“กระทรวงการต่างประเทศ “
ลิงค์: https://ehenx.com/17260/ หรือ
ตำแหน่ง: นักการทูต
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,000-19,250
อัตราว่าง: 50
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 21 ก.ค. – 25 ส.ค. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กระทรวงการต่างประเทศ เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ ประจำปี ๒๕๖๕
ด้วยกระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดย การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔.๒/๑๙๗ ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๗ เรื่อง การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ หนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘.๓.๒/๒๒๗ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง การปรับปรุงมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง สายงานการทูต ตำแหน่งนักการทูต ระดับปฏิบัติการ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔.๒/๒๔๑ ลงวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๑ เรื่อง การอนุมัติปรับปรุงหลักสูตรการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักการทูต
อัตราว่าง : 50 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-19250 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักการทูต
1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา ที่ ก.พ. รับรอง หรือ
2. ได้รับปริญญาโท หรือคุณวุฒิอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา ที่ ก.พ. รับรอง
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักการทูต
๓.๑ ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานต้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งรวมถึงการติดตามและรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านการทูตและต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์ และใช้ประกอบการกำหนดและดำเนินนโยบายชองรัฐบาล ในด้านการทูตและต่างประเทศ จัดทำข้อมูลภูมิหลัง ประเด็นการหารือ ประเด็นการประชุม จดบันทึกการสนทนา การประชุม และประสานงานสำหรับการเยือน การประชุมระหว่างประเทศ ปฏิบัติงานด้านกงสุล เข่น งานด้านสัญชาติและนิติกรณ์ และการช่วยเหลือคุ้มครอง คนไทยในต่างประเทศ เป็นด้น งานด้านพิธีการทูต เช่น การอำนวยความสะดวกด้านเอกสิทธึ๋และความคุ้มกันทาง การทูตแก่คณะทูตานุทูต กงสุลในประเทศไทย และงานเกี่ยวกับระเบียบพิธีการทูต เป็นต้น รวมทั้งงานด้านสารนิเทศ เช่น การเผยแพร่ข่าวสารเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยแก่การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งติดตาม ข่าวสารที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ประเทศไทย และงานการทูตเพื่อวัฒนธรรม การทูตเพื่อประชาชน เป็นต้น
๓.๒ ความรู้ ทักษะและสมรรถนะที่ผู้สมัครสอบควรมี
ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในมิติต่างๆ ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ในประเทศไทยและในโลก มีความรอบคอบ รอบรู้ มีความตื่นตัวสนใจที่จะแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา มีความสามารถ ในการลื่อสาร เจรจาโน้มน้าว สามารถปรับตัวได้ดี มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์ มีมารยาท ในการเข้าสังคม ช่างสังเกต มีความสามารถในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุและผล มีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และหากมีความรู้ภาษาต่างประเทศอื่นด้วยก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
วิชาที่สอบ
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
นักการทูต
หลักสูตรการสอบแข่งขันและวิธีการสอบจะใช้กับผู้สมัครสอบในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ กระทรวงการต่างประเทศจะใช้ข้อสอบในการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปและการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งชุดเดียวกันสำหรับผู้สมัครสอบในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการ และเกณฑ์การตรวจ ให้คะแนนของข้อสอบจะใช้มาตรฐานเดียวกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๗.® การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) เป็นการสอบข้อเขียน แบ่งเป็น ๒ วิชา คือ
(๑) วิชาความรู้ความสามารถทั่วไบ่ (๑๐๐ คะแนน) เป็นข้อสอบภาษาไทยเพื่อทดสอบ ความรู้ความสามารถทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม กฎหมาย ฯลฯ ทั้งของประเทศไทย และของโลก
(๒) วิชาการใช้ภาษาอังกฤษ (๑๐๐ คะแนน) เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษเพื่อทดสอบ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ (English Proficiency)
๗.๒ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถหี่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) เป็นการสอบข้อเขียน แบ่งเป็น ๒ วิชา คือ
(๑) วิชาความรู้ภาษาต่างบ่ระเทศ (๑๒๐ คะแนน) ประกอบด้วย
(ก) เรียงความเป็นภาษาต่างประเทศ (๔๕ คะแนน) โดยผู้สมัครสอบสามารถเลือกตอบ เป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น อารบิก เวียดนาม เขมร พม่า หรือบาฮาซา (อินโดนีเซีย)
(ข) ย่อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ (๔๐ คะแนน)
(ค) แปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ (๒๐ คะแนน)
(ง) แปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (๑๕ คะแนน)
(๒) วิชาความรู้สำหรับนักการทูต (๘๐ คะแนน) ประกอบด้วย
(ก) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (๓๐ คะแนน)
(ข) องค์การระหว่างประเทศ (๒๕ คะแนน)
(ค) เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (๒๕ คะแนน)
(ง) กฎหมายระหว่างประเทศ (๒๕ คะแนน)
โดยในส่วน (๒) บังคับทำตอบในข้อ (ก) และเลือกทำตอบอีก ๒ ข้อ ในข้อ (ข) (ค) หรือ (ง) ซึ่งผู้สมัครสอบสามารถเลือกตอบเป็นภาษาไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน รัสเขีย จีน ญี่ปุ่น อารบิก เวียดนาม เขมร พม่า หรือบาฮาซา (อินโดนีเซีย)
ทั้งนี้ สำหรับภาษาต่างประเทศอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ กระทรวงการต่างประเทศ จะดำเนินการให้ผู้เชี่ยวชาญภาษานั้น ๆ แปลคำตอบเป็นภาษาไทย เพื่อให้กรรมการผู้ออกข้อสอบเป็นผู้ตรวจคำตอบต่อไป
๗.๓ การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)
แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
ส่วนที่ ๑ (๑๐๐ คะแนน)
– เป็นการสอบสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล เพื่อทดสอบพื้นฐานความรู้สำหรับการทำงาน ในกระทรวงการต่างประเทศ และความเหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ โดยประเมิน ความเหมาะสมจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และประสบการณ์ เป็นต้น
ส่วนที่ ๒ (๑๐๐ คะแนน)
– เป็นการประเมินความเหมาะสมจากการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมกลุ่ม การหารือกลุ่ม (Group Discussion) การพูดในที่สาธารณะ (Public Speaking) หรือการสร้างสถานการณ์จำลอง ในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ รูปแบบการทำกิจกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งจะต้องเข้ารับการประเมิน ด้วยกิจกรรม Assessment Center Method (ACM) ของกระทรวงการต่างประเทศ จากนั้นจึงเข้ารับการประเมิน เพื่อความเหมาะสมกับตำแหน่งต่อไป
กระทรวงการต่างประเทศจะสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปก่อน เมื่อสอบผ่านการวัด ความรู้ความสามารถทั่วไปแล้ว จึงจะมีสิทธิเช้าสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง และเมื่อสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งแล้ว จึงจะมีสิทธิเช้าสอบแข่งขันเพื่อวัด ความเหมาะสมกับตำแหน่งต่อไป
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กระทรวงการต่างประเทศ :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค. – 25 ส.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กระทรวงการต่างประเทศ
แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร