กระทรวงสาธารณสุข

ลิงค์: https://ehenx.com/16690/ หรือ
ตำแหน่ง: เภสัชกรปฏิบัติการ,พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ,นักรังสีการแพทย์ปฏิบัติการ,นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ,นักจิตวิทยาคลินิกปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ม.ต้น,อื่นๆ
อัตราเงินเดือน: 10,840-19,250
อัตราว่าง: 2
ปฏิบัติงานที่: กาญจนบุรี (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี)
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 19 เม.ย. – 25 เม.ย. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



กระทรวงสาธารณสุข เปิดรับสมัคร

ประกาศจังหวัดกาญจนบุรี

เรื่อง รับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี

ด้วยจังหวัดกาญจนบุรี จะดำเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งต่าง ๆ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๕ และมาตรา ๕๓I แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกับหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔.๑/ว ๑๖ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๒๐ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔ จึงประกาศรับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ โดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

เภสัชกรปฏิบัติการ

อัตราว่าง :  อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15800-19250 บาท

คุณวุฒิ : ม.ต้น


พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

อัตราว่าง :  อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ม.ต้น


นักรังสีการแพทย์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง :  อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ม.ต้น


นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง :  อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ม.ต้น


นักจิตวิทยาคลินิกปฏิบัติการ

อัตราว่าง :  อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ม.ต้น


เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 10840-12650 บาท

คุณวุฒิ : อื่นๆ


เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 10840-12650 บาท

คุณวุฒิ : อื่นๆ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

เภสัชกรปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม


พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง


นักรังสีการแพทย์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางรังสีเทคนิค และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค


นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคนิคการแพทย์ หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาขีพ เทคนิคการแพทย์ของสภาเทคนิคการแพทย์


นักจิตวิทยาคลินิกปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางจิตวิทยาคลินิก และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก


เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานเภสัชกรรม ชี่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๒ ปี ต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาวิชาสามัญ หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงเทคนิคเภสัชกรรม


เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรทางทันตกรรม ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๒ ปี ต่อจาก มัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาวิชาสามัญ หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทันตสาธารณสุข

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

เภสัชกรปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติการ
(๑) บริการทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุขเบื้องต้น เพื่อบรรลุผลการรักษา ป้องกัน ควบคุมโรค และประชาชนเกิดความปลอดภัยในการใช้ยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
(๒) คุ้มครองผู้บริโภค ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น ด้านยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการ ได้มาตรฐานเป็นธรรม และปลอดภัย
(๓) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย กำหนดแนวทาง ติดตาม ประเมินผลทางวิชาการ เบื้องต้น เพื่อพัฒนางานเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค
(๔) จัดทำ พัฒนามาตรฐาน แนวทาง คู่มือเบื้องต้นทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ของงาน
๓.๒ ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓.๓ ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๓.๔ ด้านการบริการ
(๑) ให้ความแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจง เกี่ยวกับงานเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครอง ผู้บริโภคในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย ญาติ หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้สนใจได้รับ ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูล ให้บริการข้อมูลเบื้องต้นทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครอง ผู้บริโภค เพื่อให้สอดคล้อง สนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดแผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ
(๓) สอน นิเทศ ‘ผิกอบรม ก่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภคแก่นักศึกษา บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้มีความรู้ความเช้าใจ สามารถปฏิบัติงานได้อย่าง ถูกต้อง


พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านพยาบาลวิชาชีพ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานวิชาชีพในการให้การพยาบาลแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้ได้รับการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย
(๒) คัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ปัญหา วินิจฉัยปัญหา ภาวะเสี่ยง เพื่อให้การช่วยเหลือทางนิติวิทยาศาสตร์ การพยาบาล ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทันสถานการณ์และทันเวลา
(๓) บันทึก รวบรวม ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านการพยาบาลเบื้องต้น เพื่อพัฒนาการ ดูแลผู้ป่วย ให้เกิดความปลอดภัย สุขสบาย และมีประสิทธิภาพ
(๔) ส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา ฟินฟูสุขภาพประชาชน หรือการบริการอื่นๆ ทางด้าน สุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
๓.๒ ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ๋ที่กำหนด
๓.๓ ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๓.๔ ด้านการบริการ
(๑) สอน แนะนำ ให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ผูใช้บริการและครอบครัว ชุมชน เกี่ยวกับ การส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา พื่นฟูสภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้
(๒) ให้บริการข้อมูลทางวิชาการ จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการพยาบาล เพื่อให้ ประชาชนได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ สอดคล้องและสนับสบุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ


นักรังสีการแพทย์ปฏิบัติการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน

ฝากประชาสัมพันธ์

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาชีพรังสีการแพทย์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานด้านรังสีการแพทย์ขั้นพื้นฐานในการตรวจวินิจฉัย หรือการรักษาทาง รังสีวิทยา และตรวจสอบคุณภาพของงานตามมาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิค เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการตรวจ รักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม
(๒) ช่วยปฏิบัติงาน จัดระบบบริหารงานด้านเทคนิคและเครื่องมือด้านใดด้านหนึ่งทาง รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตามบทบาทรังสีเทคนิค เพื่อพัฒนางานด้านรังสีการแพทย์ และสาธารณสุข
(๓) ช่วยปฏิบัติงาน ปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัย และการรักษาทางด้านใด ด้านหนึ่งทางรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนางานด้านรังสี การแพทย์ไห้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับผู้รับบริการ
(๔) ดำเนินการด้านเทคนิคในการป้องกันอันตรายจากรังสี และการกำจัดกากกัมมันตรังสี เพื่อให้ผู้รับบริการมีความปลอดภัยจากรังสี
(๕) ร่วมศึกษาวิเคราะห์ดำเนินการจัดทำอุปกรณ์ร่วมประกอบการถ่ายภาพ และฉายรังสี ในงานด้านใดด้านหนึ่งทางรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน พัฒนางานด้านรังสีการแพทย์และสาธารณสุข
๓.๒ ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด
๓.๓ ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ๋ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก’บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๓.๔ ด้านการบริการ
(๑) ให้ข้อมูลเชิงวิชาการเบื้องต้น แก่ผู้ป่วย และผู้สนใจ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กับการใช้ และการป้องกันอันตรายจากรังสี เพื่อความปลอดภัยแก่ตัวผู้ป่วยเอง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
(๒) จัดเก็บข้อมูลและให้บริการข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการบริการทางรังสีการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย
(๓) ส่งเสริม หรือประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทางรังสีการแพทย์นำมาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิค ไปใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางรังสีการแพทย์อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเกิด ความปลอดภัยสูงสุดต่อชีวิตของผู้รับบริการ


นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านเทคนิคการแพทย์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการขั้นพื้นฐาน ควบคุมระบบคุณภาพ ตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ เพื่อให้ผู้ได้รับบริการได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และ ทันเวลา
(๒) รวบรวมข้อมูลทางวิชาการเบื้องต้นด้านเทคนิคการแพทย์ที่ไม่ยุ่งยากซับช้อนเพื่อ ประกอบการวางแผนการจัดทำรายงานทางวิชาการ เพื่อพัฒนางานด้านเทคนิคการแพทย์และสาธารณสุข
(๓) ติดตาม ประเมินผล สรุปผลการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้านเทคนิคการแพทย์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงานโครางการที่รับผิดชอบ
(๔) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย สำรวจข้อมูลทางวิชาการเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน เพื่อใช้เป็น ข้อมูลในการวางแผนพัฒนางานด้านเทคนิคการแพทย์และสาธารณสุข
๓.๒ ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓.๓ ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

๓.๔ ด้านการบริการ
(๑) เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงานการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้แก่ผู้ใช้บริการ ผู้ป่วย ญาติ ประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีความเช้าใจในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
(๒) สอน แนะนำ การปฏิบัติงาน แกบุคลากรด้านสาธารณสุขและนักศึกษา เพื่อให้ มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานทางห้องปฏิบัติการและแก่ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) ให้บริการข้อมูล แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ เพื่อให้ ได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ สอดคล้องและสนับสบุนภารกิจของหน่วยงาน


นักจิตวิทยาคลินิกปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ประเมิน วิเคราะห์ ตรวจวินิจฉัย ด้วยเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาคลินิกตาม มาตรฐานวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อค้นหา อธิบาย ทำนายแนวโน้มความผิดปกติทางจิต พยาธิสภาพทางสมอง พฤติกรรม อารมณ์ ความคิด พัฒนาการ ศักยภาพ บุคลิกภาพ เชาวน์ปัญญา กลไกที่มา หรือสาเหตุชองปัญหาสุขภาพจิตและสารเสพติด ความผิดปกติทางจิตใจ การกระทำผิดกฎหมาย หรือกรณีที่ เกี่ยวข้องกับทางกฎหมาย การเจ็บป่วยทางจิตเวชในระดับที่ไม่ซับช้อน
(๒) ให้การปรึกษา จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด การบำบัดทางจิตวิทยา การฟินฟูสมรรถภาพ ทางจิตใจ สังคม อารมณ์ สติปัญญา ตามมาตรฐานวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก ในระดับที่ไม่ซับซ้อน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย เข้าใจ ยอมรับปัญหาของตนเอง ปรับเปลี่ยน อารมณ์ ความคิด พฤติกรรม วิธีการปรับตัว หรือแก้ปัญหา บุคลิกภาพ ที่บกพร่องให้เหมาะสม และใช้ศักยภาพของตนเองได้
(๓) ส่งเสริม ป้องกัน เฝืาระวัง แก้ไขปัญหาพฤติกรรม สุขภาพจิตหรือสมรรถภาพทาง จิตใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยการวิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการ ด้วยเครื่องมือและกระบวนการทางจิตวิทยา คลินิก เพื่อพัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิตได้เหมาะสมยิงขั้น ป้องกันการกลับมาป่วยชํ้า หรือกระทำผิดซํ้า
(๔) รวบรวม ศึกษา ข้อมูลงานวิจัย ด้านจิตวิทยาคลินิก และวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ หรือนวัตกรรมด้านจิตวิทยาคลินิก
(๕) สรุปสถิติ รายงานผลการปฏิบัติงาน ทางจิตวิทยาคลินิก เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อ ประกอบการวางแผน พัฒนาการปฏิบัติงาน

๓.๒ ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี๋ที่กำหนด
๓.๓ ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้
เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๓.๔ ด้านการบริการ
(๑) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ความรู้วิชาการจิตวิทยาคลินิก วิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ มีความเข้าใจ ปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
(๒) ถ่ายทอด ฟิกอบรมองค์ความรู้เทคโนโลยีด้านจิตวิทยาคลินิกจัดทำแผนการฟิก อบรม เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ ของนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป


เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใข้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรม ตามแนวทาง แบบอย่าง ชั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ให้บริการในงานเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภคชั้นพื้นฐาน แก่ผู้ใช้บริการภายใต้การควบคุมกำกับของเภสัชกร เพื่อการบริการอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน
(๒) ดูแล บำรุงรักษา เครื่องมืออุปกรณ์ เพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และเป็นไป ตามมาตรฐาน
(๓) บันทึก จัดเก็บ รวบรวมข้อมูลทางเภสัชกรรม เภสัชสาธารณสุข การคุ้มครอง ผู้บริโภค เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง นำเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
๓.๒ ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ข้อมูลและให้บริการทางวิชาการในเรื่องที่ไม่ซับช้อน เพื่อส่งเสริม ความรู้ ความเข้าใจของผู้1ช้บริการ
(๒) ประสานงานกับบุคลภายในหน่วยงานเดียวกันเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ


เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านทันตสาธารณสุข ตามแนวทาง แบบอย่าง ชั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๓.๑ ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ให้บริการทันตกรรม ทันตสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากที่ดี
(๒) จัดเตรียม ดูแล บำรุงรักษา เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และเป็นไปตามมาตรฐาน
(๓) เก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอเจ้าหน้าที่ระดับสูงขึ้นไป
๓.๒ ด้านการบริการ
(๑) ให้ความรู้ คำแนะนำ ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน ประชาชน เพื่อให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นได้
(๒) ประสานงานการทำงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กระทรวงสาธารณสุข  :ตนเอง  

ผู้ประสงค์จะสมัครขอทราบรายละเอียดรับใบสมัครและยื่นใบสมัครด้วยตนเอง ได้ที่กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล 

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2565 – 25 เมษายน 2565 (ในวันและเวลาราชการ)

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กระทรวงสาธารณสุข

แผนที่ file 1

Facebook Comments