สำนักงานประกันสังคม

ลิงค์: https://ehenx.com/17158/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวช.,ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 10,840-16,500
อัตราว่าง: 30
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 27 มิ.ย. – 5 ก.ค. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



สำนักงานประกันสังคม เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานประกันสังคม

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ และเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ด้วยสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ และเจ้าพนักงานการเงิน และบัญชีปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 5 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 15 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 10 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 10840-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวช.,ปวส.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ

๑) ได้รับปริญญาตรีในทุกสาขาวิชา
๒) เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของสำนักงาน ก.พ.


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

๑) ได้รับปริญญาตรีในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ๒) เป็นผู้,สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของสำนักงาน ก.พ.


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

๑) ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรืออนุปริญญาหลักสูตร ๒ ปี ในทุกสาขาวิชา
๒) ได้รับประกาศนิยบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ในทุกสาขาวิชา
๓) เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค/ หรือระดับอนุปริญญา หรือระดับประกาศบียบัตรวิชาชีพขั้นสูงขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับตัน ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการแรงงานและด้านการประกันสังคม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑) ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ร่วมศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน สถานการณ์ ด้านแรงงาน และด้านการประกันสังคม เพื่อประกอบการจัดทำแผนและโครงการต่าง ๆ อันเป็นแนวทาง การปฏิบัติงานด้านแรงงานและด้านการประกันสังคม
(๒) ตรวจแรงงาน พิจารณาวินิจฉัยคำร้อง ระงับข้อขัดแย้ง ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อให้ เป็นไปตามกฎหมายด้านแรงงานและด้านการประกันสังคม
(๓) ควบคุมตรวจสอบและปฏิบัติงานด้านการจัดหางานและการทำงานของคนต่างด้าว เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
(๔) ปฏิบัติการเกี่ยวกับด้านการประกันสังคม เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และ แรงงานและผู้ประกันตนมีหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต
(๕) ส่งเสริมการจ้างงาน การมีงานทำ หลักประกันการทำงาน สวัสดิการแรงงาน และพัฒนาศักยภาพด้านแรงงาน และด้านการประกันสังคม เพื่อให้แรงงานมีงานทำและมีหลักประกัน การดำรงชีวิตที่มั่นคง
๒) ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
๓) ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ๋ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก,บุคคลหรือหน่วยงาน ทีเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔) ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ปรึกษาในเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ หน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับ การดำเนินงานด้านแรงงานและด้านการประกันสังคม เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางและขั้นตอน การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามทีกฎหมายกำหนด
(๒) สำรวจและจัดเก็บข้อมูล ปรับปรุงหรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศเกี่ยวกับ การบริหารงานต้านแรงงาน เพื่อประมวล วิเคราะห์ และการนำเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ หลักเกณฑ์วิธีการ ในการบริหารงานด้านแรงงานและด้านการประกันสังคม
(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำเอกสาร ตำรา คู,มือ ลื่อ เอกสารเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และการทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานด้านแรงงานและ ด้านการประกันสังคม
(๔) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับตัน ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ต) ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำบัญชี เอกสาร รายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอก งบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบ วิธีการ บัญชีของส่วนราชการ
(๒) รวบรวมข้อมูลและรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูล ให้ถูกต้องและทันสมัย
(๓) จัดทำและสรรหางบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ ตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(๔) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใซัจ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ การใข้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(๔) ดูแลการรับจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ – จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ – จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและผีเกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการผีเกอบรม และวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒) ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดขอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานชองหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมถุทธี้ที่กำหนด
๓) ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้ เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔) ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตน มีความรับผิดชอบในระดับเนี้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้รับทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องตัน ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบงาน สารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และ ใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
(๓) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที,ได้รับมอบหมาย ■

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน

ฝากประชาสัมพันธ์

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับตันซึ่งไม,จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ซัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑) ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไป ตามเป้าหมายที่กำหนด
(๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณ ประจำปีของหน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ในการปฏิบัติงาน
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ของหน่วยงาน
๒) ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับ รองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน

วิชาที่สอบ

นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ โดยวิธีการ สอบข้อเขียนแบบปรนัย คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน ใช้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง ซึ่งมีเนื้อหาที่สอบ ดังนี้
๑) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทภารกิจ ของสำนักงานประกันสังคมและกระทรวงแรงงาน
๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหลักของสำนักงานประกันสังคม ได้แก่ พระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และที่แก่ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
๔) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๕) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๖) ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนงานและการติดตามประเมินผล การวิเคราะห์และ วางแผนงาน การประสานงาน และการจัดการองค์กร
๗) ความรู้ทั่วไปด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี รวมถึงนโยบายของรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานประกันสังคมและกระทรวงแรงงาน


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน ใช้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง ซึ่งมีเนื้อหาที่สอบ ดังนี้
๑) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทภารกิจ ของสำนักงานประกันสังคมและกระทรวงแรงงาน
๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหลักของสำนักงานประกันสังคม ได้แก่ พระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๕) ความรู้เกี่ยวกับงานการเงินและการบัญชี
–    ความรู้เกี่ยวกับการบัญชีเบื้องต้น
–    ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
–    ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินการคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บ
รักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒
–    พระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบ กระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดชื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
–    พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
–    พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ และระเบียบว่าด้วยการบริหาร งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
๖    ) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน
๗) ความรู้ทั่วไปด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี รวมถ็งนโยบายของรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานประกันสังคมและกระทรวงแรงงาน


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน ใช้เวลาสอบ ๓ ชั่วโมง ซึ่งมีเนื้อหาที่สอบ ดังนื้
๑) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทภารกิจ ของสำนักงานประกันสังคมและกระทรวงแรงงาน
๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหลักของสำนักงานประกันสังคม ได้แก่ พระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
๕) ความรู้เกี่ยวกับงานการเงินและการบัญชี
–    ความรู้เกี่ยวกับการบัญชีเบื้องต้น
–    ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
–    ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินการคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บ รักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒
–    พระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบ กระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดชื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
–    พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
–    พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ และระเบียบว่าด้วยการบริหาร งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
๖    ) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน
๗    ) ความรู้ทั่วไปด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี รวมถึงนโยบายของรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานประกันสังคมและกระทรวงแรงงาน

วิธีการสมัครงานข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. – 5 ก.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”สำนักงานประกันสังคม

แผนที่ file 1

Facebook Comments