“กรมสรรพากร “
ลิงค์: https://ehenx.com/17385/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการภาษีปฏิบัติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 753
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 9 ส.ค. – 30 ส.ค. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมสรรพากร เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
ด้วยกรมสรรพากรจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิชาการภาษีปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 40 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 8 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 540 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 90 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 30 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 40 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 5 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิชาการภาษีปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์
เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน
๒.๑ ไต้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพซ้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไต้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว สาขาวิชา การจัดการทั่วไป สาขาวิชาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการโรงแรม และบริการ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการ สำนักงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ๒.๒ ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ต่อจากประกาศ.นียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ในสาขาวิขาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ สาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางการโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ หรือสาขาวิชาภาษา วรรณคดี
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
๒.๑ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา หรือ
๒.๒ ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าในทุกสาขาวิชา
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
๒.๑ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว สาขาวิชา การจัดการทั่วไป สาขาวิชาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการโรงแรม และบริการ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการ สำนักงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ
๒.๒ ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิ.ชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ สาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางการโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ หรือสาขาวิชาภาษา วรรณคดี
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
๒.๑ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได็ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว สาขาวิชา การจัดการทั่วไป สาขาวิชาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการโรงแรม และบริการ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการ สำนักงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ
๒.๒ ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ห่รึอเทียบเท่า ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาคอมพิวเตอร์สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางการโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ หรือสาขาวิชาภาษา วรรณคดี
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
๒.๑ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับ เดียวกันในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือ
๒.๒ ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางอิเล็กทรอนิกส์
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักวิชาการภาษีปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที,ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการภาษี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ช่วยรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้านสังคม และเศรษฐกิจ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้น มาประกอบการวางมาตรการ หรือแนวทางการจัดเก็บภาษีอากร การปรับปรุงอัตราภาษีอากรให้มีความเหมาะสม
(๒) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐ เพื่อให้ทราบว่าการเก็บภาษีสามารถ ทำได้จำนวนเท่าไร อันจะนำไปสู่การคาดประมาณการภาษีอากรและรายจ่ายของรัฐบาลในปีงบประมาณถัดไปได้
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
๓. ต้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับงานด้านภาษีอากรแก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สามารถดำเนินการด้านภาษีอากรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายโต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
(๒) ประมวลผลและปรับปรุงแกํไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
(๓) ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตาม ความต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
. (๔) เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสบุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๕) เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แก่ไขข้อผิดพลาดของคำสั่ง เพื่อให้ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
(๖) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบ ข้อมูลของหน่วยงานที่ไม่ซับซ้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
(๗) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
(๘) รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่อง การติดตั้ง ระบบเครื่อง เพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และตรงตามความต้องการใช้ของหน่วยงาน
(๙) ช่วยตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่าย ไม,เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
(๑๐) ช่วยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการออกใบอนุญาต เพื่อให้การออก ใบอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ต้านการประสานงาน
(๑) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ช่วยจัดทำคู่มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเอง อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) ดำเนินการผืกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนการใช้ระบบงานที่พัฒนาแก่เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
(๓) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก่ไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านสรรพากร ตามแนวทาง แบบอย่าง ซ้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รับแบบแสดงรายการ คำร้อง คำขอรับใบอนุญาต และตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และตรวจสอบ ควบคุมการตรวจแยกแฟ้มแสดงรายการและเอกสารที่แนบ พิจารณาคำร้อง คำขอหรือเรื่องราวอื่น ๆ ในซ้นต้น เพื่อดำเนินการออกใบอนุญาตต่าง ๆ ตามที่ยื่นเรื่องขอไว้
(๒) เก็บรักษาหรือด้นหาหลักฐานและเรื่องอื่น ๆ ของผู้เสียภาษีและผู้ประกอบการ และ รวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา
(๓) ควบคุม ตรวจสอบโรงงานในด้านการผลิต การบรรจุภาชนะ การปิดแสตมป็อากร การขนส่งและการจัดจำหน่าย เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตในการดำเนินงาน
(๔) เร่งรัดภาษีอากรค้าง พิจารณาคืนภาษี ยกเว้นภาษี หรือเรียกค่าปรับ เพื่อเรียกเก็บภาษี
(๕) รับเบิกจ่าย เก็บรักษา นำส่งเงิน แสตมป็อากรและแบบพิมพ์ ออกหลักฐาน ลงบัญชี และทะเบียนต่าง ๆ เพื่อเก็บรักษาหลักฐานต่าง ๆ ไว้เป็นข้อมูลของหน่วยงาน
(๖) ปรับปรุง แกไข ติดตาม ประเมินผลและแค้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานภายในหน่วยงานสำเร็จลุล่วง
(๗) ช่วยคำนวณเกี่ยวกับภาษีอากรที่ไม่ยุ่งยาก ลงรหัสในแบบแสดงรายการเสียภาษี ประมวลสถิติเกี่ยวกับภาษี เพื่อเป็นข้อมูลในการเก็บภาษีและเป็นข้อมูลในการดำเนินงานอื่น ๆ
(๘) ร่วมสอดส่องและตรวจการธุรกิจในอำเภอ/จังหวัด เพื่อควบคุม ดูแลการดำเนินงาน และการจ่ายภาษีของธุรกิจ/ผู้เสียภาษีนั้นๆ
(๙) ออกกำหนดรายรับซ้นตํ่าในกิจการขนาดเล็กถึงใหญ่
(๑๐) รวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงาน เพื่อจัดทำรายงาน และเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
๒. ด้านภารบริการ
(๑) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
(๒) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เข่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปไดโดยสะดวก ราบรื่นและมีหลักฐานตรวจสอบได้
(๒) รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไวิใช้งาน และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(๔) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่าง ๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
(๒) ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
(๓) ผลิตเอกสารต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติ หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไป ตามเป้าหมายที่กำหนด
(๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณ ประจำปีของหน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบและดูความลูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ในการปฏิบัติงาน
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญทีเป็นประโยชน์ ต่อการทำงานของหน่วยงาน
๒. ต้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับ รองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาซนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม,จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ต้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดี พร้อมต่อการใช้งาน
(๒) ทำทะเบียนการเบิกจำยพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสาร เกี่ยวกับพัสดุ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
(๓) ร่างและตรวจซื้อสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับ งานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
(๔) รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอ ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
(๕) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบ การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
(๖) ขี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที,อยู่ในความรับผิดชอบ แก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการ.ปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
(๒) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ควบคุม ดูแล ติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซม ตรวจสอบการทำงาน แก้ไขปัญหาการใช้งาน ของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ระบบเครือข่ายสื่อสาร รวมทั้งระบบสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อให้ ระบบงานต่าง ๆ สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล ปรับปรุง ดูแล รักษาความปลอดภัย จัดเก็บ สำรอง กู้คีนข้อมูล เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์ข้อมูล และป้องกันการสูญหายของข้อมูล
(๓) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผน บำรุงรักษา
๒. ต้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหา ให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
วิชาที่สอบ
นักวิชาการภาษีปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักวิชาการภาษีปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบ ข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนนใช้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง ดังนี้
๑) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักภาษีอากร และประมวลรัษฎากร
๒) ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ (การประยุกต์ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และสถิติ ในการวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ด้านการเงิน ด้านการคลัง และด้านเศรษฐมิติ)
๓) ความรู้เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๔) ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการ การติดตามประเมินผล
๔) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคโนโลยีการจัดการยุคใหม่
๖) ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทย และต่างประเทศในปัจจุบัน
๗) ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
๘) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน ใช้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง .ดังนี้
๑) ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล และการจัดการฐานข้อมูล
๒) ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม และการทำงานชุดคำสั่งระบบคอมพิวเตอร์
๓) ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
๔) ความรู้เกี่ยวกับชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป
๕) ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์
๖)ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ และออกแบบระบบ
๗) ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการเรื่องการบริหารความปลอดภัย (Security Management) และระบบบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Risk Management)
๘) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
๙) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคโนโลยีการจัดการยุคใหม่
๑๐) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พระราชบัญญัติ การรักษาความปลอดภัยมั่นคงไซเบอร์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
๑๑) ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทย และต่างประเทศในปัจจุบัน
เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน ใช้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง ดังนี้
๑) ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักภาษีอากร และประมวลรัษฎากร
๒) ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
๓) ความรู้ทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
๔) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
๔) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบ ข้อเขียน จำนวน.๑๐๐ ข้อ คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน ใช้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง ดังนี้
๑) ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักภาษีอากร และประมวลรัษฎากร
๒) ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ –
๓) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ และพระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ
๔) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
๕) ความรู้ทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
๖) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใซ้เฉพาะตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน ใช้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง ดังนี้
๑) ความรู้ ความเช้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการบัญชี และประมวลร้ษฎากร
๒) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบการงบประมาณ การเงิน การคลังและพัสดุ
๓)ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารการเงินและการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) และความรู้เกี่ยวกับ ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง
๔) ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
๔) ความรู้ทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
๖) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
๗) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ คะแนนเต็ม๒๐๐ คะแนน ใช้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง ดังนี้
๑) ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร
๒) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ. ความรู้ เกี่ยวกับระบบการบริหารการเงินและการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) และความรู้เกี่ยวกับระเบียบ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง
๓) ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
๔) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
๕) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
๖) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน ๑๐๐ ข้อ คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน ใช้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง ดังนี้
๑) ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เกี่ยวข้อง
๒) ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการเรื่องการบริหารความปลอดภัย (Security Management)
๓) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคโนโลยีการจัดการยุคใหม่ .
๔) ความรู้เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์ และการซ่อมแซมแก้ไข
๕) ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
๖) ความรู้ทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
๗) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมสรรพากร :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. – 30 ส.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กรมสรรพากร
แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร