“โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร“
ลิงค์: https://ehenx.com/16319/ หรือ
ตำแหน่ง: นักเรียนนายสิบแผนที่
ระดับการศึกษา: ม.ปลาย
อัตราเงินเดือน: –
อัตราว่าง:
ปฏิบัติงานที่:
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 26 ก.พ. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมแผนที่ทหาร เปิดรับสมัคร
เรื่อง การรับบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนนายสิบแผนที่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕
โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย มีความประสงค์จะรับบุคคล เพื่อสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบแผนที่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ ดังต่อไปนี้
นักเรียนนายสิบแผนที่
คุณวุฒิ : ม.ต้น
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
๑. คุณสมบัติของผู้สมัคร (รายละเอียดตามระเบียบกองบัญชาการกองทัพไทย ว่าด้วย โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ชั้นนักเรียนนายสิบ พ.ศ.๒๕๕๓ และระเบียบกองบัญชาการกองทัพไทย ว่าด้วยโรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ชั้นนักเรียนนายสิบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘)
๑.๑ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ตํ่ากว่า ๒.๒ ตลอดช่วงชั้นที่ ๔ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖)
๑.๒ เป็นชายโสด ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปี ถึง ๒๐ ปี (ผู้ที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕-พ.ศ.๒๕๔๗)
๑.๓ มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และบิดามารดามีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็น นายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทย โดยกำเนิดก็ได้
๒. หลักฐานสำคัญที่ต้องใช้ในการสมัคร
๒.๑ ใบสมัคร (พิมพ์จากระบบรับสมัครออนไลน์)
๒.๒ รูปถ่ายสีหน้าตรงไม่สวมหมวก ขนาด ๒ นิ้ว (ถ่ายไว้ไม่เกิน ๓ เดือน)
๒.๓ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัคร
๒.๔ ใบสำคัญทหารกองเกิน (สด.๙)
๒.๕ ทะเบียนบ้านของบิดามารดา และผู้สมัคร
๒.๖ เอกสารแสดงวุฒิทางการศึกษา
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
วิชาที่สอบ
๔. สอบภาควิชาการ ในวันอาทิตย์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐-๑๗.๐๐ น. ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร วิชาที่สอบได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ (เฉพาะวิชาฟิสิกส์) วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาภาษาไทย-สังคมศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ของกระทรวงศึกษาธิการ
๕.ประกาศผลการสอบภาควิชาการ ในวันอังคารที่ ๑๕ มีนาคม๒๕๖๕เวลา ๑๐.๐๐น. ณ โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ถนนราชดำเนินนอก เฃตทระนคร กรุงเททมหานคร และ ทางอินเทอร์เน็ต www.rtsd.mi.th,school.rtsd.mi.th
๖. การตรวจร่างกายและเอกซเรย์ ในวันจันทร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ถึง วันอังคารที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๐๐ น. ณ โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
๗. สอบพลศึกษา และสอบ.สัมภาษณ์
๗.๑ สอบพลศึกษา ในวันพุธที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๕ (สถานที่สอบจะแจ้งภายหลัง)
๗.๒ สอบสัมภาษณ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕ (สถานที่สอบจะแจ้งภายหลัง) ๘. ประกาศผลการสอบขั้นสุดท้าย ภายในวันจันทร์ที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และ ทางอินเทอร์เน็ต www.rtsd.mi.th,school.rtsd.mi.th
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
๖. การสอบคัดเลือก
๖.๑ การสอบรอบแรก เป็นการสอบภาควิชาการ จะสอบวิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาภาษาไทย-สังคมศึกษา ตามหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ของกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียดดังนี้
๖.๑.๑ วิชาคณิตศาสตร์ (คะแนนเต็ม ๓๐๐ คะแนน)
๖.๑.๒ วิชาวิทยาศาสตร์ เฉพาะวิชาฟิสิกส์ (คะแนนเต็ม ๓๐๐ คะแนน)
๖.๑.๓ วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
๖.๑.๔ วิชาภาษาไทย-สังคมศึกษา (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
ในการสอบรอบแรกจะคัดเลือกผู้สอบที่ได้คะแนนสูงสุดและลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ ไว้จำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ต้องมีคะแนนในวิชาวิชาภาษาอังกฤษไม่ตํ่ากว่าร้อยละ ๓๐ (ในกรณีที่มีผลรวมคะแนนสอบวิชาการ เท่ากัน จะจัดลำดับคะแนนเรียงลำดับตามผลการสอบในวิชา ตามข้อ ๖.๑.๑ – ๖.๑.๔ ตามลำดับ)
๖.๒ การสอบรอบที่สอง เป็นการตรวจร่างกายผู้สมัครสอบคัดเลือกที่ผ่านการสอบภาควิชาการในรอบแรก จะต้องเข้ารับการตรวจร่างกายตามวัน เวลา ที่จะประกาศให้ทราบ ในวันประกาศผลการสอบรอบแรก ผู้ที่ไม่มารับ การตรวจร่างกายถือว่าเป็นผู้สละสิทธ
ผลการตรวจร่างกายถือความเห็นของกรรมการแพทย์ที่ กรมแผนที่ทหาร แต่งตั้งขึ้น เพื่อตรวจร่างกาย ผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบแผนที่เป็นเด็ดขาด จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัคร ได้รับการตรวจโรค หรือได็ใบรับรองในการตรวจโรคจากที่อื่นๆ
นอกจากการตรวจร่างกายแล้ว จะมีการฉาย X – Ray ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจจะต้องนำเงินมาชำระ ตามจำนวนเงินที่ประกาศให้ทราบ
ในกรณีที่แพทย์ต้องการตรวจพิเศษนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ผู้สมัครต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง
คำเตือน
– ตอนเช้าวันตรวจร่างกาย ไม่ควรรับประทานอาหารที่หวานจัด เพราะอาจทำให้ปัสสาวะมีนี้าตาลได้
– ก่อนตรวจร่างกายผู้สมัคร ไม่ควรรับประทานยาประเภทกระตุ้นกำลัง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความ ผิดปกติทางหัวใจ และหลอดเลือดได้
– ห้ามผู้สมัครใส่ Contact Lens เข้ารับการตรวจสายตา
๖ .๓ การสอบรอบที่สาม เป็นการสอบพลศึกษา สัมภาษณ์ ห่วงทีวาจา
๖.๓.๑ การสอบพลศึกษา (คะแนนเต็ม ๑,๐๐๐ คะแนน)
เป็นการสอบสมรรถภาพของร่างกาย ผู้เข้ารับการสอบพลศึกษาต้องเข้ารับการทดสอบครบ ทุกสถานี และได้คะแนนสอบพลศึกษารวมทุกสถานีไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ทั้งนี้ต้องว่ายนํ้าได้ครบระยะ ๕๐ เมตร จึง จะถือว่าสอบผ่าน รายละเอียดตามผนวก ก
ประเภทของสถานีที่สอบ และวิธีการทดสอบมีดังนี้
๖.๓.๑.๑ ดึงข้อราวเดี่ยว (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
เกณฑ์การให้คะแนน
ทำได้ ๒๐ ครั้ง เท่ากับ ๑๐๐ คะแนน
ทำได้ ๑๐ ครั้ง เท่ากับ ๕๐ คะแนน
ทำได้ ๑ ครั้ง เท่ากับ ๕ คะแนน
ตํ่ากว่า ๑ ครั้ง เท่ากับ ๐ คะแนน
วิธีการทดสอบ
ท่าเตรียม ผู้เข้ารับการทดสอบจับราวเดี่ยว ลักษณะมือควํ่ากำรอบ ปล่อยตัวลงแนวดิ่ง แขน ลำตัว และขาเหยียดตรง
การปฏิบัติ ผู้เข้ารับการทดสอบดึงตัวขึ้นให้คางอยู่เหนือราวเดี่ยว แล้วปล่อยตัวลง สู่ท่าเตรียม ทำติดต่อกันให้ได้จำนวนมากที่สุด จนไม่สามารถปฏิบัติได้อีก จึงหยุดการทดสอบ (ขณะทำการ ทดสอบ ห้ามเตะเท้าหรือแกว่งตัว)
๖.๓.๑.๒ วงเกบของ (คะแนนเตม ๑๐๐ คะ เกณฑ์การให้คะแนน แนน)
เวลา ๑๐.๐๐ วินาที เท่ากับ ๑๐๐ คะแนน
เวลา ๑๑.๒๕ วินาที เท่ากับ ๕๐ คะแนน
เวลา ๑๒.๔๐ วินาที เท่ากับ ๔ คะแนน
เวลามากกว่า ๑๒.๔๐ วินาที เท่ากับ ๐ คะแนน
วิธีการทดสอบ
ท่าเตรียม ผู้เข้ารับการทดสอบยืนหลังเส้นเริ่ม พร้อมที่จะทดสอบ
การปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณ “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งจากเส้นเริ่มไปหยิบ ท่อนไม้ท่อนที่ ๑ (ซึ่งวางอยู่ภายในวงกลมรัศมี ๑ ฟุต และห่างจากเส้นเริ่ม ๑๐ เมตร) วิ่งนำกลับมาวางภายใน วงกลม ซึ่งอยู่หลังเส้นเริ่มด้นแล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้ท่อนที่ ๒ ซึ่งวางอยู่ภายในวงกลมเดียวกับท่อนไม้ ท่อนที่ ๑ แล้วกลับตัววิ่งผ่านเส้นเริ่มโดยไม่ต้องวางไม้ท่อนที่ ๒ ทำการทดสอบ ๑ ครั้ง หากผู้รับการทดสอบลื่น หกล้มหรือเสียหลักให้ทดสอบใหม่
๖.๓.๑.๓ ลุกนั่ง เวลา ๓๐ วินาที (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
เกณฑ์การให้คะแนน
ทำได้ ๓๐ ครั้ง เท่ากับ ๑๐๐ คะแนน
ทำได้ ๒๐ ครั้ง เท่ากับ ๕๐ คะแนน
ทำได้ ๑๑ ครั้ง เท่ากับ ๕ คะแนน
ตํ่ากว่า ๑๑ ครั้ง เท่ากับ ๐ คะแนน
วิธีการทดลอบ
ท่าเตรียม ผู้เข้ารับการทดสอบนอนหงายราบกับพื้น เข่าทั้งสองตั้งงอเป็นมุมฉาก ฝ่าเท้าทั้งสองวางราบห่างกันพอประมาณ ฝ่ามือทั้งสองสอดประสานกันที่ท้ายทอย ผู้ช่วยคุกเข่า ที่ปลายเท้าของ ผู้เข้ารับการทดสอบ ใช้มือทั้งสองข้างจับกดเท้าของผู้ทดสอบบริเวณตาตุ่มด้านนอกให้อยู่กับที่
การปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณ “เริ่ม” ให้ผู้เข้ารับการทดสอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งก้มศีรษะ ลงระหว่างเข่าทั้งสอง แล้วกลับลงนอนสู่ท่าเตรียมจนศอกทั้งสองข้างแตะกับพื้น ปฏิบัติเข่นนี้ให้ติดต่อกัน และ ให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด ภายในเวลา ๓๐ วินาที
๖.๓.๑.๔ นั่งงอตัว (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
เกณฑ์การให้คะแนน
๒๐ ซม. เท่ากับ ๑๐๐ คะแนน
๙ ซม. เท่ากับ ๕๐ คะแนน
๑ ซม. เท่ากับ ๖ คะแนน
น้อยกว่า ๑ ซม. วิธีการทดลอบ เท่ากับ ๐ คะแนน
ท่าเตรียม ผู้เข้ารับการทดสอใ]นั่งลงใ]นเใ]าะ ลักษณะเหยียดขาเข่าตึง ฝ่าเท้าแนบชิด เครื่องวัดความอ่อนตัว
การปฏิบัติ เมื่อพร้อมให้ผู้เข้ารับการทดสอบเหยียดแขนให้ตึง และก้มตัวลงไป ด้านหน้ามือทั้งสองวางขนานกันปลายนิ้วกลางทั้งสองมืออยู่ที่แกนวัด ดันแกนวัดระดับไปข้างหน้าให้ได้ระยะ มากที่สุด เมื่อได้ระยะแล้วให้ดันแตะค้างไว้ ๓ วินาที ให้ทดสอบ ๒ ครั้ง บันทึกครั้งที่ดีที่สุดในการทดสอบ หากผู้ เข้ารับการทดสอบสามารถเหยียดมือเลยปลายเท้าจะบันทึกค่าเป็น “บวก” ถ้าไม่ถึงปลายเท้า จะบันทึกคำ เป็น “ลบ”
๖.๓.๑.๕ ยืนกระโดดไกล เกณฑ์การให้คะแนน
(คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
๒๔๐ ซม. เท่ากับ ๑๐๐ คะแนน
๒๑๕ ซม. เท่ากับ ๕๐ คะแนน
๑๙๑ ซม. เท่ากับ ๒ คะแนน
น้อยกว่า ๑๙๑ ซม. เท่ากับ ๐ คะแนน
วิธีการทดสอบ
ท่าเตรียม ผู้เข้ารับการทดสอบยืนหลังเส้นเริ่ม ปลายเท้าจรดที่หลังเส้นพอดี หันหน้า ไปทางทิศที่กำหนด
การปฏิบัติ เมื่อได้ยินเลียงสัญญาณ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบกระโดดจากท่าเตรียมด้วย เท้าทั้ง ๒ ข้างพร้อมกันไปข้างหน้า ให้ระยะไกลที่สุด การวัดระยะวัดจากเส้นเริ่มไปยังรอยเท้าที่สัมผัสพื้น ตํ่าสุด หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่สัมผัสพื้นที่ใกล้เส้นเริ่มมากที่สุด
๖.๓.๑.๖ วง ๕0 เมตร (คะ แนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
เกณฑ์การให้คะแนน เวลา ๖.๒๐ วินาที เท่ากับ ๑๐๐ คะแนน
เวลา ๗.๗๕ วินาที เท่ากับ ๕๐ คะแนน
เวลา ๘.๙ วินาที เท่ากับ ๔ คะแนน
มากกว่า ๘.๙ วินาที เท่ากับ ๐ คะแนน
วิธีการทดสอบ
ท่าเตรียม ผู้เข้ารับการทดสอบยืนหลังเส้นเริ่มในลู่ของตนเอง (ที่กำหนดให้)
การปฏิบัติ เมื่อได้ยินเลียงสัญญาณ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบวิ่งออกจากเส้นเริ่มอย่าง รวดเร็วไปยังเส้นชัยที่กำหนดให้เป็นระยะทาง ๕๐ เมตร ในกรณีที่ลื่นหกล้ม หรือเสียหลัก ให้ทดสอบใหม่
๖.๓.๑.๗ วง ๑,000 เมตร (คะแนนเตม ๒๐๐ คะแนน)
เกณฑ์การให้คะแนน
เวลา ๓.๒๒ นาท เท่ากับ ๒๐๐ คะแนน
เวลา ๓.๓๗ นาท เท่ากับ ๑๔๐ คะแนน
เวลา ๔.๐๒ นาท เท่ากับ ๑๐๐ คะแนน
เวลา ๔.๓๒ นาท เท่ากับ ๔๐ คะแนน
เวลา ๔.๒๑ นาที เท่ากับ ๑ คะแนน
เวลามากกว่า ๕.๒๑ นาที เท่ากับ ๐ คะแนน
วิธีการทดสอบ
ท่าเตรียม ผู้เข้ารับการทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม ปลายเท้าจรดที่เส้นหลังเริ่มพอดี หันหน้าไปตามทิศทางที่กำหนด
การปฏิบัติ เมื่อผู้เข้ารับการทดสอบได้ยินเลียงสัญญาณ ให้ผู้เข้ารับการทดสอบ วิ่งไปตามทิศทางที่กำหนด จนครบรอบ
๖.๓.๑.๘ ว่ายนํ้า ๕๐ เมตร (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
เกณฑ์การให้คะแนน
เวลา ๓๕.๐ วินาที เท่ากับ ๒๐๐ คะแนน
เวลา ๔๓.๐ วินาที เท่ากับ ๑๕๐ คะแนน
เวลา ๕๕.๕ วินาที เท่ากับ ๑๐๐ คะแนน
เวลา ๖๘.๐ วินาที เท่ากับ ๕๐ คะแนน
เวลามากกว่า ๘๐.๐ วินาที เท่ากับ ๐ คะแนน
วิธีการทดสอบ
ท่าเตรียม ผู้เข้ารับการทดสอบ ปล่อยตัวลงนี้าในช่องว่ายของตนเองมือข้างใด ข้างหนึ่งเกาะขอบสระว่ายนี้าหรือราวแท่นกระโดด หันหน้าไปตามทิศทางที่กำหนด
การปฏิบัติ เมื่อผู้เข้ารับการทดสอบได้ยินเลียงสัญญาณ ให้ผู้เข้ารับ การทดสอบ
พุ่งตัวไปข้างหน้า และว่ายนี้าไปตามทิศทางที่กำหนดเป็นระยะทาง ๕๐ เมตร ด้วยท่าใดก็ได้
หมายเหตุ :
๑. ขณะว่ายนํ้า ห้ามจับและดึงลู่ เพื่อช่วยให้ตนเองเคลื่อนไหวไปข้างหน้า
๒. ว่ายไม่ครบ ๕๐ เมตร ถือว่าไม่ผ่าน
๓. หากผู้เข้ารับทดสอบว่ายนํ้าไม่ผ่าน ถือว่าไม่ผ่านการทดสอบพลศึกษาทั้งหมด
๖.๓.๒ การสัมภาษณ์ – ห่วงทีวาจา
เป็นการพิจารณารูปร่าง ลักษณะท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจว่องไว และปฏิภาณ ตลอดจนคุณลักษณะความเหมาะสมที่จะเป็นทหาร ผลการสอบ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” เท่านั้น ไม่มีคะแนนโดยจะใช้แบบประเมินบุคลิกภาพของ รร.แผนที่ ผท.ทหาร (ผู้สอบไม่ผ่าน หมายถึง ผู้มีคุณลักษณะ ทางร่างกายไม่เหมาะสมที่จะเป็นทหาร)
๗. ขนาดความลมบูรณ์ของร่างกาย
ผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาที่จะผ่านการคัดเลือกเข้าเป็น นักเรียนนายสิบแผนที่ ถือเกณฑ์ความ สมบูรณ์ทางร่างกาย โดยใช้เกณฑ์ขั้นตํ่าดังนี้
๗.๑ อายุ ๑๘- ๑๙ ปี วัดรอบอกเมื่อหายใจเข้า ๗๘ เซนติเมตร เมื่อหายใจออก ๗๕ เซนติเมตร ความสูง ๑๖๐ เซนติเมตร นี้าหนัก ๔๘ กิโลกรัม
๗.๒ อายุ ๒๐ ปี ขึ้นไป วัดรอบอกเมื่อหายใจเข้า ๗๙ เซนติเมตร เมื่อหายใจออก ๗๖ เซนติเมตร ความสูง ๑๖๐ เซนติเมตร นี้าหนัก ๔๘ กิโลกรัม
วิธีการสมัครงานข้าราชการ โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 26 ก.พ. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร
แผนที่ file 1 | file 2 | เว็บรับสมัคร