“กรมฝนหลวงและการบินเกษตร “
ลิงค์: https://ehenx.com/16266/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ,วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ,นักตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินปฏิบัติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน,นายช่างอากาศยานปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 49
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 2 ก.พ. – 24 ก.พ. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งชันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในสังกัดกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
ด้วยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เข้ารับราชการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เข้ารับราชการ ในสังกัดกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 15 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 6 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 8 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 8 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างอากาศยานปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 4 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ทางเทคโนโลยีไฟฟ้า หรือทางเทคโนโลยีเครื่องกล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ
๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมไฟฟ้า และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
นักตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินปฏิบัติการ
๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน ทางวิศวกรรมการบินและอวกาศ ทางวิศวกรรมเครื่องกล ทางวิศวกรรม ไฟฟ้า ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมอุตสาหการ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
๑. ได้รับวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
๑. ได้รับวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชา ไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในสาขาวิชา เครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล หรือสาขาวิชาช่างกล การเกษตร และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป
นายช่างอากาศยานปฏิบัติงาน
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได็ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา เครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง หรือสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ขั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
๑. ปฏิบัติงานบนอากาศยาน พร้อมทั้งวางแผนและติดตามประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง
๒. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการดัดแปรสภาพอากาศ
๓. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการฐานข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ ฝนหลวง
๔. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้า ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจข้อมูลเพื่อออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบสัญญาณ เตือนอัคคีภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า
(๒) ศึกษาและกำหนดรูปแบบรายการเพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้างการผลิต การควบคุม การติดตั้ง และการประมาณราคาในงานวิศวกรรมไฟฟ้า
(๓) ควบคุมการก่อสร้าง ติดตั้ง บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้ระบบมีความถูกต้อง ปลอดภัย ใช้งานได้มีประสิทธิภาพ
(๔) ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนางานวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีความถูกต้อง ปลอดภัยและ ประหยัดพลังงาน
(๕) จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อประโยชน์สูงสุด ในการใช้งานของหน่วยงาน
(๖) ควบคุม ตรวจสอบ และรับรองผลการตรวจซ่อมบำรุงรักษาระบบอิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องมือวิทยาศาสตร์
(๗) ควบคุม ตรวจสอบ และรับรองผลการตรวจซ่อมบำรุงระบบอิเล็กทรอนิกส์การบิน (AVIONICS)
(๘) พิจารณากลั่นกรองและออกแบบคำสั่งเทคนิค เพื่อการปฏิบัติตาม Airworthiness Directive, Service Bulletin ของ FAA, EASA, Aircraft/Engine/Equipment Manufacturer
๒. ด้านการวางแผน
(๑) วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธที่กำหนด
(๒)วางแผนควบคุม การบำรุงรักษา การตรวจซ่อมระบบอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือ วิทยาศาสตร์
(๓)วางแผนจัดเตรียมพัสดุในการขออนุญาตปล่อยบอลลูนตรวจสภาพอากาศ (Radio Sounding Observation : RAOB) วัสดุพลอยได้ กัมมันตะภาพรังสี (Radioactivity) การใช้คลื่นความถี่วิทยุ
(๔) วางแผนการตรวจซ่อมบำรุงระบบอิเล็กทรอนิกส์การบิน (AVIONICS) ตาม Aircraft Maintenance Program/lnspection Program
(๕) วางแผนและกำกับดูแลการปฏิบัติตามคำสั่งเทคนิคต่าง ๆ เช่น Airworthiness Directive,
Service Bulletin, Engineering Directive, Service Note
(๖) วางแผน จัดเตรียมพัสดุและสิ่งอำนวยความสะดวกในการซ่อมบำรุงระบบอิเล็กทรอนิกส์ การบิน (AVIONICS)
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑)ให้ข้อมูล คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจง เกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้าที่รับผิดชอบ ในระดับเบื้องด้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องด้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องและสนับสบุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
๕. ด้านอื่น ๆ
ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
นักตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ตรวจสอบ ความสมควรเดินอากาศของอากาศยานในด้านการบำรุงรักษาอากาศยาน การตรวจสอบการปฏิบัติการบิน ด้านนิรภัยการบินและสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุและเสนอ เพื่อรับรองการดำเนินการในลักษณะข้างด้น
(๒) ร่วมศึกษา วิเคราะห์ กฎ ระเบียบ ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ว่าด้วยการตรวจสอบ ความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน บำรุงรักษาอากาศยาน การตรวจสอบการปฏิบัติการบิน การดำเนินการ ด้านนิรภัยการบินและการสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ
๓) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษา แนะนำ และชี้แจงแก่ผู้มาติดต่อ เพื่อให้ผู้มาติดต่อสามารถนำความรู้ที่ถูกต้อง ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการบินและดำเนินการสอดคล้องตามมาตรฐานสากล
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
๑. ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
๒. ประมวลผลและปรับปรุงแก่ไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
๓. ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตามความต้องการ และสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
๔. เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕. เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แก่ไขข้อผิดพลาดของคำสั่งเพื่อให้ระบบปฏิบัติงาน ได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
๖. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลของหน่วยงาน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
๗. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ระบบงานประยุกต์ ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
๘. รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ การติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และตรงตามความต้องการ ใช้ของหน่วยงาน
๙. ตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่าย ไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของ ข้อมูลหรือระบบ
๑๐. จัดทำคู่มือระบบและคู่มือผูใช้ เพื่อให้ผูใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเอง อย่างมี ประสิทธิภาพ
๑๑. ดำเนินการฟิกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนการใช้ระบบงานที่พัฒนาแก่เจ้าหน้าที่ผูใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
๑๒. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการพัสดุ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที,ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุ เพื่อกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
(๒) ตรวจสอบและดูแลการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ และบริหารสัญญา เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบของราชการที่เกี่ยวข้อง
(๓) จัดทำรายละเอียดบัญชี หรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ไดโดยสะดวก
(๔) บริหารสินทรัพย์ บำรุงรักษาพัสดุในครอบครอง เพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
(๕) จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไมจำเป็นในการใช้งานทางราชการอีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชนให้แกทางราชการไดมากที่สุด
(๖) ถ่ายทอดความรูด้านงานพัสดุแกเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคูมือประจำสำหรับการฟิกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือ ที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรูที่เป็นประโยชนในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ไดรับมอบหมาย
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้น แกหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจไดทราบข้อมูลและความรูต่าง ๆ ที่เป็น ประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับ งานพัสดุ เพื่อให้สอดคลองและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
๕. ด้านอื่น ๆ
ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑.ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของ ส่วนราชการ
(๒) รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง และทันสมัย
(๓) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับ ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(๔) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(๕) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำใน การปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฟิกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นด้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมถุทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมถุทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องด้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องด้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่ เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
๕. ด้านอื่น ๆ
ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ปฏิบัติงานด้านช่างไฟฟ้า ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานตรวจสภาพอากาศ ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์
(๒)ปฏิบัติงานตรวจสอบซ่อมแซมดูแลบำรุงรักษา ติดตั้ง โยกย้าย ระบบตรวจสภาพอากาศ โครงข่ายวิทยุสื่อสาร ระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบไฟฟ้า เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และส่วนที่ เกี่ยวข้อง ให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
(๓) ปฏิบัติงานปรับเทียบค่ามาตรฐานเครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๔) รวบรวม ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน และคุณภาพข้อมูลตรวจสภาพอากาศ
(๕) รับ – ส่ง ข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา
(๖) จัดทำทะเบียน รวบรวม ควบคุม สถิติการใช้งานของเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการวางแผน จัดหา บำรุงรักษาพัสดุเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
(๗) บำรุงรักษา อุปกรณ์สื่อสารและเครื่องช่วยเดินอากาศประจำอากาศยาน (AVIONICS) ก่อนและหลังทำการบิน เพื่อให้อากาศยานพร้อมปฏิบัติภารกิจได้อย่างปลอดภัย
(๘) ตรวจซ่อม แก่ไข ปรับแต่งอุปกรณ์สื่อสารและเครื่องช่วยเดินอากาศประจำอากาศยาน (AVIONICS) วิทยุภาคพื้น เครื่องทดสอบอุปกรณ์ ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และรวมทั้ง ทำการบินทดสอบ บินปฏิบัติงานกับอากาศยาน
(๙) จัดทำสถิติ และบันทึกการใช้ การตรวจซ่อมบำรุงรักษา อุปกรณ์สื่อสารและเครื่องช่วย เดินอากาศประจำอากาศยาน (AVIONICS)
(๑๐) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แกไขปัญหาให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอก หน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒)ประสานงาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ปฏิบัติงานด้านเครื่องกล ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ดำเนินการตรวจสอบและซ่อมบำรุงยานพาหนะและขนส่งเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ เครื่องบดสารฝนหลวง และอุปกรณ์ต่าง ๆ และงานด้านเครื่องกล ให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ศึกษาและค้นคว้า ออกแบบเขียนแบบ กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะงานด้านเครื่องจักรกล เครื่องกล ยานพาหนะและขนส่ง อุปกรณ์ต่าง ๆ ประมาณราคา การจัดซื้อจัดจ้าง วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะและ ขนส่ง อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตรและหน่วยงานภายนอก
(๓) จัดทำรายละเอียดฐานข้อมูลการใช้ยานพาหนะและขนส่ง เครื่องจักรกล เครื่องกล เครื่องยนต์ด้นกำลัง เครื่องบดสารฝนหลวง และการใช้พลังงานและนี้ามันเชื้อเพลิง
(๔) ตรวจซ่อมแซม ดูแล บำรุงรักษา อาคารสถานที่และระบบสาธารณูปโภค ให้ใช้งานได้ อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
(๕) จัดทำแผนการซ่อมแซมและบำรุงรักษายานพาหนะและขนส่งเครื่องยนต์ต้นกำลัง เครื่องบดสารฝนหลวง อุปกรณ์การปฏิบัติการฝนหลวง รวมทั้งอาคารสถานที่ และระบบสาธารณูปโภค
(๖) จัดทำรายงานความพร้อมของยานพาหนะและขนส่ง เครื่องจักรกล เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ อาคารสถานที่และระบบสาธารณูปโภค
(๗) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำตอบปัญหา แก่ไขปัญหาให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอก หน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ติดต่อประสานงาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
นายช่างอากาศยานปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ปฏิบัติงานด้านช่างอากาศยาน ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ดูแลรักษาอากาศยาน ตรวจดูความเรียบร้อยของอากาศยานก่อนทำการบิน และหลังทำ การบิน เพื่อให้อากาศยานสามารถทำการบินได้อย่างปลอดภัย
(๒) ซ่อมบำรุงอากาศยาน ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ และร่วมทำการบินทดสอบ เพื่อให้อากาศยาน สามารถทำการบินได้อย่างปลอดภัย
(๓) จัดทำสถิติ และบันทึกการใช้ การซ่อมบำรุงรักษาอากาศยาน เพื่อประโยชน์ในการใช้ การซ่อมบำรุงรักษาอากาศยานให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมทำการบิน
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้บริการข้อมูลในเรื่องที่ตนมีความรับผิดชอบ ในประเด็นที่ไม่มี ความซับซ้อน ภายใต้กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือวิธีปฏิบัติที่ซัดเจน หรือภายใต้การควบคุมดูแลของ ผู้บังคับบัญชา เพื่อให้อากาศยานสามารถทำการบินได้อย่างปลอดภัย
(๒) ประสานงานในหน่วยงานหรือต่างหน่วยงานในเรื่องต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุง อากาศยานให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมทำการบิน
วิชาที่สอบ
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย บทบาท หน้าที่ภารกิจของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
๒. ความรู้พื้นฐานด้านเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์และสถิติ
๓. ความรู้พื้นฐานด้านอุตุนิยมวิทยา วิทยาศาสตร์บรรยากาศ การดัดแปรสภาพอากาศ และ การปฏิบัติการฝนหลวง
๔. ความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัย การคิดเชิงวิเคราะห์ และการบริหารจัดการข้อมูล
๕. ความรู้ด้านภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อการปฏิบัติการฝนหลวง
วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ โดยวิธี การสอบข้อเขียน ดังนี้ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย บทบาท หน้าที่ภารกิจของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
๒. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการออกแบบ การติดตั้งระบบไฟฟ้า และความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรม ไฟฟ้ากำลัง
๓. ความรู้พื้นฐานด้านระบบสื่อสารและโทรคมนาคม (Broadcast, Network, Fiber optic, Microwave, Communications และ Data)
๔. ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
นักตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักตรวจสอบความปลอดภัย ด้านการบินปฏิบัติการ โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย บทบาท หน้าที่ภารกิจของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
๒. ความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม
๓. ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๔. ระเบียบกรมฝนหลวงและการบินเกษตรว่าด้วยการบิน พ.ศ. ๒๔๖๓
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย บทบาท หน้าที่ภารกิจของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
๒. ความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ
๓. ความรู้ความสามารถด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
๔. ความรู้ความสามารถด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดการระบบฐานข้อมูล
๕. ความรู้เรื่องกฎหมาย พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย บทบาท หน้าที่ภารกิจของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
๒. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๓. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย บทบาท หน้าที่ภารกิจของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
๒. ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชี
๓. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒
๔. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย บทบาท หน้าที่ภารกิจของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
๒. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบควบคุมทางไฟฟ้า การวิเคราะห์วงจรและคำนวณวงจรไฟฟ้า
๓. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตรวจวัดทางไฟฟ้า การใช้เครื่องมือวัดและระบบป้องกันฟ้าผ่า
๔. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสาร โทรคมนาคม สายส่ง สายอากาศ และสายนำสัญญาณ
๕. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับดิจิตอล คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย
๖. ความรู้เบื้องด้นเกี่ยวกับระบบไฟฟ้ารถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้(คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย บทบาท หน้าที่ภารกิจของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
๒. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ ยานพาหนะและขนส่ง
๓. ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะและขนส่ง
๔. ความรู้เบื้องด้นเกี่ยวกับการออกแบบ เขียนแบบ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์อื่น ๆ
นายช่างอากาศยานปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างอากาศยานปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย บทบาท หน้าที่ภารกิจของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
๒. ความรู้เบื้องด้นเกี่ยวกับอากาศยาน
๓. ความรู้และทักษะเกี่ยวกับเครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง และอิเล็กทรอนิกส์
๔. ความรู้เบื้องด้นเกี่ยวกับงานซ่อมบำรุงอากาศยาน
๕. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ประกอบการบิน
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. – 24 ก.พ. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร