลเรือนสามัญ

ด้วยกรมทรัพย์สินทางปัญญา จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มวิศวกรรม) (ปริญญาโท) นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มปิโตรเคมีและพอลิเมอร์) (ปริญญาตรี) นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ) (ปริญญาตรี) นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ (ปริญญาตรี) นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ (ปริญญาตรี) ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นิติกรปฏิบัติการ (ปริญญาโท)

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 17500-19250 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาโท


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มวิศวกรรม) (ปริญญาโท)

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 17500-19250 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาโท


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มปิโตรเคมีและพอลิเมอร์) (ปริญญาตรี)

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ) (ปริญญาตรี)

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ (ปริญญาตรี)

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ (ปริญญาตรี)

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นิติกรปฏิบัติการ (ปริญญาโท)

ได้รับวุฒิปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มวิศวกรรม) (ปริญญาโท)

ได้รับวุฒิปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ทางวิศวกรรมเครื่องกล ทางวิศวกรรมเครื่องกลและพลังงาน ทางวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์ หรือทางวิศวกรรมยานยนต์


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มปิโตรเคมีและพอลิเมอร์) (ปริญญาตรี)

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางเคมี ทางเคมีอุตสาหกรรม ทางปิโตรเคมี ทางปิโตรเคมีและเคมีของไฮโดรคาร์บอน ทางปิโตรเคมีและเคมีไฮโดรคาร์บอน ทางปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ ทางเคมีประยุกต์ ทางเทคโนโลยีปิโตรเคมี ทางเคมีเทคนิค หรือ ทางเทคโนโลยีเคมี


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ) (ปริญญาตรี)

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทางชีวเคมี ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือทางจุลชีววิทยา


นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ (ปริญญาตรี)

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา


นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ (ปริญญาตรี)

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นิติกรปฏิบัติการ (ปริญญาโท)

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย โดยยกร่าง ปรับปรุง แก้ไขบทบัญญัติและอนุบัญญัติต่างๆ ให้คำปรึกษาประชาชน และตอบข้อหารือด้านกฎหมาย และด้านสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนตรวจพิจารณาให้ความเห็นในประกาศ ระเบียบ คำสั่ง และนิติกรรมสัญญาต่างๆ
  2. ปฏิบัติงานด้านพิจารณาคำขออุทธรณ์การจดทะเบียนของคณะกรรมการต่างฯ โดยตรวจรับ คำอุทธรณ์ คำร้องขอเพิกถอนการจดทะเบียน และเอกสารหลักฐานต่างๆ จัดทำสรุปสำนวนอุทธรณ์ พร้อมทั้งทำความเห็นเพื่อเสนอคณะกรรมการต่างๆ พิจารณา จัดเตรียมวาระและเอกสารสำหรับการประชุม จัดทำรายงานการประชุม และร่างคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ต่างๆ รวมทั้งจัดทำจำแนกคำวินิจฉัยอุทธรณ์แยกตามประเด็นต่างๆ
  3. ปฏิบัติงานด้านคดี โดยรวบรวมจัดทำสำเนาคำฟ้องและใบแต่งทนาย ประสานงานกับพนักงานอัยการในการแต่งตั้งพนักงานอัยการแก้ต่างคดี และรวบรวมผลคดี และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
  4. ประสานการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และปฏิบัติงานในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ให้ปากคำเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาล
  5. รับเรื่องร้องเรียนการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตรวจสอบข้อเท็จจริงและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
  6. ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยให้คำปรึกษาข้อกฎหมายแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทการประนอมข้อพิพาทและการอนุญาโตตุลาการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. สามารถประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ของงานที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว

5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มวิศวกรรม) (ปริญญาโท)

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านวิศวกรรม โดยตรวจสอบทางเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ เพื่อเสนอความเห็นในการจดทะเบียนสิทธิบัตรให้ถูกต้องตามเทคนิควิชาการและข้อกำหนดกฎหมาย
  2. จำแนกสัญลักษณ์การประดิษฐ์ของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านวิศวกรรม เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบ
  3. ตรวจค้นข้อมูลด้านเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ด้านวิศวกรรม เพื่อประกอบการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดทำความเห็นในการพิจารณารับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เสนอต่อผู้บังคับบัญชา
  4. พิจารณาคำคัดค้านการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านวิศวกรรม และจัดทำความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาในการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์
  5. ศึกษาวิเคราะห์ด้านเทคนิควิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรม เพื่อรวบรวม จัดทำเอกสาร และคู่มือการปฏิบัติงาน
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

วางแผน หรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษาแนะนำในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถูกต้องสมบูรณ์ ตามกฎหมายกำหนด
  2. เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา

5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มปิโตรเคมีและพอลิเมอร์) (ปริญญาตรี)

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านปิโตรเคมีและพอลิเมอร์โดยตรวจสอบทางเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ เพื่อเสนอความเห็นในการจดทะเบียนสิทธิบัตรให้ถูกต้องตามเทคนิควิชาการและข้อกำหนดตามกฎหมาย
  2. จำแนกสัญลักษณ์การประดิษฐ์ของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านปิโตรเคมีและพอลิเมอร์เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบ
  3. ตรวจค้นข้อมูลด้านเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ด้านปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดทำความเห็นในการพิจารณารับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เสนอต่อผู้บังคับบัญชา
  4. พิจารณาคำคัดค้านการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านปิโตรเคมีและพอลิเมอร์และจัดทำความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาในการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์
  5. ศึกษาวิเคราะห์ด้านเทคนิควิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องทางด้านปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ เพื่อรวบรวมจัดทำเอกสาร และคู่มือการปฏิบัติงาน
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

วางแผน หรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษาแนะนำในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถูกต้องสมบูรณ์ ตามกฎหมายกำหนด
  2. เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา

5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ) (ปริญญาตรี)

1. ด้านการปฏิบัติการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน

ฝากประชาสัมพันธ์

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ

  1. ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยตรวจสอบทางเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ เพื่อเสนอความเห็นในการจดทะเบียนสิทธิบัตรให้ถูกต้องตามเทคนิควิชาการและข้อกำหนดกฎหมาย
  2. จำแนกสัญลักษณ์การประดิษฐ์ของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบ
  3. ตรวจค้นข้อมูลด้านเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดทำความเห็นในการพิจารณารับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เสนอต่อผู้บังคับบัญชา
  4. พิจารณาคำคัดค้านการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และจัดทำความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาในการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์
  5. ศึกษาวิเคราะห์ด้านเทคนิควิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อรวบรวม จัดทำเอกสาร และคู่มือการปฏิบัติงาน
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

วางแผน หรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษาแนะนำในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถูกต้องสมบูรณ์ ตามกฎหมายกำหนด
  2. เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา

5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ (ปริญญาตรี)

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ปฏิบัติงานในฐานะนายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  2. ตรวจสอบคำขออนุญาตจดทะเบียน พิจารณาออกใบอนุญาต ใบรับรอง หนังสือรับรองเกี่ยวกับหนังสือคู่มือการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการตรวจสอบรับรองความถูกต้องของการดำเนินงานผู้ประกอบการ เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไป
  3. ศึกษา รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจการค้า การลงทุน การตลาด นโยบาย มาตรการ ข้อตกลงทางการค้าทั้งภายใน และระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย มาตรการ กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์
  4. ดำเนินการส่งเสริมงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจและการขยายโอกาสในการแข่งขันทางการค้า
  5. ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ วิธีการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษาแนะนำในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้รับบริการได้ข้อมูลและสามารถดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด
  2. ให้บริการข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตอบข้อหารือต่างๆ ในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ และการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญา

5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย


นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ (ปริญญาตรี)

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. รวบรวมข้อมูล เพื่อประกอบการจัดทำโครงสร้างการแบ่งส่วนงานภายในสำนักงาน/กอง/ศูนย์ และหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานตามโครงสร้าง เพื่อให้มีโครงสร้างการแบ่งงานและหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานตามโครงสร้างที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ
  2. รวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำกรอบอัตรากำลัง และระดับตำแหน่งตามโครงสร้างการแบ่งงานภายใน เพื่อให้มีกรอบอัตรากำลัง และระดับตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสม และเพียงพอในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. รวบรวมข้อมูลติดตามความก้าวหน้าระบบงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อให้การบริหารงานมีทิศทางที่ชัดเจนทันสมัย มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
  4. ศึกษา รวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการดำเนินการประเมินผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
  5. ศึกษา และรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการดำเนินการประเมินผลงานของข้าราชการเพื่อให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) หรือตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ. กำหนด
  6. ศึกษา และรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.พ. กรมฯ เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

  1. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี หรือแผนดำเนินงานต่างๆ ของกลุ่มบริหารงานบุคคล เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายแลผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
  2. จัดทำแผนการและติดตามในโครงการพิเศษต่างๆ เพื่อให้เกิดแผนงานที่นำไปใช้ประกอบการดำเนินงานให้ได้เป้าหมายที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นแก่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของกรมฯ เกี่ยวกับแนวทาง หลักเกณฑ์ และวิธีการต่างๆ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
  2. ศึกษา และจัดทำเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อเป็นคู่มือ หลักเกณฑ์ และวิธีการ เพื่อใช้เป็นแนวในการปฏิบัติงาน

5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

นิติกรปฏิบัติการ (ปริญญาโท)

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) รายละเอียดดังนี้

1. ข้อสอบปรนัย 60 ข้อ (รวม 120 คะแนน)

การทดสอบความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2. ข้อสอบอัตนัย 3 ข้อ (รวม 80 คะแนน)

  1. การทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (15 คะแนน)
  2. การทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (การอธิบาย วิเคราะห์ เปรียบเทียบ) (25 คะแนน)
  3. การทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (กรณีศึกษา) (40 คะแนน)

นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มวิศวกรรม) (ปริญญาโท)

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) รายละเอียดดังนี้

1. ข้อสอบปรนัย 60 ข้อ (รวม 120 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรม ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และกรมทรัพย์สินทางปัญญา

2. ข้อสอบอัตนัย 3 ข้อ (รวม 80 คะแนน)

  1. การทดสอบความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรม โดยการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (40 คะแนน)
  2. การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยตอบเป็นภาษาอังกฤษ (20 คะแนน)
  3. การสรุปประเด็นโดยย่อ เป็นภาษาไทย (20 คะแนน)

นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มปิโตรเคมีและพอลิเมอร์) (ปริญญาตรี)

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) รายละเอียดดังนี้

1. ข้อสอบปรนัย 70 ข้อ (รวม 140 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานด้านปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และกรมทรัพย์สินทางปัญญา

2. ข้อสอบอัตนัย 3 ข้อ (รวม 60 คะแนน)

  1. การทดสอบความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานด้านปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ โดยการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (20 คะแนน)
  2. การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยตอบเป็นภาษาอังกฤษ (20 คะแนน)
  3. การสรุปประเด็นโดยย่อ เป็นภาษาไทย (20 คะแนน)
     

นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ) (ปริญญาตรี)

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) รายละเอียดดังนี้

1. ข้อสอบปรนัย 70 ข้อ (รวม 140 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และกรมทรัพย์สินทางปัญญา

2. ข้อสอบอัตนัย 3 ข้อ (รวม 60 คะแนน)

  1. การทดสอบความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (20 คะแนน)
  2. การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยตอบเป็นภาษาอังกฤษ (20 คะแนน)
  3. การสรุปประเด็นโดยย่อ เป็นภาษาไทย (20 คะแนน)

นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ (ปริญญาตรี)

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) รายละเอียดดังนี้

1. ข้อสอบปรนัย จำนวน 80 ข้อ (รวม 160 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและกรมทรัพย์สินทางปัญญา

2. ข้อสอบอัตนัย จำนวน 2 ข้อ (รวม 40 คะแนน)

  1. การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา (20 คะแนน)
  2. การทดสอบความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษโดยการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (20 คะแนน)

นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ (ปริญญาตรี)

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) รายละเอียดดังนี้

1. ข้อสอบปรนัย จำนวน 85 ข้อ (รวม 170 คะแนน)

เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและกรมทรัพย์สินทางปัญญา และความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ เช่น

  • พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
  • พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
  • ระเบียบสำนักนายรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544

2. ข้อสอบ อัตนัย จำนวน 1 ข้อ (รวม 30 คะแนน)

การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ (30 คะแนน)

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. – 14 ม.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมทรัพย์สินทางปัญญา

แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |

Facebook Comments