กระทรวงพลังงาน

ลิงค์: https://ehenx.com/16917/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ,นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ,นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 13
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 31 พ.ค. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กระทรวงพลังงาน เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ
ในสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

ด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 5 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

 ๑. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี หรือ สาขาวิชา บริหารธุรกิจ (ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด) และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า


นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา (ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐาน กำหนดตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด) และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป 


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา (ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐาน กำหนดตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด) และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป 


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

 ๑. ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชา บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ (ทั่งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที ก.พ. กำหนด) และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร (ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที ก.พ. กำหนด) และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูงขึ้นไป 


นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในสาขาวิชาก่อสร้าง สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือ สาขาวิชาสำรวจ (ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด) และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูงขึ้นไป 

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ที่ต้องใข้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงาน ด้านตรวจสอบภายใน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบของผู้บังคับบัญชา และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (ปฏิบัติงานในส่วนกลาง)
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตัวเลข หลักฐานการทำสัญญา และเอกสารต่าง ๆ ทางด้านการเงิน การบัญชี เพื่อให้การตรวจสอบดำเนินไปอย่างถูกต้องและได้ผลตรงกับหลักฐาน ที่เกิดขึ้นจริง
(๒) ตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การเงิน พัสดุและทรัพย์สินรวมทั้งการ บริหารด้านอื่น ๆ ของส่วนราชการ เพื่อดูแลให้การใช้งบประมาณและทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพสูง และตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
(๓) จัดทำรายงานการตรวจสอบรายเดือน เพื่อเสนอข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะให้ผู้บังคับบัญชาหรือ หน่วยงานต้นสังกัดรับทราบผลการดำเนินงาน
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้ การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมถุทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงาน หรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมถุทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง ความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ฟิกอบรม ให้คำปรึกษา เสนอแนะวิธีการปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจและเจ้าหน้าที่ ระดับรองลงมา และตอบข้อซักถามและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ พร้อมทั้งช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งใน หน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(๒) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจง เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับ เนี้องด้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็น ประโยชน์
 


นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลหรือพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ ของผู้บังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงาน ในภาพรวมมีความถูกต้อง ครบด้วน และตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่าง มีประสิทธิภาพ (ปฏิบัติงานในส่วนกลาง)
หนัาที่ความรับผิดชอบหลัก
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการวางระบบ การจัดทำ มาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ หรือของส่วนราชการ
(๒) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการ บริหารทรัพยากรบุคคล
(๓) ศึกษา รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการและความจำเป็น ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนทางกัาวหน้าในอาชีพ การจัดหลักสูตรและการถ่ายทอดความรู้ การจัดสรรทุนการศึกษา และการดูแลนักเรียนทุนและบุคลากรภาครัฐในต่างประเทศ รวมถึงการวางแผนและ เสนอแนะนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการและแผนการจัดสรรทุนการศึกษาและ การ‘ผิกอบรม
(๔) ศึกษา รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่งและวางแผนอัตรากำลัง ของส่วนราชการ
(๕) ศึกษา รวบรวม และวิเคราห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์การบริหารผลการปฏิบัติงาน และการบริหารค่าตอบแทน
(๖) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบข้อมูล ด้อยคำ ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการดำเนินการทางวินัย การรักษาวินัยและจรรยา
(๗) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบพิทักษ์คุณธรรม
(๘) ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและเลือกสรร เพื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถ ให้ดำรงตำแหน่ง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้ ดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานทีเกี่ยวข้องเพื่อสร้าง ความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจและ สนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
(๒) ให้บริการข้อมูล เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนภารกิจของบุคคล หรือหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และมาตรการต่างๆ
(๓) ดำเนินการจัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน 


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงาน ด้านการบริหารจัดการภายในสำนักงานหรือบริหารงานทั่วไป ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบของผู้บังคับบัญชา เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (ปฏิบัติงานในส่วนกลาง)
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ประสานงาน จัดเตรียม และจัดทำเอกสาร และข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการประชุม การบรรยาย และการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้มีเอกสารและข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน
(๒) รับ- ส่ง ลงทะเบียน บันทึก คัดแยกประเภท และจัดส่งหนังสือ และเอกสารของราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดส่งให้บุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
(๓) จัดเตรียม จัดพิมพ์จดหมาย หนังสือ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และร่างหนังสือโต้ตอบกับ หน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยสะดวกราบรื่นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
(๔) จัดเก็บ และรักษาข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐาน หนังสือราชการ ระเบียบ และคำสั่งต่าง ๆ ตามที่ ได้รับมอบหมาย เพื่อให้มีข้อมูลที่สะดวกต่อการด้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
(๕) บันทึก ปรับปรุงข้อมูล จัดทำทะเบียนคุมวัสดุ ครุภัณฑ์ ของหน่วยงาน เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องและ เป็นปัจจุบัน
(๖) จัดประชุมและอำนวยความสะดวกต่างๆ ระหว่างประชุมของผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานปลัด กระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน เพื่อให้การประชุมเป็นด้วยความสะดวก เรียบรัอย และประสบความสำเร็จ
(๗) จัดเตรียมและดำเนินงานรับรอง งานรัฐพิธี งานพิธีการ และกิจกรรมสำคัญต่างๆ ของสำนักงานปลัด กระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน เพื่อให้งานรับรอง งานรัฐพิธี งานพิธีการ และกิจกรรมสำคัญต่างๆ เป็นไปอย่าง ราบรื่น สะดวก และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
(๘) บันทึก ปรับปรุงข้อมูลทางการเงิน การบัญชี และการงบประมาณ เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ตามมาตรฐานที่กำหนด
(๙) ปฏิบัติงานและสนับสนุนงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อสนับสนุนให้ภาพรวมบรรลุภารกิจ ที่กำหนดไว้
 ๒. ด้านการวางแผน
(๑) ร่วมดำเนินการวางแผนและติดตามในโครงการพิเศษต่าง ๆ เพื่อให้เกิดแผนงานที่นำไปใช้ ประกอบการดำเนินงานให้ได้เป้าหมายที่กำหนดไว้
(๒) ร่วมจัดทำและติดตามแผนปฏิบัติงานประจำปี แผนงบประมาณรายรับ/รายจ่ายประจำปี แผนพัฒนาบุคลากร เพื่อนำเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาประกอบการบริหารงานในส่วนงานที่รับผิดชอบ
๓. ด้านการประสานงาน
(ต) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ประสานงานกับองค์กรภายในและภายนอกสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรม โครงการหรือข้อมูลต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือกับผู้มีล่วนเกี่ยวข้อง
๔. ด้านการบริการ
(ต) ร่วมเก็บข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เพื่อประโยชน์ ในการใช้งานของหน่วยงานอื่น ๆ
(๒) ให้คำปรึกษา คำแนะนำในเบื้องต้น แก่ผู้มาติดต่อกับหน่วยงาน เพื่อให้ข้อเท็จจริง ข้อมูลความรู้ ที่ถูกต้อง และบริการให้กับผู้มาติดต่อได้รับความพึงพอใจ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน

ฝากประชาสัมพันธ์

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงาน ด้านวิชาการพัสดุ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (ปฏิบัติงานในส่วนกลาง)
หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุเพื่อกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
(๒) ตรวจสอบและดูแลการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
(๓) จัดทำรายละเอียดบัญชีหรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เพื่อให้สามารถ ตรวจสอบวัสดุต่างๆ ได้โดยสะดวก.
(๔) ซ่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครอง เพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
(๕) จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นในการใช้งานทางราชการอีกต่อไป เพื่อให้พัสดุ เกิดประโยชน์ให้แก,ทางราชการได้มากที่สุด
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานวางโครงการ กำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฟิกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ลูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน และข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้ การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ หรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่ หน่วยงาน ราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบายแผนงาน หลักเกณฑ์มาตรการต่างๆ 


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใซัผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงาน ด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้ การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (ปฏิบัติงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค)
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมาย ที่กำหนด
(๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอ ความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
๒. ด้านบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แกเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงาน ราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือ และความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ของหน่วยงาน 


นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม,จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงาน ด้านช่างเทคนิค ตามแนวทางแบบอย่างขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย (ปฏิบัติงานส่วนภูมิภาค)
หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(ด) ดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมและบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่นๆ ในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและพร้อมในการใช้งาน
(๒) ซ่อม สร้างผลิต ประกอบ คัดแปลง เขียนหรือออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการทดลองใช้เครื่องจักร เครื่องกล และสิ่งก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตาม หลักวิชาและมาตรฐานงานช่างและ ให้เกิดความปลอดภัย
๒. ด้านบริการ
(ด) ให้คำปรึกษาแนะนำจัดทำข้อมูลถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไปให้แก, บุคลากรภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานราชการเอกชน และประชาชน เพื่อใพ้มี ความรู้ ความสามารถ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๒) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
 

วิชาที่สอบ

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

จะดำเนินการทดสอบความรู้ความสามารถ และความเช้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบภายใน ปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๓ วินัยการเงินการคลัง และ หมวด ๔ การบัญชี การรายงาน และการตรวจสอบ
๒) พระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๓) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๔) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฟิกอบรม การจัดงานและการประชุม ระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๕) หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายใน สำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม


นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

จะดำเนินการทดสอบความรู้ความสามารถ และความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
๒) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๓) ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
๔) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านการบริหารงานบุคคลและการพัฒนาบุคคล
๕) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

จะดำเนินการทดสอบความรู้ความสามารถ และความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์
ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
ต) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๒) ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔
๓) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๔) ความรู้ ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการสำนักงานและงานเลขานุการ
๕) ความรู้ ความเข้าใจด้านงานรับรอง งานรัฐพิธี งานพิธีการ และกิจกรรมสำคัญต่างๆ


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

จะดำเนินการทดสอบความรู้ความสามารถ และความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้.
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕0 คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
๑) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
หมวด ๓ วินัยการเงินการคลัง
๓) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐
๔) ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารการเงินและการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
๕) ความรู้เกี่ยวกับระบบจัดชื้อจัดจ้างภาครัฐ


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

จะดำเนินการทดสอบความรู้ความสามารถ และความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
ปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหนัาที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์
ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังชองรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ หมวด ๓ วินัยการเงินการคลัง และ หมวด ๔ การบัญชี การรายงาน และการตรวจสอบ
๒) ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินล่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แกิไขเพิ่มเดิม
๓) ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารการเงินและการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
๔) ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
๕) ความรู้เนี้องต้นเกี่ยวกับระบบบัญชี และการบัญชีภาครัฐ


นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

จะดำเนินการทดสอบความรู้ความสามารถ และความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
ส่วนที ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์
ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
สู่,วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
๑) ความรู้พื้นฐานด้านงานช่าง งานออกแบบ เขียนแบบ ACAD และการประมาณการด้าน
วิศวกรรมต่าง ๆ ตามแบบ ปร.๔ ปร.๕
๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านพลังงาน ดังนี้
–    พระราชบัญญัติควบคุมนํ้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเดิม
–    พระราชบัญญัติการค้านํ้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ และฉบับที่แก้ไชเพิ่มเดิม
๓) ความรู้เบื้องต้นด้านพลังงาน การพัฒนาพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กระทรวงพลังงาน  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 31 พ.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กระทรวงพลังงาน

แผนที่ file 1 | file 2 | เว็บรับสมัคร

Facebook Comments