กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ลิงค์: https://ehenx.com/15633/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการพาณิชย์,นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 18,000-
อัตราว่าง: 4
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 15 พ.ย. – 2 ธ.ค. 2564
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป

ด้วยกรมทรัพย์สินทางปัญญาประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการ ประเภททั่วไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่๑๑กันยายน๒๕๕๒และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการเรื่องการกำหนดลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน และการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการลงวันที่ ๒๘กุมภาพันธ์๒๕๕๔ จึงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการพาณิชย์

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการพาณิชย์

ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชา หนึ่งทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทางจุลชีววิทยา ทางชีวเคมี และทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

ด้านคอมพิวเตอร์

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์

ด้านวิเคราะห์ข้อมูล

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนี้ง ทางคอมพิวเตอร์

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการพาณิชย์

ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
๑. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
๒. พิจารณารับจดทะเบียนคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
๓. ให้คำแนะนำในโครงสร้างข้อมูลสิทธิบัตรเพื่อตรวจสอบเปรียบเทียบกับคำขอที่ยื่นจดทะเบียน
๔. ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรในการรับจดทะเบียน
๕. วิเคราะห์และจัดทำสารบัญประกาศโฆษณาสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/แบบผังภูมิวงจรรวม
๖. จัดทำทะเบียนที่ได้รับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรแล้ว
๗. จัดทำสถิติการบริการข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการบริหารงานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา
๘. ติดตามประเมินผลการให้บริการข้อมูล
๙. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านคอมพิวเตอร์

มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
๑. ศึกษา ออกแบบ พัฒนา และบริหารจัดการระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์ปฏิบัติการของ กรม (DOC) รวมทั้งเว็บไซต์ของกรม ให้รองรับเทคโนโลยีดิจิทัล
๒. ศึกษา ออกแบบ พัฒนา และบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ให้รองรับ Big Data ในหลากหลายมิติ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและกำหนดนโยบายของผู้บริหาร
๓. ศึกษา ออกแบบ พัฒนา และบริหารจัดการระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลของกรม ให้ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล และบริการข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
๔. ให้บริการ แนะนำ ปรึกษา ด้านระบบงานคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลแก่ผู้ใข้งานทั้งภายใน และภายนอกกรม
๕. ออกแบบ ปรับปรุง แก่ไข และพัฒนาเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นปัจจุบัน
๖. ประมวลผลและจัดทำข้อมูลสถิติต่าง ๆ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
๗. บริหารจัดการระบบงาน Back Office ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา และประสานการ เชื่อมโยงกับระบบ Back Office ของกระทรวงพาณิชย์
๘. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านวิเคราะห์ข้อมูล

๑. ศึกษา วิเคราะห์ ประมวลผล และพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจและกำหนด นโยบายสำหรับผู้บริหาร
๒. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิท้ลเพื่อเศรษฐกิจการพาณิชย์ และ แนวนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรม ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ นโยบายของกระทรวง
๓. ศึกษา วิเคราะห์ และบูรณาการแผนงาน/เครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรม
๔. กำหนดนโยบาย การบริหารความเสี่ยง และระบบควบคุมความปลอดภัยด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศของกรม
๕. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำ และดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานด้านข้อมูล ความปลอดภัย และ เทคนิคด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรม
๖. ประสานการดำเนินงาน และติดตามประเมินผลแผนงาน/โครงการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของกรม
๗. ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรม
๘. ทำหน้าที่ประสานงาน/เลขานุการคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการลื่อสาร
๙. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
๑. บริหารจัดการ วางแผน และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รวมทั้ง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของกรม
๒. บริหารและบำรุงรักษาเครือข่ายให้ครอบคลุมผ่านระบบเครือข่ายสื่อต่างๆ
๓. ควบคุม ดูแล และบำรุงรักษา รวมถึงการสำรองและกู้คืนข้อมูลระบบงานและฐานข้อมูล ทุกระบบ ให้พร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔. ให้บริการเชื่อมโยงควบคุม กำกับ ดูแลบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศพื้นฐาน
๕. บริหารจัดการให้บริการรักษาและคุ้มครองความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ทุกด้านของกรม
๖. ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการด้านความเสี่ยงทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเสนอแนะ และจัดทำ แผนพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคและวิธีการในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์
๗. บริหารจัดการระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของกรมฯ
๘. ให้บริการ แนะนำ ปริกษา ด้านระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายแก่ผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกกรม
๙. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน

ฝากประชาสัมพันธ์

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ

วิชาที่สอบ

นักวิชาการพาณิชย์

ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๑
ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ๑. ข้อสอบปรนัย จำนวน ๖๐ ข้อ (รวม ๖๐ คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ๒. ข้อสอบอัตนัย จำนวน ๒ ข้อ (รวม ๔๐ คะแนน) (๑)การทดสอบความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานต้าน เทคโนโลยีชีวภาพโดยการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (๒๐ คะแนน) (๒) การสรุปประเด็นโดยย่อ เป็นภาษาไทย (๒๐ คะแนน)

การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๒
ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน โดยพิจารณาความเหมาะสมด้านต่างๆ เข่น ความรู้ที่อาจใช้ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความรู้เรื่องการรักษาความ ปลอดภัยแห่งชาติ ความลับทางราชการ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น

ด้านคอมพิวเตอร์

การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๑
ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป – ข้อสอบปรนัย จำนวน ๔๐ ข้อ (รวม ๔๐ คะแนน) ๑. ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา และองค์กรที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ๒. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ๒.๑ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม ๒.๒ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม ๒.๓ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ๒.๔ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง – ข้อสอบอัตนัย (รวม ๖๐ คะแนน) ความรู้ด้านการวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนาระบบงานและ ฐานข้อมูล การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๒

ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน โดยพิจารณาความเหมาะสมด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความรู้เรื่องการรักษาความ ปลอดภัยแห่งชาติ ความลับทางราชการ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น

ด้านวิเคราะห์ข้อมูล

การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๑
ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป – ข้อสอบปรนัย จำนวน ๔๐ ข้อ (รวม ๔๐ คะแนน) ๑. ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา และองค์กรที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ๒. ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ๓. ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการบริหารงานและการ ให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ ๔. ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง – ข้อสอบอัตนัย (รวม ๖๐ คะแนน) ความรู้ด้านการวิเคราะห์ทั่วไป ความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การประยุกต์ใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๒

ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน โดยพิจารณาความเหมาะสมด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความรู้เรื่องการรักษาความ ปลอดภัยแห่งชาติ ความลับทางราชการ ความสามารถ ประสบการณ์ พ่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๑
ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป – ข้อสอบปรนัย จำนวน ๔๐ ข้อ (รวม ๔๐ คะแนน) ๑. ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา และองค์กรที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ๒. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ๒.๑ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ.๒๕๔๔ และที่แก่ไขเพิ่มเติม ๒.๒ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม ๒.๓ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไชเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ๒.๔ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง – ข้อสอบอัตนัย (รวม ๖๐ คะแนน) ความรู้ด้านระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะครั้งที่ ๒
ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน โดยพิจารณาความเหมาะสมด้านต่างๆ เข่น ความรู้ที่อาจใช้ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความรู้เรื่องการรักษาความ ปลอดภัยแห่งชาติ ความลับทางราชการ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น

วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา  :ตนเอง  

ผู้ประสงค์จะสมัคร

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 – 2 ธันวาคม 2564 (ในวันและเวลาราชการ)

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมทรัพย์สินทางปัญญา

แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |

Facebook Comments