“กรมชลประทาน“
ลิงค์: https://ehenx.com/11432/ หรือ
ตำแหน่ง: เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน,นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน,นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน,นายช่างโยธาปฏิบัติงาน,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ,นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ,นักอุทกวิทยาปฏิบัติการ,วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ,วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 48
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 21 ต.ค. 2563
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมชลประทาน เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารบัราชการในกรมชลประทาน
ด้วยกรมชลประทาน จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่างๆ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 12 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 15 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 4 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักอุทกวิทยาปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 8 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
1.ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว สาขาวิชาพืชศาสตร์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และ
2.เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับอนุปริญญาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
1.ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือสาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล หรือสาขาวิชาช่างกลการเกษตร และ
2.เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ 2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ..ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
1. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของ ก.พ. ระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
1. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
1. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา หรือทางวิศวกรรมสำรวจ หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางภูมิศาสตร์ หรือทางภูมิศาสตร์กายภาพ และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า
นักอุทกวิทยาปฏิบัติการ
1. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา หรือทางวิศวกรรมชลประทาน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพทางสมุทรศาสตร์ ทางสมุทรศาสตร์สกายะและเคมี ทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป ทางภูมิศาสตร์ หรือทางฟิสิกส์ หรือสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ทางคณิตศาสตร์ หรือทางสถิติ และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ
1. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมไฟฟ้า และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด (สาขาไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง) และ
2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
1.ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทางวิศวกรรมชลประทาน หรือทางวิศวกรรมโครงสร้าง และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด (สาขาโยธา) และ
2.เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านเกษตร ตามแนว แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.ด้านการปฏิบัติการ (1) ช่วยทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา ทดลอง ทดสอบ วิเคราะห์ ตรวจสอบ รับรอง ทางด้านวิชาการเกษตร เพื่อให้มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (2) ผลิต และให้บริการ ด้านพืช ไหม และปัจจัยการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมาย และมีคุณภาพตามมาตรฐาน (3) ปฏิบัติงานด้านวิชาการเกษตร เช่น การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย การพัฒนาที่ดิน การส่งเสริมการเกษตร การจัดการไร่นา การใช้น้ำชลประทาน เป็นต้น เพื่อสนับสนุนงานวิชาการและเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร (4) ช่วยวางแผน ส่งเสริมการผลิต และจัดทำโครงการสนับสนุน การผลิตของเกษตรกรเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร
2.ด้านบริการ (1) สาธิต แนะนำ ส่งเสริม และจัดทำโครงการสนับสนุน การผลิตของเกษตรกรเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร (2) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกษตรเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างเครื่องกล ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ (1) ดำเนินการตรวจสอบ บำรุงรักษา ซ่อมแก้ไข ปรับปรุง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
(2) ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ ประมาณราคา เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน (3) สำรวจ รวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติ ประวัติการบำรุงรักษา การซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องมือกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงาน
2. ด้านบริการ (1) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(2) ให้คำแนะนำและบริการแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการทำงาน
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างสำรวจ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ (1) สำรวจ รังวัด คำนวณ ตรวจสอบ จัดทำแผนที่ แผนผัง เพื่อให้ทราบรายละเอียด และเป็นไปตามแบบที่กำหนด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) แก้ไขปัญหาเบื้องต้นจากการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของงานที่กำหนดไว้ (3) วัดระดับของภูมิประเทศ วางโครงข่ายหมุดหลักฐาน แผนที่ เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานของหน่วยงาน (4) บันทึกข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจ และรายงานผลเพื่อติดตาม ความก้าวหน้าของงาน (5) กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจ เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้อง
2. ด้านการบริการ (1) ให้คำปรึกษา แนะนำทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไป แก่บุคลากรทุกสายงาน เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างโยธา ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ (1) สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ก่อสร้าง บำรุงรักษาโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อให้ตรงตามหลักวิชาช่าง ความต้องการของหน่วยงาน และงบประมาณที่ได้รับ (2) ตรวจสอบ แก้ไข และกำหนดรายละเอียดของงานให้ตรงกับแบบรูปและรายการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (3) ถอดแบบ เพื่อสำรวจปริมาณวัสดุที่ใช้ตามหลักวิชาช่าง เพื่อประมาณราคาค่าก่อสร้าง (4) ควบคุมงานก่อสร้าง งานปรับปรุง และซ่อมแซม หรือตรวจการจ้างตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมรายงานความก้าวหน้าของงาน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
(5) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยในงานด้านช่าง
2. ด้านบริการ (1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและฝึกอบรมเกี่ยวกับงานโยธาที่ตนมีความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
(2) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานโยธา และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการพัสดุ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุ เพื่อกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
(2) ตรวจสอบและดูแลการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา ประกวดราคา วิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
(3) จัดทำรายละเอียดบัญชี หรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
(4) ซ่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครอง เพื่อใหมีสภาพที่พร้อมใช้งาน
(5) จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นในการใช้งานทางราชการอีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชน์ให้แก่ทางราชการได้มากที่สุด
(6) ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
(2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ (1) รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง
(2) รวบรวมข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้น เกี่ยวกับภารกิจหลักและ แผนกลยุทธ์ของส่วนราชการ หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงาน หรือโครงการให้สามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
(3) วิเคราะห์นโยบายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงาน หรือโครงการให้สามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
(4) สำรวจ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐและประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนงาน หรือกำหนดยุทธศาสตร์
(5) ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล เพื่อประกอบการเสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการติดตามประเมินผลให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน
2. ด้านการวางแผน วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน (1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงาน หรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ (1) รวบรวมข้อมูล เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนงานโครงการ
(2) ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับนโยบายและแผน เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานงานด้านวิชาการแผนที่ภาพถ่าย ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพดาวเทียม และข้อมูลเชิงพื้นที่อื่น ๆ เพื่อจัดหาหรือเพื่อเตรียมการคัดเลือกบริเวณที่จะทำแผนที่และหรือระบบภูมิสารสนเทศ
(2) สำรวจและวางโครงข่ายสามเหลี่ยมทางอากาศ กำหนดจุดบังคับภาพ รังวัดและคำนวณ ปรับแก้ค่าพิกัด และบันทึกข้อมูลผลการรังวัดเพื่อใช้ในการจัดทำแผนที่ต่าง ๆ
(3) จัดสร้างระวางขยายภาพถ่ายและระวางแผนที่ภาพถ่าย เพื่อใช้ในการออกเอกสารสิทธิ์ พิสูจน์สิทธิในที่ดิน และให้บริการแก่หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป
(4) อ่าน แปล และตีความภาพถ่ายทางอากาศ และวิเคราะห์ภาพดาวเทียม เพื่อดูร่องรอยการใช้ประโยชน์ที่ดิน
(5) นำเข้า ตรวจสอบ แก้ไข รักษาและค้นคืนข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ
(6) ประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน
(7) ดูแล จัดเก็บ บริการ แผนที่ ภาพถ่าย และหรือข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อให้บริการแก่หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไปนำไปใช้ประโยชน์
(8) สรุปรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ตรวจสอบและเตรียมระวางแผนที่ และหรือข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อทำการส่งให้หน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก และให้บริการประชาชน
(2) ชี้แจงและตอบปัญหา เกี่ยวกับข้อมูลด้านแผนที่และหรือภูมิสารสนเทศ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป
(3) ให้บริการแผนที่ และหรือข้อมูลภูมิสารสนเทศ แก่หน่วยราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป
นักอุทกวิทยาปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการอุทกวิทยา ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณตะกอน ระดับหรือปริมาณน้ำ ระดับและปริมาณน้ำฝน เพื่อประมวลหาค่าต่าง ๆ ทางอุทกวิทยาและจัดทำสถิติ ฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ในการศึกษาวิจัยด้านอุทกวิทยา การพยากรณ์ปริมาณน้ำ วางแผนการพัฒนาแหล่งน้ำ หรือการจัดทำหนังสือสถิติประจำปี
(2) ช่วยวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับพฤติการณ์ของน้ำท่า น้ำฝน และอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยาตลอดจนการผันแปร การหมุนเวียน และการตกตะกอนของน้ำ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ การออกแบบเชิงอุทกวิทยา และการขุดคลองร่องน้ำ การขุดลอกตะกอนในอ่างเก็บน้ำ
(3) ช่วยค้นคว้าเรื่องต่าง ๆ เพื่อประกอบการวิเคราะห์วิจัยทางอุทกวิทยา การวางหลักเกณฑ์ในการดำเนินการสำรวจ และวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับงานอุทกวิทยา (4) ช่วยศึกษาและติดตามคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ เพื่อหาสาเหตุของการเสื่อมโทรมของน้ำ และแนะนำแนวทางแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
(5) ตรวจสอบ ซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องมือสำรวจทางอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาที่ใช้ในการสำรวจงานอุตุ-อุทกวิทยา เพื่อให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด (2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการอุทกวิทยา ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
4. ด้านการบริการ
ให้บริการเผยแพร่ด้านอุทกวิทยาให้หน่วยราชการหรือผู้สนใจ เพื่อประกอบการค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการอุทกวิทยาให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) สำรวจข้อมูลเพื่อออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบสัญญาณเตือนภัย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า
(2) ศึกษาและกำหนดรูปแบบรายการเพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้าง การผลิต การควบคุม การติดตั้ง และการประมาณราคาในงานวิศวกรรมไฟฟ้า
(3) ควบคุมการก่อสร้าง ติดตั้ง บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้ระบบมีความถูกต้อง ปลอดภัย ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(4) ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนางานวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีความถูกต้อง ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน
(5) จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้งานของหน่วยงาน
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด (2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจง เกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้าที่ตน มีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ (2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ และมาตรการต่างๆ
วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมโยธา ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) สำรวจ ศึกษา วางแผน วิเคราะห์ วิจัย ออกแบบ คำนวณ ประมาณราคา ควบคุมงานก่อสร้าง งานบำรุง งานบูรณะซ่อมแซม งานอำนวยความปลอดภัย งานผังเมืองหรืองานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) ตรวจสอบแบบแปลน โครงสร้าง สภาพการใช้งานของอาคารหรือโครงสร้างพื้นบาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
(3) ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานสำรวจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้รูปแบบแผนที่ต่างๆ ที่ถูกต้อง
(4) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนด กฎ ระเบียบ มาตรฐาน มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน
(5) ศึกษา วิจัย และทดสอบวัสดุที่ใช้ในงานด้านวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยและประหยัดงบประมาณ
(6) ตรวจสอบสัญญาก่อสร้าง บำรุง บูรณะซ่อมแซมและอำนวยความปลอดภัย รวมถึงการแก้ไขสัญญางานวิศวกรรมโยธา เพื่อให้งานมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งการมีส่วนร่วม
(2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง จัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ
วิชาที่สอบ
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
1.การทดสอบความรู้เกี่ยวกับงานด้านการเกษตรทั่วไป การใช้พื้นที่ทางการเกษตร การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์พืช เครื่องจักรเครื่องมือทางการเกษตร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทางการเกษตร 2.ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
1. การทดสอบความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์และเครื่องจักรกล การซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล และยานพาหนะ การเขียนแบบเครื่องกลเบื้องต้น งานแม่พิมพ์ การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ และความรู้เกี่ยวกับเครื่องสูบน้ำและไฟฟ้าเบื้องต้น 2. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
1. การทดสอบความรู้เกี่ยวกับงานวงรอบ ได้แก่ การวงรอบชนิดต่าง ๆ การวัดมุมและปรับแก้มุม การวัดระยะ และปรับแก้ระยะ ชั้นหรือเกณฑ์ของงานวงรอบ และการทำแผนที่รายละเอียด การคำนวณและเขียนแผนที่ การคำนวณพื้นที่จากค่าพิกัดฉาก หลักการเขียนแผนที่ภูมิประเทศจากข้อมูลสำรวจ การรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่โดยดาวเทียมเบื้องต้น แผนที่รูปถ่ายทางอากาศ ได้แก่ การคำนวณมาตราส่วนบนรูปถ่ายทางอากาศ ประโยชน์ของภาพถ่ายทางอากาศในงานแผนที่ หลักการแปลภาพถ่ายทางอากาศ การปรับแก้ภาพถ่ายทางอากาศ (RECTIFY) ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) การทำระดับ และการแบ่งชั้นของการทำระดับ
2. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
1. การทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงสร้างเบื้องต้น การเขียนแบบวิศวกรรม การเขียนแบบวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ การออกแบบและคำนวณโครงสร้างไม้ โครงสร้างเหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก วัสดุทางด้านวิศวกรรมและการทดสอบ การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง การวิเคราะห์และประมาณราคางานก่อสร้าง การวางแผนและควบคุมงานก่อสร้าง 2. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ
1.1 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
1.2 กฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
1.3 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
1.4 การประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและการคำนวณราคากลางเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ
2. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
2. ความรู้เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลด้านการเกษตร นโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การจัดทำยุทธศาสตร์ การจัดทำแผนงานโครงการ การบริหารแผนงานโครงการ การวิเคราะห์โครงการ และการติดตามประเมินผล
3. การใช้ภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย ไวยากรณ์ (grammar) คำศัพท์ (vocabulary) และ การอ่าน (reading comprehension) โดยวิเคราะห์ สรุป และจับประเด็นสำคัญ
4. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับการทำแผนที่จากข้อมูลระยะไกล ประกอบด้วย ความรู้ที่เกี่ยวกับแผนที่ ระบบพิกัด พื้นหลักฐานทางราบ พื้นหลักฐานทางดิ่ง และมาตราส่วนแผนที่ ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ ความรู้ที่เกี่ยวกับภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม เทคนิคและวิธีการทำแผนที่จากภาพถ่าย การอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม
2. ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย ความรู้ที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เทคนิคและวิธีนำเข้าข้อมูล ความรู้ที่เกี่ยวกับคำอธิบายข้อมูล (Metadata)
3. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
นักอุทกวิทยาปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับหลักอุทกวิทยา ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับระบบและกระบวนการอุทกวิทยา วัฏจักรน้ำ เครื่องมือและการตรวจวัดข้อมูลทางอุทกวิทยา น้ำท่าและชลศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างน้ำฝนและน้ำท่า
2. ความรู้เกี่ยวกับอุทกวิทยาประยุกต์ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับลุ่มน้ำ การวิเคราะห์ทางอุทกวิทยา อุทกวิทยากับการจัดการทรัพยากรน้ำ
3. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
1. ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้า ประกอบด้วย พื้นฐานระบบไฟฟ้ากำลัง การออกแบบระบบไฟฟ้า มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ระบบควบคุมมอเตอร์ ระบบไฟฟ้าสื่อสารเบื้องต้น การอนุรักษ์พลังงาน
2. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
1. วิชาความรู้ด้านการออกแบบและคำนวณ ประกอบด้วยโครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็ก โครงสร้างไม้ และโครงสร้างเหล็ก อาคารชลศาสตร์ อาคารรับแรงดันดิน และแรงดันน้ำ วัสดุศาสตร์ และคอนกรีตเทคโนโลยี วิศวกรรมชลศาสตร์
2. วิชาความรู้ด้านการสำรวจ และวางโครงการ ประกอบด้วยการสำรวจ เพื่อการออกแบบ การวางโครงการ การวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการด้านต่างๆ การศึกษาผลกระทบโครงการ
3. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งานออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมชลประทาน :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 21 ต.ค. 2563 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมชลประทาน
แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |