“กรมบังคับคดี “
ลิงค์: https://ehenx.com/15914/ หรือ
ตำแหน่ง: นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 131
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร,กระบี่,กาญจนบุรี,กาฬสินธุ์,กำแพงเพชร,ขอนแก่น,จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชัยนาท,ชัยภูมิ,ชุมพร,ชลบุรี,เชียงใหม่,เชียงราย,ตรัง,ตราด,ตาก,นครนายก,นครปฐม,นครพนม,นครราชสีมา,นครศรีธรรมราช,นครสวรรค์,นราธิวาส,น่าน,นนทบุรี,บึงกาฬ,บุรีรัมย์,ประจวบคีรีขันธ์,ปทุมธานี,ปราจีนบุรี,ปัตตานี,พะเยา,พระนครศรีอยุธยา,พังงา,พิจิตร,พิษณุโลก,เพชรบุรี,เพชรบูรณ์,แพร่,พัทลุง,ภูเก็ต,มหาสารคาม,มุกดาหาร,แม่ฮ่องสอน,ยโสธร,ยะลา,ร้อยเอ็ด,ระนอง,ระยอง,ราชบุรี,ลพบุรี,ลำปาง,ลำพูน,เลย,ศรีสะเกษ,สกลนคร,สงขลา,สมุทรสาคร,สมุทรปราการ,สมุทรสงคราม,สระแก้ว,สระบุรี,สิงห์บุรี,สุโขทัย,สุพรรณบุรี,สุราษฎร์ธานี,สุรินทร์,สตูล,หนองคาย,หนองบัวลำภู,อำนาจเจริญ,อุดรธานี,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี,อุบลราชธานี,อ่างทอง
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 7 ม.ค. – 27 ม.ค. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมบังคับคดี เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี
ด้วยกรมบังคับคดีจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นิติกรปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 88 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 9 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 6 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 8 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 18 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นิติกรปฏิบัติการ
1 ได้รับวุฒิการศึกษาปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์
2 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
1 ได้รับวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
2 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
1 ได้รับวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์
2 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
1 ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
2 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
1 ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
2 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
1 ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
2 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นิติกรปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ เกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีคดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ งานนิติการ การดำเนินการทางวินัยและจรรยา และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติการ
ด้านการบังคับคดีแพ่ง โดยดำเนินการ
(๑) พิจารณาตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการบังคับคดี และดำเนินการยึดทรัพย์
และอายัดทรัพย์ ขับไล่ รื้อถอน ส่งมอบการครอบครอง หรือปฏิบัติตามคำสั่งศาลอย่างอื่นตามที่ผู้นำยึดนัดหมาย โดยปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และระเบียบคำสั่งกรมบังคับคดีที่เกี่ยวข้อง
(๒) จัดการให้มีการเก็บรักษาทรัพย์ที่ยึดไว้ตามแต่กรณี รายงานการยึดทรัพย์พร้อม ด้วยบัญชีทรัพย์ต่อศาลและขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด หรือดำเนินการตามสภาพที่ยึด
(๓) ทำประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ ส่งประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียในคดีและปิดประกาศ ตามระเบียบ และดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ หรือประมูลทรัพย์สินและโอนหรือส่งมอบทรัพย์แก1ผู้ชื้อ
(๔) พิจารณา วินิจลัย คำร้อง คำแถลงต่าง ๆ เกี่ยวกับการของดบังคับคดี การถอน การยึด การถอนการบังคับคดี การขอสวมสิทธิ้บังคับคดีแทน หรือวินิจลัยคำร้องคำขออื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี เพื่อเสนอสั่งหรือเพื่อสั่งในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดี
ด้านการบังคับคดีล้มละลาย โดยดำเนินการ
(๑) ทำประกาศแจ้งคำสั่ง/คำพิพากษาของศาล
(๒) สอบสวนลูกหนี้เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน พร้อมทั้งแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
(๓) เรียกประชุมเจ้าหนี้ และไต่สวนลูกหนี้
(๔) รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลาย และดำเนินการในส่วนที่
เกี่ยวข้อง กรณีลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้อง
(๕) ทำความเห็นคำสั่งในสำนวนสาขา เข่น สำนวนคำขอรับชำระหนี้ ทวงหนี้ ร้องขัดทรัพย์ เพิกถอนการโอนต่าง ๆ เสนอผู้บังคับบัญชาให้ความเห็นชอบ หรือเสนอความเห็นต่อศาล
(๖) ขอให้ศาลสั่งปิดคดี เมื่อมีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ ครั้งที่สุดแล้ว หรือดำเนินการอื่นใด ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
(๗) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย ด้านการฟินฟูกิจการของลูกหนี้ โดยดำเนินการ
(๑) ประกาศโฆษณา แจ้งคำสั่งศาล มีหนังสือแจ้งหน่วยงานต่าง ๆ แจ้งเจ้าหนี้ตามกฎหมาย
(๒) ตรวจรับคำขอรับชำระหนี้ในการฟืนฟูกิจการ
(๓) รายงานผลการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟืนฟูกิจการ การโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ ในการฟืนฟูกิจการเพื่อรายงานศาลทราบ
(๔) พิจารณาวินิจฉัยคำขอรับชำระหนี๋ในการฟืนฟูกิจการ
(๕) ดำเนินการออกคำสั่งการขอรับชำระหนี้!,นการฟืนฟูกิจการ กรณีการโต้แย้งคำขอรับ ชำระหนี้ในการฟืนฟูกิจการ
(๖) ดำเนินการประชุมเจ้าหนี้ และรายงานผลการประชุมเจ้าหนี้ต่อศาล
(๗) ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบผลการส่งประกาศ และคำสั่งให้เจ้าหนี้ทราบ ตลอดจน การดำเนินการ ซึ่งต้องใช้วิชาชีพกฎหมายที่เกี่ยวกับการฟืนฟูกิจการของลูกหนี้ เช่น การทวงหนี้ การหักกลบลบหนี้ การเพิกถอนการโอน การวินิจฉัยการลงคะแนนเสียง เป็นต้น
ด้านการวางทรัพย์โดยดำเนินการ
(๑) ตรวจสอบคำร้องขอวางทรัพย์ และเอกสารต่าง ๆ ของผู้วางทรัพย์
(๒) สอบสวนและพิจารณาให้ความเห็นการสั่งรับหรือไม่รับวางทรัพย์
(๓) แจ้งผู้วางทรัพย์ และแจ้งการวางทรัพย์หรือวางเงินแกนายทะเบียนที่เกี่ยวข้อง กรณีการ วางทรัพย์หรือวางเงินเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีทะเบียน
(๔) พิจารณาคำร้องขอถอนทรัพย์
(๕) พิจารณาขออนุญาตต่อศาลนำทรัพย์ที่วางออกขายทอดตลาดทรัพย์ตามที่ลูกหนี้ หรือผู้วางทรัพย์ไห้ความยินยอมและมอบอำนาจ
งานนิติการ
(๑) ดำเนินการตอบข้อหารือปัญหาทางกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ และ แนวทางในการปฏิบัติงานการบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มละลาย การฟืนฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ งานนิติการ การดำเนินการทางวินัยและจรรยา และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนร่วมกัน
(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการยกร่างกฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี
(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง งานนิติกรรมสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง และอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของกรม
(๔) ศึกษา พัฒนา ดำเนินการตรวจสอบและจัดทำงานนิติกรรมสัญญา เช่น สัญญาซื้อ สัญญาจ้าง สัญญาจ้างเหมาบริการ หรือสัญญาลาศึกษาต่อ เป็นต้น
(๕) พิจารณาและตรวจสอบสำนวนการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของผู้อุทธรณ์ที่มี ความยุ่งยากมาก ที่หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกรมบังคับคดี รายงานมายังกรมบังคับคดี เพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติรัฐ และนิติธรรมและนำเสนอต่อผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์เพื่อพิจารณา
(๖) พิจารณาดำเนินคดีแพ่ง คดีอาญาและคดีปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด และการดำเนินการต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการก่อนดำเนินคดี และการดำเนินการหลังจากดำเนินการหลังจากดำเนินคดีเสร็จแล้ว เช่น การแจ้งความร้องทุกข์ การเตรียม ข้อเท็จจริงเพื่อเสนอพนักงานอัยการให้ดำเนินการฟ้องคดี การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลเป็นต้น
(๗) พิจารณาตรวจร่างสัญญา ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพิจารณาบริหาร สัญญาของกรมบังคับคดีให้เป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา พร้อมกับการรักษาประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ
(๘) ให้คำปรึกษาทางกฎหมายในการปฏิบัติราชการของกรม โดยดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ข้อเท็จจริงและ ข้อกฎหมายที่หารือที่ปรึกษา แก่เจ้าหน้าที่กรมหรือบุคลากรทั้งภาครัฐและองค์กร เอกชน ผู้ด้อยโอกาสและประชาชนทั่วไป เพื่อให้คำปรึกษาวิธีการในการบังคับใช้กฎหมายที่มีความสำคัญต่อ การปฏิบัติราชการ ตลอดจนการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม
(๙) รวบรวมข้อมูลประกอบการให้ความเห็นทางกฎหมายในการปฏิบัติราชการกรม เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับการตีความบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการปฏิบัติราชการในกรม โดยการให้ความเห็น ทางโทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม
(๑๐) ศึกษา วิเคราะห์ประสิทธิภาพ และควบคุม พัฒนาระบบการดำเนินงานด้านนิติการ ของกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการดำเนินงานเป็นไปตาม นโยบาย และแผนงานที่ตั้งไว้ และสามารถสนับสนุนส่วนงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๑๑) ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก่ไข ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
(๑๒)สอนงาน ถ่ายทอดความรู้หรือถ่ายทอดฝิกอบรมแก,เจ้าหน้าที่ในระดับ รองลงมา ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดหลักการทำงาน ภายในกลุ่มงานนิติการและกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ และสามารถนำไปปรับใช้ใน การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(๑๓) ศึกษาและติดตามเทคโนโลยี องค์ความรู้ใหม่ ๆ กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติการ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
(๑๔) ปฏิบัติงานและสนับสนุนงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้ กลุ่มงานนิติการและกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ ในภาพรวมบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้ งานวินัย
(๑) ดำเนินการทางวินัยข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการที่ถูกกล่าวหา ว่ากระทำผิดวินัย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายในกระบวนการยุติธรรม
(๒) ปฏิบัติงานเรื่องร้องเรียน การอุทธรณ์ การร้องทุกข์กล่าวโทษ และขอความเป็น ธรรม เพื่อให้ได้รับสิทธิตามกฎ ระเบียบที่กำหนดไว้
(๓) วิเคราะห์และพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยการละเมิดได้
(๔) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา และการลาที่ไม่อยู่ในอำนาจ อธิบดี เพื่อให้เกิดสิทธิถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
(๕) ตอบข้อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย แก่ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในกระบวนการยุติธรรม
(๖) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย เรื่องร้องเรียน และสถิติการ ลงโทษทางวินัย เพื่อเป็นสถิติ และหลักฐานทางราชการในการปฏิบัติงาน
(๗) ดำเนินการส่งเสริมข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ให้มีวินัย และรักษาคุณธรรม ตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการกรมบังคับคดี พ.ศ. ๒๕๕๒ และข้อบังคับของ ก.พ. เพื่อให้เกิดความประพฤติที่เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
(๘) รวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล เอกสาร และรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านวินัย เพื่อนำไปประกอบการกำหนด ปรับปรุง และพัฒนาหลักเกณฑ์ มาตรการ และมาตรฐานการดำเนินงานทางวินัย ให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ พระราชบัญญัติ และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๙) ศึกษาข้อมูล รวบรวม และแสวงหาพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ และการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เพื่อให้การปฏิบัติงาน ด้านวินัยเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และแล้วเสร็จตามเวลาและแผนงานที่กำหนดไว้
(๑๐) ร่วมดำเนินการพิจารณา สอบสวน และวินิจฉัยการกระทำผิดทางวินัย คำร้องเรียน ข้อกล่าวหา บัตรสนเท่ห์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการของกรมบังคับคดี เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบ และเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
(๑๑) ร่วมให้ความเห็นและดีความกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานวินัย เพื่อให้งานวินัย ถูกต้องตามกฎหมาย และให้บุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
(๑๒) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ งานวินัย เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(๑๓) ร่วมรณรงค์และส่งเสริมด้านวินัย จรรยา และจริยธรรมให้แกข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง เพื่อให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างมีจิตสำนึกที่ดี มีวินัย จรรยา และ จริยธรรมในการปฏิบัติงาน
(๑๔) ศึกษาและติดตามเทคโนโลยี องค์ความรู้ใหม่ ๆ กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวินัย เพื่อนำมาประยุกต์ไชในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
(๑๕) ปฏิบัติงานและสนับสนุนงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้ กรมบังคับคดีในภาพรวมบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
งานไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
(๑) พิจารณา วินิจฉัย และตอบข้อหารือต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งและ การวางทรัพย์ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี เพื่อให้งานการบังคับคดีแพ่งและการวางทรัพย์ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในชั้นบังคับคดี ถูกต้องตามกฎหมายและให้บุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบีติได้อย่างถูกต้อง
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ การบังคับคดีแพ่งและการวางทรัพย์ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี เพื่อปรับปรุงและแก่ไขกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
(๓) ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก่ไข ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
(๔) ศึกษาและติดตามเทคโนโลยี องค์ความรูใหม่ ๆ กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีแพ่งและการวางทรัพย์ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
๓.๒ ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานเกี่ยวกับ การบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีคดีล้มละลาย การฟินพ่กิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ งานนิติการ การดำเนินการ ทางวินัยและจรรยา และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตาม เป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓.๓ ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานและบุคคลภายนอก หรือ องค์การอื่น ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและบรรลุผลส้มฤทธิ๕ร่วมกัน
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง ด้านการบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มละลาย การฟินฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ งานนิติการ การดำเนินการทางวินัยและจรรยา และ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แก,บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานตามที่ได้รับ
มอบหมาย
๓.๔ ด้านการบริการ
(๑) ประสานงานในระดับกองและเจ้าหน้าที่ด้วยกันหรือหน่วยงานที่สูงกว่า กับ หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป ที่มาติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือและขอความร่วมมือในงาน การบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มละลาย การฟืนฟูกิจการของลูกหนี้ และการวางทรัพย์ พร้อมแลกเปลี่ยน ความรู้ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
(๒) ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก1บุคคลหรือหน่วยงานที่มาติดต่อ เพื่อสร้าง ความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์และดำเนินงานร่วมกันได้
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชีของหน่วยงานในสังกัด ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑ ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ – จ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณในคดีแพ่ง บัญชีแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ตามระเบียบและวิธีการปฏิบัติทางการบัญชี
(๒) คิดคำนวณยอดหนี้ตามคำพิพากษา ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการบังคับคดี
(๓) เบิกจ่ายเงินงบประมาณและเงินในคดีของหน่วยงาน และจัดทำเอกสารหลักฐานทางการเงิน พร้อมบันทึกรายการในสมุดทะเบียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๔) การจัดทำรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เช่น รายงานงบเดือน รายงานเงินนอกงบประมาณ รายงานผลการปฏิบัติงานด้านงานคำนวณและเฉลี่ยทรัพย์ สถิติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ตลอดจนจัดทำเอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการปฏิบัติทางการบัญชี อีกทั้งรวบรวมข้อมูลและรายงานการเงินเพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัย
(๕) ช่วยตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มอบหมายเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการ ตรวจสอบเอกสาร คำนวณหนี้ รับจ่ายเงิน จัดทำบัญชีในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
(๖) จัดทำคำของบประมาณของหน่วยงาน เพื่อให้การได้รับจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ตามภารกิจหน่วยงาน และการใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เป็นแนวทางการปรับปรุงการจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณในครั้งต่อไป
(๗) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาได้ เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำบัญชี คำนวณยอดหนี้ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย และถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนดของกรมบังคับคดี
2 ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานและมีการมอบหมายงานที่รับผิดชอบในตำแหน่งอย่างชัดเจน เพื่อให้การดำเนินงานและการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดและมีประสิทธิภาพสูงสุด
3 ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอก หรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4 ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานคิดคำนวณและเฉลี่ยหนี้ในคดีแพ่งที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีเพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑ ด้านการปฏิบัติการ
(1) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
(๒) ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ ออกแบบ ระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย การดูแลบริหารจัดการระบบเครือข่าย ระบบอินเทอร์เน็ต/อินทราเน็ต การสำรอง และ การกู้คืนข้อมูลระบบ เครือข่ายและฐานข้อมูลทุกระบบ ดูแล และควบคุมห้องปฏิบัติการ
(๓) จัดทำทะเบียนคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่าย กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
(๔) ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินความต้องการใช้ข้อมูลของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรม ออกแบบ ปรับปรุง ดูแลรักษา เสนอแนะและพัฒนา ตลอดจนบริหารจัดการฐานข้อมูล และระบบฐานข้อมูลของกรม จัดทำสรุปข้อมูลสารสนเทศ รายการข้อมูล เพื่อการบริหารข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
(5) ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลของหน่วยงานที่ไม่ซับซ้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
(6) ศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดจนความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ปรับปรุงพัฒนาระบบงานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และโฮมเพจ ดูแลปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย รวบรวมประมวลผลข้อมูลข่าวสาร เพื่อนำลงโฮมเพจของกรม
(7) ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบระบบข้อมูลสถิติต่าง ๆ ของหน่วยงานในกรมบังคับคดี และจัดเก็บ รวบรวม ประมวลผล เพื่อออกแบบจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อผู้บริหาร
(8) ช่วยตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เข้าข่ายไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
2 ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3 ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอก หรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4 ด้านการบริการ
(1) ช่วยจัดทำคู่มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ดำเนินการฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนการใช้ระบบงานที่พัฒนาแก่เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาคอมพิวเตอร์
(3) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(4) ให้บริการข้อมูลสถิติทางระบบการสื่อสารต่าง ๆ แก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรม
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจนภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑ ด้านการปฏิบัติการ
(1) รับ-จ่ายเงินในคดีแพ่ง ล้มละลาย วางทรัพย์ พร้อมนำเงินฝากธนาคาร รวบรวมใบเสร็จรับเงินและใบสั่งจ่ายแต่ละวันเพื่อทำรายงานเงินคงเหลือประจำวันและผ่านรายการรับ-จ่ายเงินประจำวันไปบันทึกบัญชีเงินสด เงินฝากธนาคาร บัญชีแยกประเภทต่าง ๆ เพื่อจัดทำรายงานการเงินประจำเดือน
(2) จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินในคดีให้แก่คู่ความ ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ผู้ร้องขอกันส่วน และผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนอง หรือบุริมสิทธิ์ก่อนเจ้าหนี้อื่น
(3) คิดค่าธรรมเนียมถอนการยึด การอายัด คำนวณยอดหนี้ตามคำพิพากษา และตรวจสำนวนศาลเพื่อคิดค่าฤชาธรรมเนียมศาลไว้ทำบัญชีและคิดยอดหนี้
(4) ขออนุมัติเบิกค่าใช้จ่ายจากเงินงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสำนักงาน
(5) นำดอกเบี้ยเงินฝากส่งกรม ส่งค่าฤชาธรรมเนียมเป็นรายได้แผ่นดิน และส่งค่าอากร
(6) รายงานใบเสร็จคงเหลือสิ้นปีงบประมาณ และรวบรวมรายงานข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับงานการเงินและงานอื่นที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
2 ด้านการบริการ
(1) ตอบข้อสงสัย ชี้แจงเกี่ยวกับการเงินและบัญชี ให้กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไปเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญ แก่ผู้สนใจได้อย่างชัดเจน
(2) ประสานงานกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป ที่มาติดต่อขอความช่วยเหลือและขอความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑ ด้านการปฏิบัติการ
(1) จัดทำทะเบียนเบิกจ่ายพัสดุ ครุภัณฑ์ จัดส่งให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกรม
(2) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการว่าจ้างซ่อมพัสดุครุภัณฑ์ และวัสดุสำนักงานต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานแจ้งซ่อม โดยแจ้งบริษัท/ห้าง/ร้าน/ มาทำการตรวจสอบซ่อม และออกใบสั่งจ้าง จนถึงขั้นตอนการรวบรวมเอกสารส่งเบิก
(3) ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีพร้อมต่อการใช้งาน
(4) ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
(5) ร่างและตรวจซื้อสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ หนังสือค้ำประกันสัญญา บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
(6) รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
(7) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
(8) ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
(9) จัดทำระบบทะเบียนทรัพย์สินของกรมบัญชีกลาง โดยแจกแจงราคาของทรัพย์สิน แต่ละรายการและคิดคำนวณค่าเสื่อมราคา เพื่อที่จะนำข้อมูลรายงานส่งกรมบัญชีกลาง
(10) จัดทำบิลน้ำมัน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการประหยัดพลังงานของทางราชการ
(11) ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
2 ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จ
(2) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
(3) ตอบปัญหา ชี้แจง แนะนำเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในหน้าที่รับผิดชอบ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านธุรการคดี งานสารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจนภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑ ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติงานสารบรรณ เช่น การรับส่งหนังสือ ลงทะเบียน ร่างโต้ตอบหนังสือ ตรวจทานหนังสือ และการจัดเก็บ ค้นหาสำนวนและเอกสารต่าง ๆ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อสะดวกต่อการค้นหา มีหลักฐานตรวจสอบได้ และเป็นหลักฐานทางราชการ
(2) ปฏิบัติงานธุรการทั่วไป เช่น การจัดทำ ตรวจสอบ และรายงานบัญชีวันทำการและวันลาของข้าราชการและลูกจ้างในสังกัด และการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ หรือจัดเตรียมเอกสารการประชุม การจดบันทึกรายงานการประชุม อัดสำเนา ถ่ายเอกสาร
(3) ปฏิบัติงานธุรการคดี เช่น ตั้งเรื่องสำนวนยึดทรัพย์ สำนวนอายัดทรัพย์ สำนวนวางทรัพย์ และสำนวนสอบสวนกิจการแทน ตรวจยึดซ้ำ ตรวจอายัดซ้ำ ตรวจล้มละลาย ลงสารบบคำคู่ความ จัดเก็บเอกสารและจ่ายคืนเอกสารสิทธิในคดีให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในคดี ดำเนินการปลดเผาทำลายเอกสาร ลงบันทึกรายงานการขายทอดตลาดของสำนักงานฯ รวมทั้งทำสถิติคดีประจำเดือน เอกสารหลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
(4) ปฏิบัติงานด้านบันทึกข้อมูล เช่น การลงรับคำร้อง คำแถลง รับหมายบังคับคดี รับคำคู่ความ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง การบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ลงในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ รวมทั้งดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า
(5) ปฏิบัติงานด้านพัสดุ เช่น การขอเบิก-จ่ายพัสดุ การตรวจสอบติดตามให้มีการซ่อมบำรุง รักษาหรือซ่อมแซมพัสดุครุภัณฑ์ตามกำหนดเวลา การจำหน่ายพัสดุครุภัณฑ์ที่ชำรุด เสื่อมสภาพ การเบิกจ่ายพัสดุภายในสำนักงานฯ
2 ด้านการบริการ
(1) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน และบุคคลภายนอกเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อราชการ
(2) ให้บริการข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในคดีได้ต่อไป
(3) ตอบปัญหา ชี้แจง แนะนำเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในหน้าที่
วิชาที่สอบ
นิติกรปฏิบัติการ
๑ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน
ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน งต่อไปนี้
– กฎหมายล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
– กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
– กฎหมายลักษณะพยาน
– กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
– พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
– ความรู้เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การบริหารราชการ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
๒ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
๑ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน
ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– ความรู้เกี่ยวกับงานด้านการเงิน การคลัง บัญชี และงบประมาณ
– การบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
– หลักการบัญชีเบื้องต้น
– ความรู้เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การบริหารราชการ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒55๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒561
– พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
– พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562
๒ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
๑ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน
ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– ความรู้ด้านระบบเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์
– ความรู้ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
– ความรู้ทั่วไปด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ใช้
– ความรู้ในการเขียนโปรแกรม และการจัดการฐานข้อมูล
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒55๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๒ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
๑ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน
ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– ความรู้เกี่ยวกับงานด้านการเงิน การคลัง บัญชี และงบประมาณ
– การบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
– หลักการบัญชีเบื้องต้น
– ความรู้เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การบริหารราชการ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒55๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒561
– พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
– พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562
๒ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
๑ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน
ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้านพัสดุ และจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
– ความรู้เกี่ยวกับกฎกระทรวง ประกาศ และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ
– ความรู้เกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายงบประมาณ
– ความรู้เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การบริหารราชการ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒55๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
– พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562
๒ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
๑ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน
ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– ความรู้เกี่ยวกับเรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
– ความรู้เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การบริหารราชการ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
๒ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมบังคับคดี :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. – 27 ม.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมบังคับคดี
แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |