“สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ“
ลิงค์: https://ehenx.com/13112/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ,นักวิชาการคดีรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ,เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ,นิติกรปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,000-16,500
อัตราว่าง: 9
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 22 มี.ค. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งดั้งบุคคลเฃ้ารับราชการ เป็นข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งดั้งบุคคลเข้ารับ ราชการเป็นข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ (๒) แห่งพระราชบัญญัติ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๖๕๔๒ ข้อ ๘ ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๗ และมติองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.) ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๖๐ มกราคม ๒๕๖๔ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งดั้งบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการคดีรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 4 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นิติกรปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาอักษรศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ ภาษาศาสตร์ในสาขาวิชาเอกทางภาษาต่างประเทศ และในวันที่มีการสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ผู้สมัครสอบต้องยื่นหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ต่อคณะกรรมการสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ก่อนจึงจะมีสิทธิเข้ารับการสัมภาษณ์
นักวิชาการคดีรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่น ที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์ และในวันที่มีการสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ผู้สมัครสอบต้องยื่นหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ต่อคณะกรรมการสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ก่อนจึงจะมีสิทธิเข้ารับการสัมภาษณ์
เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีทางการบริหารหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบริหาร และในวันที่มีการสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ผู้สมัครสอบต้องยื่นหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ต่อคณะกรรมการสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ก่อนจึงจะมีสิทธิเข้ารับการสัมภาษณ์
นิติกรปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์ และในวันที่มีการสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ผู้สมัครสอบต้องยื่นหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ต่อคณะกรรมการสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ก่อนจึงจะมีสิทธิเข้ารับการสัมภาษณ์
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงานด้านศาลรัฐธรรมนูญภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานศาลรัฐธรรมนูญ ในการศึกษา ค้นคว้า ข้อมูล เอกสารทางวิชาการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างและอำนวยความสะดวกให้กับคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และเงื่อนไขที่กำหนด
(2) ปฏิบัติงานด้านวิชาการศาลรัฐธรรมนูญ การพัฒนาการศึกษาวิจัย การทำความเห็นสรุปรายงานเสนอแนะ การจัดการฝึกอบรมและประชุมสัมมนาด้านงานวิชาการศาลรัฐธรรมนูญและประเมินผลบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากร และระบบงานของศาลรัฐธรรมนูญให้เกิดประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์และนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
(3) รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวกับงานวิชาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้ประกอบการดำเนินงานทางการบริหารจัดการงานศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(4) ศึกษา วิเคราะห์ในการจัดทำงานวิจัย และโครงการต่างๆ ที่เผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การบริหารราชการของศาลรัฐธรรมนูญเกิดประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อนโยบายของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและความต้องการของประชาชน
(5) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และติดตามประเมินผล จัดทำบันทึกสรุปสำนวน สรุปรายงานการประชุม พร้อมจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการเจรจาความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ
1.2 ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
1.3 ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
1.4 ด้านการบริการ
(1) เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงานวิชาการของศาลรัฐธรรมนูญทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและถูกต้อง พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและชี้แจงตอบปัญหาให้กับผู้ที่มาติดต่อทางในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้เกิดความเข้าใจและถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย
(2) ดำเนินการจัดทำเอกสาร ตำรา คู่มือ สื่อ เอกสารเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
(3) รวบรวม จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยจัดทำเป็นสถิติ รายงานหรือฐานข้อมูลเกี่ยวกับงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้สนับสนุนภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญและเป็นประโยชน์ในการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์หรือมาตรการต่างๆ
(4) ให้คำปรึกษาแนะนำ ชี้แจง ตอบข้อซักถาม ประสานส่งต่อ และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงานศาลรัฐธรรมนูญ และทางกฎหมาย เพื่อให้การดำเนินการในการอำนวยความยุติธรรมและกระบวนการยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
นักวิชาการคดีรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานศาลรัฐธรรมนูญ และการจัดเก็บและประมวลข้อมูลกฎหมายและวิชาการ ประเด็นปัญหารัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รับ และตรวจสอบคำร้องเรื่องที่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ศึกษาวิจัยเรื่องเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ โดยต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ในงานที่ปฏิบัติมาเพื่อกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ โดยไม่ต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ แนะนำหรืออาจได้รับมอบอำนาจเต็มที่ มีอิสระในการทำงาน โดยจะมีการกลั่นกรองบางเรื่องที่สำคัญและปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติหน้าที่ในการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลกฎหมาย และจัดเก็บประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจรับคำร้องเรื่องที่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ
(2) วิเคราะห์ข้อกฎหมายและงานวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และเผยแพร่คำย่อคำวินิจฉัยคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(3) รับและตรวจคำร้องเรื่องที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา จัดทำบันทึกสำนวนเสนอคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา จัดทำรายงานการพิจารณาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(4) ติดต่อประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาวิจัยเรื่องเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ ดำเนินการเผยแพร่เรื่องรัฐธรรมนูญและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2 ด้านการวางแผน
วางแผนปฏิบัติงานด้านการดำเนินคดีตามกฎหมายที่รับผิดชอบ เพื่อวางแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายที่หน่วยงานกำหนดไว้
1.3 ด้านการประสานงาน
(1) ประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานทางกฎหมายและคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ
(2) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในด้านการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
1.4 ด้านการบริการ
จัดเตรียมเอกสารและข้อมูลประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบเพื่อเสนอให้ศาลพิจารณา
เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานบริหารทั่วไป งานคลังและพัสดุ งานนโยบายและแผน งานเทคโนโลยีสารสนเทศและโสตทัศนูปกรณ์ งานสารนิเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุศาลรัฐธรรมนูญ งานประชาสัมพันธ์และพิธีการหรืองานรักษาความปลอดภัย ที่ค่อนข้างยาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับหรือภายใต้กำกับ ตรวจสอบบางส่วน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ด้านการปฏิบัติการ
ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น พิจารณา ศึกษา วิเคราะห์ ทำความเห็น เสนอแนะ รวมทั้งควบคุมตรวจสอบการจัดการต่างๆ หลายด้าน เช่น งานธุรการ งานบุคคล งานจัดระบบงาน งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานสถานที่และยานพาหนะ งานจัดพิมพ์และแจกจ่ายเอกสาร งานระเบียบแบบแผน งานรวบรวมข้อมูลสถิติ งานสัญญา งานนโยบายและแผน ร่างโต้ตอบหนังสือ จดบันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุมทางวิชาการ และรายงานอื่นๆ งานรักษาความปลอดภัย ทำเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ติดตามผลการปฏิบัติตามมติของที่ประชุม ศึกษารายละเอียดของงานที่ได้รับการวิเคราะห์ จัดระบบและวางแผน เขียนคำสั่งให้เครื่องจักร ประมวลผล ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง พิจารณา จัดหาและคัดเลือกหนังสือ จัดทำเลขหมู่หนังสือ ทำดรรชนี บรรณานุกรม ควบคุม ตรวจสอบ จัดทำจดหมายเหตุศาลรัฐธรรมนูญ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้คำปรึกษาแนะนำงานที่รับผิดชอบแก่หน่วยงานและแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2 ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
1.3 ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
1.4 ด้านการบริการ
ตอบปัญหา ชี้แจง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ
นิติกรปฏิบัติการ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ด้านการปฏิบัติการ
(1) เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน การพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
(2) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(3) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ และการดำเนินคดีของหน่วยงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
1.2 ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
1.3 ด้านการประสานงาน
(1) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
1.4 ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว
วิชาที่สอบ
นักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) โดยแยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (160 คะแนน) โดยออกข้อสอบแบบปรนัย มีขอบเขตเนื้อหาดังนี้
1) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
2) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561
3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนและกฎหมายระหว่างประเทศ
4) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
5) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง และการต่างประเทศ
ส่วนที่ 2 ความรู้ด้านภาษาอังกฤษที่ใช้สำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ (40 คะแนน) โดยออกข้อสอบแบบอัตนัย
ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) จะต้องเป็นผู้สอบได้คะแนนเฉพาะส่วนที่ 2 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และได้คะแนนส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
นักวิชาการคดีรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) โดยแยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (160 คะแนน) โดยออกข้อสอบแบบอัตนัย มีขอบเขตเนื้อหาดังนี้
1) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
2) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 และข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561
3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชน
4) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
5) ความรู้เกี่ยวกับคดีรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ 2 ความรู้ด้านภาษาอังกฤษที่ใช้สำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการคดีรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ (40 คะแนน) โดยออกข้อสอบแบบปรนัย
ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) จะต้องเป็นผู้สอบได้คะแนนเฉพาะส่วนที่ 2 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และได้คะแนนส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) โดยแยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (160 คะแนน) โดยออกข้อสอบแบบปรนัย มีขอบเขตเนื้อหาดังนี้
1) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
2) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
5) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
6) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
7) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
8) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
9) ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนงาน การประสานงาน และการบริหารจัดการภายในองค์กร
10) ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2580) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2564)
11) ความรู้เกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ
12) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ 2 ความรู้ด้านภาษาอังกฤษที่ใช้สำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ (40 คะแนน) โดยออกข้อสอบแบบปรนัย
ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) จะต้องเป็นผู้สอบได้คะแนนเฉพาะส่วนที่ 2 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และได้คะแนนส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
นิติกรปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) โดยแยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (160 คะแนน) โดยออกข้อสอบแบบปรนัย มีขอบเขตเนื้อหาดังนี้
1) ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
2) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 และข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561
3) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
6) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
7) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
8) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
9) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
10) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
11) ความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
12) ความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
13) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
14) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ 2 ความรู้ด้านภาษาอังกฤษที่ใช้สำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ (40 คะแนน) โดยออกข้อสอบแบบปรนัย
ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) จะต้องเป็นผู้สอบได้คะแนนเฉพาะส่วนที่ 2 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และได้คะแนนส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
วิธีการสมัครงานข้าราชการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 22 มี.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |