สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

ลิงค์: https://ehenx.com/13870/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ(บัญชี),นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ(กฎหมาย),นักทรัพยากรบุคคลปฏีบ้ติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ,นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ,นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบ้ติงาน,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวช.ทุกสาขา,ปวช.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 9,400-15,000
อัตราว่าง: 45
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 16 เม.ย. – 11 พ.ค. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเช้ารับราชการ เป็นข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

ด้วยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ (๔) และข้อ ๒๕ แห่งระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่แก้ไข เพิ่มเติม จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

อัตราว่าง : 30 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (กฎหมาย)

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักทรัพยากรบุคคลปฏีบ้ติการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบ้ติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 9400- บาท

คุณวุฒิ : ปวช.ทุกสาขา*


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 9400- บาท

คุณวุฒิ : ปวช.ทุกสาขา*

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

  • จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี หรือเทียบเท่าทางบัญชี
  • ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป 

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (กฎหมาย)

  • จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีสาขาวิชานิติศาสตร์
  • ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป 

นักทรัพยากรบุคคลปฏีบ้ติการ

  • จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรี สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือทางเทคโนโลยีการศึกษา
  • ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป 

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

  • จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรี สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางคอมพิวเตอร์
  • ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป 

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

  • จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี หรือเทียบเท่าทางบัญชี
  • ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป 

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

  • จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือเทียบเท่าทางเศรษฐศาสตร์
  • ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป 

นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ

  • จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรี สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางโสตทัศนศึกษา ทางเทคโนโลยีการศึกษา หรือสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ทางนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน
  • ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป 

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

  • จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา
  • ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป 

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบ้ติงาน 

  • จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา
  • ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขึ้นไป

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

  • จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา
  • ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขึ้นไป 

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏีน้ติงาน อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ตรวจเงินแผ่นดินตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับ การตรวจเงินแผ่นดินที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด มาตรฐานการสอบบัญชี และตามกฎหมาย ว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
  2. ตรวจสอบรายงานการเงินที่หน่วยงานชองรัฐส่งให้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงิน การคลังของรัฐ
  3. ตรวจสอบรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ และแสดงความเห็นว่า เป็นไปตามกฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม่
  4. ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปี และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตาม กฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม่
  5. ดำเนินการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินราชการลับหรือเงินที่มีลักษณะคล้ายเงินราชการ ลับของหน่วยรับตรวจ
  6. ตรวจสอบเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินอุดหนุนของหน่วยรับตรวจที่ได้รับเงินอุดหนุน หรือกิจการที่ได้รับเงิน หรือทรัพย์สินลงทุนจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
  7. ดำเนินการตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วย รับตรวจให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี หรือแบบแผนการปฏิบัติราชการ
  8. ติดตามผลการตำเนินงานของหน่วยรับตรวจตามข้อเสนอแนะของสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน
  9. ปฏิบัติงานด้านวิชาการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบและมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนการกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบและการวินิจฉัยปัญหาที่สำคัญ
  10. ศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนามาตรฐาน และคู่มือการตรวจสอบ รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำในด้านวิขาการ มาตรการ มาตรฐาน และคู่มีอการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ
  11. ศึกษา วิจัย และติดตามความก้าวหน้าทางด้านการตรวจเงินแผ่นดินและด้าน เทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิผล และประสิทธิภาพในการปฏิบัติ งานตรวจสอบ เผยแพร่ผลงานการวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ประสานงานกับหน่วยงานภายใน และภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัย
  12. จัดทำแนวปฏิบัติหรือคู่มีอการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับ การตรวจเงินแผ่นดินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รวบรวมข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะ จากการ ตรวจสอบมาปรับปรุงแนวทางการตรวจสอบให้ทันสมัย เผยแพร่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับแนว ปฏิบัติหรือคู่มีอการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินกำหนด
  13. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาเทคนิค วิธีการตรวจสอบเพื่อประยุกต์ไข้กับงานตรวจสอบ หรือองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากการวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดินให้เป็นรูปธรรม เผยแพร่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในการนำแนวปฏิบัติและคู่มือการตรวจสอบ ไปใช้ประโยชน์
  14. ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์ เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอในการกำหนด หรือปรับปรุงมาตรฐาน มาตรการ คู่มือการปฏิบัติงาน และการควบคุมคุณภาพการตรวจสอบ ให้สอดคล้อง กับมาตรฐานสากล
  15. จัดทำนโยบายการประกันคุณภาพและหลักเกณฑ์การสอบทานเพื่อการประกัน คุณภาพ ติดตามผลการควบคุมคุณภาพ รวบรวมและติดตามผลการติดตามด้านคุณภาพการตรวจสอบ ทั้งภายในและภายนอก จัดทำรายงานผลการสอบทานการประกันคุณภาพ พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุง จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เผยแพร่ ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณภาพ งานตรวจสอบ
  16. ปฏิบัติงานตามภารกิจอื่นที่บัญญ้ตไว้ในพระราชบัญญ้ตประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การตรวจเงินแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และกฎหมายอื่น
  17. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการวางแผน

มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ,ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
  2. บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่น เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ การตรวจเงินแผ่นดิน

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (กฎหมาย)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงาน อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงาน งาน หรือโครงการที่จะมีผลกระทบต่อ การจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจ
  2. ปฏิบัติงานทางด้านวิชาการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับ การศึกษา วิจัยวิเคราะห์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบและมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจน การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบ วินิจฉัยปัญหาที่สำคัญ
  3. ตรวจสอบข้อมูลฟ้องด้น หรือตรวจสอบกรณ์ที่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริต หรือมีการใช้อำนาจโดยมิขอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแกเงินหรือทรัพย์สินของทางราชการ ซึ่งได้รับเรื่อง ร้องเรียนจากส่วนราขการที่เกี่ยวข้อง และจากการตรวจสอบในลักษณะอื่น หรือแหล่งข้อมูลอื่น
  4. ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง ตามแผนงาน งาน หรือโครงการของหน่วยรับตรวจ ว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี หรือไม, และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตาม วัตจุประสงค์ เป็นไปโดยประหยัด ได้ผลตามเป้าหมาย และมีผลคุ้มค่า หรือไม่
  5. ช่วยในการจัดทำรายงานการตรวจสอบ จัดทำข้อสังเกต และกระดาษทำการที่เกี่ยวข้องกับ การตรวจสอบ ตลอดจนช่วยในการติดตามและประเมินผลการตรวจสอบงานที่รับผิดชอบหรือตามที่ได้รับ มอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงานและตัวชี้วัดอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ปฏิบัติงานตามภารกิจอื่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
    การตรวจเงินแผ่นดิน เช่น งานวินัยทางงบประมาณและการคลัง
  7. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการวางแผน

มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป ตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธี๋ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจ ได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
  2. บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาคันคว้า และอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน

นักทรัพยากรบุคคลปฏีบ้ติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านการบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการวางระบบ การจัดทำมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
  2. ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการดำเนินงาน เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
  3. ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการ และความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ การจัดหลักสูตรและการ ถ่ายทอดความรู้ การจัดสรรทุนการศึกษา รวมถึงการวางแผนและเสนอแนะนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนา ทรัพยากรบุคคลของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และแผนการจัดสรรทุนการศึกษาและการฝึกอบรม
  4. ศึกษา รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่งและการ วางแผนอัตรากำลังของส่วนราชการ
  5. ศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการบริหารผลการปฏิบัติงานและการ บริหารค่าตอบแทน
  6. ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบข้อมูล ถ้อยคำ ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการดำเนินการ ทางวินัย การรักษาวินัยและจรรยาของทรัพยากรบุคคล
  7. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบพิทักษ์คุณธรรม
  8. ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและเลือกสรร เพื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้มีความรู้ ความสามารถให้ดำรงตำแหน่ง
  9. ดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนประวัติของข้าราชการและลูกจ้าง การพิจารณาเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน บำเหน็จบำนาญ และการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  10. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหรือพัฒนาทรัพยากรบุคคลหรืองานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย

ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
  2. ขี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการคำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือ ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับการบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
  2. ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสบุนภารกิจ ของบุคคลหรือหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ และมาตรการต่าง ๆ
  3. ดำเนินการจัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มพูน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ด้งนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสบุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศตำเนินไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
  2. ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
  3. ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตามความ ต้องการและสภาพการใช้งานชองหน่วยงาน
  4. เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แก้ไขข้อผิดพลาดของคำสั่งเพื่อให้ ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
  6. ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์และระบบข้อมูล ของหน่วยงานที่ไม่ซับช้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานใท้มีประสิทธิภาพและ ตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
  7. ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
  8. รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่อง การติดตั้ง ระบบเครื่องเพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
  9. ช่วยตรวจสอบ สืบค้นและรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่าย ไม่เหมาะสมซัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ

ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ๋ตามที่กำหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
  2. ขี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก,บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

  1. ช่วยจัดทำคู,มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเอง อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ดำเนินการฝิกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสนนการใช้ระบบงานทีพัฒนาแก, เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ ความเช้าใจ ในด้านวิขาการคอมพิวเตอร์
  3. ให้คำปรึกษา แนะนำแก,ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของ ส่วนราชการ
  2. รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง และทันสมัย
  3. จัดทำและจัดสรรงบประมาณแกส่วนราชการภายในเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับ ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
  4. ศึกษา วิเคราะห์ ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
  5. ดูแลการรับและการจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
  6. ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชีแกเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้ อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและ ข้อกำหนด
  7. ปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการวางแผน

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน

ฝากประชาสัมพันธ์

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเบีาหมายและได้ผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมถุทธึ๋ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเทีจจริง แกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกขน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและ ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
  2. จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุงหรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสบุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. รวบรวม ตรวจสอบความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตัวเลข หลักฐานการทำ สัญญา และเอกสารต่าง ๆ ทางด้านการเงิน การบัญซี เพื่อให้การตรวจสอบดำเนินไปอย่างถูกต้องและได้ผลตรวจ กับหลักฐานที่เกิดขึ้นจริง
  2. ตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การเงิน พัสดุและทรัพย์สิน รวมทั้งการบริหารด้านอื่น ๆ ของส่วนราชการ เพื่อดูแลให้การใช้งบประมาณและทรัพยากรเป็นไปอย่าง ประหยัด มีประสิทธิภาพสูง และตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
  3. จัดทำรายงานการตรวจสอบรายเดือน เพื่อเสนอข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะให้ ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานต้นสังกัดรับทราบผลการดำเนินงาน

ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมถุทธี้ตามที่กำหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมถุทธิ,ตามที่กำหนด
  2. ขึ้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

ฝึกอบรม ให้คำปรึกษา เสนอแนะวิธีการปรับปรุงการปฏิบัติงานแก,หน่วยรับตรวจและเจ้าหน้าที่ ระดับรองลงมา และตอบข้อซักถามและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ พร้อมทั้งช่วยแก้ปัญหา ข้อขัดแย้งในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิงขึ้น ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่ทีมงานหรือ หน่วยงาน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบซัอมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์


นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการโสตทัศนศึกษา ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. จัดเตรียมและควบคุมการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง เครื่องฉาย การผลิตวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดแสดงหรือบรรยาย เพื่อให้การแสดงหรือบรรยายที่ต้องอาศัยเครื่องเสียงหรือเครื่องฉาย ดำเนินไป โดยความเรียบร้อยและเกิดความเหมาะสม
  2. ช่วยเขียน เรียบเรียง คำบรรยายภาพ คำบรรยายแผนภูมิ บทรายการวิทยุ ภาพยนตร์ หรือโทรทัศน์ เพื่อเผยแพร’ความรู้ หรือข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
  3. จัดหา ดูแล รักษา ซ่อมแซม เครื่องเลียง เครื่องฉาย ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ดี ประหยัดงบประมาณของหน่วยงาน และดำเนินงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธํ่ตามที่กำหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพี่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

ให้คำปรึกษา แนะนำ ในด้านการใช้ บำรุงรักษาเครื่องเสียง เครื่องฉาย ตลอดจนโสตทัศนูปกรณ์ แก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินการด้านโสตทัศนศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการภายในสำนัก หรือการบริหารราชการทั่วไป ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสำนักในด้านต่าง ๆ เช่น งานบริหารทรัพยากรบุคคล งานบริหารงบประมาณ งานบริหารแผนปฏิบัติราชการ งานบริหารอาคาร สถานที่และงานสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น
  2. ปฏิบัติงานเลขานุการของผู้บริหาร เช่น การกลั่นกรองเรื่อง การจัดเตรียมเอกสารสำหรับ การประชุม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหาร
  3. จัดเตรียมการประชุม บันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุม และรายงานอื่น ๆ เพื่อให้ การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
  4. ทำเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้การ ดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
  5. ช่วยติดตามการปฏิบัติตามมดีของที่ประชุม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหารของ หน่วยงาน เพื่อการรายงานและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา

ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธึ๋ตามที่กำหนด

ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมถุทธี๋ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการบริการ

ตอบปัญหา ชี้แจง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้น แก่หน่วยงานราชการ เอกขน หรือประขาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจในงาน ที่รับผิดชอบ


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบ้ติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม,จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอนและวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิปติในด้านต่างๆ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซมและบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีพร้อม ต่อการใช้งาน
  2. ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
  3. ร่างและตรวจสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ เพี่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
  4. รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงานและนำเสนอผู้บังคับบัญชาใน หน่วยงาน
  5. ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
  6. ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
  2. ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน หน่วยงานราชการ เอกชน หรือ ประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการหรือขอความช่วยเหลือและความร่วมมือเกี่ยวกับงานพัสดุ และแลกเปลี่ยน ความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ในด้านต่างๆ ดังนี้

ด้านการปฏิบัติการ

  1. ปฏิบัเตงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือ โต้ตอบจัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสบุนให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวกราบรื่น และมีหลักฐานตรวจสอบได้
  2. รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐาน หนังสือตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งาน และอยู่ไนสภาพพร้อมใช้งาน
  4. รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่าง ๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป

ด้านการบริการ

  1. ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
  2. ให้บริการข้อมูลแก,ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
  3. ผลิตเอกสารต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติ หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

หลักสูตรการสอบแข่งขันแบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือ

ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
  2. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
  3. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการ ตรวจเงินแผ่นดิน
  4. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  5. หลักการทั่วไป กระบวนการ และเทคนิค/แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบบัญชี
  6. มาตรฐานการสอบบัญชี มาตรฐานงานสอบทาน มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น และมาตรฐานงานบริการเกี่ยวเนื่อง
  7. มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
  8. มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ
  9. มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และนโยบายการบัญชีภาครัฐ
  10. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  11. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชี ขอบเขตเนี้อหา ประกอบด้วย
  12. ประมวลรัษฎากร
  13. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
  14. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
  15. พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  16. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (กฎหมาย)

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
  2. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
  3. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการ ตรวจเงินแผ่นดิน
  4. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  5. ประมวลกฎหมายอาญา
  6. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบ้ติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  7. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
  8. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
  9. พระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  10. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน
  11. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 

นักทรัพยากรบุคคลปฏีบ้ติการ

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
  2. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
  3. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
  4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
  6. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
  7. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นชองสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  8. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
  9. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมบุษย์
  10. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
  11. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
  2. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  3. แนวโน้มเทคโนโลยีสำหรับรัฐบาลดิจิทัล (Technology Recommendation for Digital Government)
  4. หลักคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Technology Ethics) และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่
  5. พ.ศ. 2560
  6. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
  7. การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การดูแล การบำรุงรักษา และการรักษา ความปลอดภัยของระบบการบริหารจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems) ตามมาตรฐานสากล หรือแนวทางการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ตามมาตรฐานสากล
  8. การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา โปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Application)
  9. หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Architecture)
  10. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  11. การพัฒนาโปรแกรมให้มีความมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
  12. การพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
  13. การพัฒนาโปรแกรมในรูปแบบ API
  14. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
  2. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
  3. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  4. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสอบบัญชี
  5. การบัญชี รวมถึงประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. 2561
  6. หลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้งบประมาณรายจ่าย การโอนเงินจัดสรรหรือการเปลี่ยนแปลง เงินจัดสรร พ.ศ. 2562
  7. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  8. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
  9. พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  10. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
  11. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
  2. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
  3. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  4. หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบ ภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561
  5. เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค (Micro-Macro Economic)
  6. การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง (Economic Analysis)
  7. การวิเคราะห์โครงการ (Project Appraisal or Feasibility study)
  8. การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation)
  9. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
  2. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  3. หลักการนำเสนอผลงานผ่านลื่อ และเทคโนโลยีต่าง ๆ
  4. การเขียน การเรียบเรียงคำบรรยายภาพ รวมถึงการเขียนบทรายการวิทยุ เพื่อเผยแพร่ความรู้
  5. การผลิตสื่อภาคทฤษฎี การใช้เทคโนโลยีการลื่อสารสมัยใหม่ การออกแบบ website
  6. การตัดต่อภาพเคลื่อนไหว การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์
  7. การถ่ายภาพนิ่ง การถ่ายภาพเคลื่อนไหว
  8. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

  1. พระราชบัญญัตประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
  2. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
  4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  6. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับทางราชการ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  7. การวางแผนงาน การประสานงาน การบริหารจัดการภายในองค์กร และการบริหาร
    งบประมาณ
  8. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์
  9. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  10. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
  11. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบ้ติงาน

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
  2. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่ และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  3. พระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  4. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  6. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  7. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
  2. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง ข้อกำหนดทางจริยธรรมเจ้าหน้าที่
    และบุคลากรอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  3. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
  4. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับทางราชการ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
  6. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์
  7. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) ทดสอบ ความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง ดังนี้

  • การประเมินด้วยแบบทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Tests) (ไมมัผลเป็นคะแนน)
    เป็นการวัดคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันด้วยวิธีการตามหลักการ ด้านจิตวิทยาเพื่อประกอบการสัมภาษณ์
  • การประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
    เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยประเมินจากประวัติส่วนตัว ประวัติ การศึกษา ประวัติการทำงาน พฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่นของผู้เข้าสอบจากการสัมภาษณ์ ประสบการณ์ ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราขการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน คุณธรรมจริยธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น และอื่น ๆ ที่จำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานเฉพาะตำแหน่ง ดังนี้
    1. ทดสอบการปฏิบัติโดยการจัดทำสื่อมัลดิมีเดีย (50 คะแนน) และสัมภาษณ์ รายบุคคล (50 คะแนน) สำหรับตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ
    2. ทดสอบการปฏิบัติโดยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (50 คะแนน) และสัมภาษณ์รายบุคคล (50 คะแนน) สำหรับตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
    3. สัมภาษณ์รายบุคคล (100 คะแนน) สำหรับตำแหน่งอื่น ๆ นอกจาก 1. และ 2.

วิธีการสมัครงานข้าราชการ สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 16 เม.ย. – 11 พ.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

Facebook Comments