สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

ลิงค์: https://ehenx.com/17417/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิเคราะห์นโยบายและแผน,นิติกร,นักวิชาการเงินและบัญชี,นักวิชาการตรวจสอบภายใน,เจ้าพนักงานพัสดุ,เจ้าพนักงานธุรการ
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-15,000
อัตราว่าง: 13
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 15 ส.ค. – 2 ก.ย. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

ด้วย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ นิติกรปฏิบัติการ นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน และเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และ หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการใน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นิติกร

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเงินและบัญชี

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการตรวจสอบภายใน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานพัสดุ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500- บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*


เจ้าพนักงานธุรการ

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500- บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาภาษา วรรณคดี สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาปรัชญา ศาสนา เทววิทยา ทางปรัชญา หรือสาขาใดสาขาหนึ่งทางจิตวิทยา


นิติกร

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์ 


นักวิชาการเงินและบัญชี

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร


นักวิชาการตรวจสอบภายใน

ได้รับวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี บริหารธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์ 


เจ้าพนักงานพัสดุ

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา


เจ้าพนักงานธุรการ

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ประเด็นปัญหา และผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง และให้ข้อเสนอแนะ ข้อพิจารณา เพื่อประกอบการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง การกำหนดนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ การกำหนดยุทธศาสตร์หรือแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่อง การประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงเชิงยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์แผนงาน โครงการด้านความมั่นคง การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงาน การประสานงานกับหน่วยงาน องค์กร ตลอดจนเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล 


นิติกร

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินกฎหมายด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎหมายการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้บรรลุเป้าหมายและเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
(2) ตรวจสอบและยกร่างประกาศ ข้อกำหนด คำสั่ง กฎและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(3) รวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริง จัดเตรียมและค้นคว้ากฎหมาย อนุบัญญัติ คำสั่ง และข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดทำความเห็นทางวิชาการ การตอบข้อหารือปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องของหน่วยงาน
(4) รวบรวมข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน ตลอดจนข้อกฎหมาย และจัดทำความเห็นทางกฎหมายและข้อพิจารณาเสนอผู้บังคับบัญชา ในการดำเนินคดีของหน่วยงานหรือในคดีที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานคดี เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง และคดีอื่น ๆ
(5) ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ ด้านวิชาการหรือจัดทำคู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายด้านความมั่นคงในความรับผิดชอบของหน่วยงาน
(6) สรุปรายงานผลการประชุม จัดทำหนังสือราชการ และจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผน การทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) เป็นผู้ประสานงานทางคดีในการดำเนินคดีของหน่วยงาน เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา
คดีปกครอง และคดีอื่น ๆ
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่สำคัญ แก่บุคคล ทั้งภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านอื่น ๆ
ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการเงินและบัญชี

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นหลักฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
(2) รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัย
(3) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(4) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(5) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ-จ่ายเงินของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้อง ตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
(6) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงาน และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรืประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ


นักวิชาการตรวจสอบภายใน

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน

ฝากประชาสัมพันธ์

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านตรวจสอบภายใน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติ
(1) รวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตัวเลข หลักฐาน การทำสัญญา และเอกสารต่าง ๆ ทางด้านการเงิน บัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้การตรวจสอบดำเนินไปอย่างถูกต้องตรงกับหลักฐานที่เกิดขึ้นจริง
(2) ตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การเงิน พัสดุและทรัพย์สิน รวมทั้งการบริหารด้านอื่น ๆ ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อดูแลให้การใช้งบประมาณและทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
(3) จัดทำรายงานการตรวจสอบเพื่อเสนอข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะให้ผู้บังคับบัญชารับทราบผลการดำเนินงาน
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานตรวจสอบเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกของทีมงาน และสำนักงานสภา ความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ฝึกอบรม ให้คำปรึกษา เสนอแนะวิธีการปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจ และเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และตอบข้อซักถามและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ พร้อมทั้งช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้การปฏิบัติงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(2) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานตรวจสอบที่รับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์


เจ้าพนักงานพัสดุ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับพัสดุ ในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุและครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีพร้อมต่อการใช้งาน
(2) ทำทะเบียนเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวกับพัสดุ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
(3) ร่างและตรวจซื้อสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
(4) รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอผู้บังคับบัญชา ในหน่วยงาน
(5) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
(6) ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
2. ด้านการบริหาร
(1) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
(2) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการหรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ


เจ้าพนักงานธุรการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่างๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวก ราบรื่นและ มีหลักฐานตรวจสอบได้
(2) รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งานและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(4) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่างๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
2. ด้านการบริหาร
(1) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
(2) ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการเพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
(3) ผลิตเอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้
(1)วิชาความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)
-ความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทั้งภายในและภายนอกประเทศ
-ความรู้ความสามารถที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ การกำหนดยุทธศาสตร์หรือแผนด้านความมั่นคงเฉพาะเรื่อง การประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร์
(2) วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
– แปลสรุปสาระสำคัญของบทความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
– เรียงความตามหัวข้อที่กำหนดเป็นภาษาอังกฤษ


นิติกร

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้
(1)วิชาความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 170 คะแนน)
1)ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
2)ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
3)พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
4)พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
5)พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2559
6)พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
7)พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551
8)พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
(2) วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)
– แปลสรุปสาระสำคัญของบทความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย


นักวิชาการเงินและบัญชี

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้
– ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบด้านงบประมาณ บัญชี การเงินการคลังและพัสดุภาครัฐ และความรู้ด้านการจัดทำแผนงานและการติดตามประเมินผล การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน

– ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และวางแผนงาน การประสานงาน และการจัดการองค์กร
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539


นักวิชาการตรวจสอบภายใน

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้
– หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539


เจ้าพนักงานพัสดุ

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับงานพัสดุ
– ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการพัสดุ
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดสินค้าสำหรับดำเนินการจัดหาด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market)
– ความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding)
2. ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ
3. ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม


เจ้าพนักงานธุรการ

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 

วิธีการสมัครงานข้าราชการ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค. – 2 ก.ย. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร

Facebook Comments