กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ลิงค์: https://ehenx.com/13805/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,วิศวกรโยธาปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน,นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน,นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน,นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,นายช่างโยธาปฏิบัติงาน,นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน,นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน,นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ,นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ,นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 10,840-19,830
อัตราว่าง: 86
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 23 เม.ย. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

ด้วยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้า รับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศ รับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 8 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 22 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 9 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*


เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*


นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*


นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 21 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 10840-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 17500-19250 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาโท


นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 17500-19250 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาโท


นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 17500-19830 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า 

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า 

นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า 

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์ และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า 

วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า 

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า 

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า 

เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า 

นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
    ในสาขาวิชาการก่อสร้าง สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม หรือสาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า 

นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือสาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า 

นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า 

นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า 

นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า

นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบ สาขาวิชาศิลปหัตถกรรม หรือสาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า 

นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท). หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธา หรือสาขาวิชาเทคนิคการจัดการงานก่อสร้าง หรือ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวท. หรือ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า

นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ

ได้รับวุฒิปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ทางกีฏวิทยา หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางกีฏวิทยา 


นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางพันธุศาสตร์ 


นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาสาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ จากสัตวแพทยสภา 

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. รวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตัวเลข หลักฐาน การทำสัญญา และเอกสารต่าง ๆ ทางด้านการเงิน การบัญชี เพื่อให้การตรวจสอบดำเนินไปอย่างถูกต้องและได้ผลตรงกับหลักฐานที่เกิดขึ้นจริง
  2. ตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกับการบริหารงบประมาณ การเงิน พัสดุและทรัพย์สินรวมทั้งการบริหารด้านอื่น ๆ ของส่วนราชการ เพื่อดูแลให้การใช้งบประมาณและทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูง และตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
  3. จัดทำรายงานการตรวจสอบ เพื่อเสนอข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานต้นสังกัดรับทราบผลการดำเนินงาน
  4. ร่วมประเมินความเสี่ยงและวางระบบควบคุมภายใน ให้เพียงพอเหมาะสม มีประสิทธิผล ตลอดจนปรับปรุง และรายงานผลการประเมินประสิทธิผลการควบคุมภายในตามแบบรายการตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อไป

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ฝึกอบรม ให้คำปรึกษา เสนอแนะวิธีการปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยตรวจรับและเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และตอบข้อซักถามและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ พร้อมทั้งช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  2. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงาน ราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ 

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
  2. รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัย
  3. จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
  4. ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
  5. ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ – จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ – จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
  6. ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
  2. จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ 

นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการพัสดุ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุ เพื่อกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
  2. ตรวจสอบและดูแลการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีต่างๆ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวง ประกาศ และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดทำรายละเอียดบัญชี หรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
  4. ซ่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครอง เพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
  5. จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นในการใช้งานทางราชการอีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชน์ให้แก่ทางราชการได้มากที่สุด
  6. ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
  2. จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ 

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจการเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง
  2. รวบรวมข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้น เกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของส่วนราชการ หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงานหรือโครงการให้สามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
  3. วิเคราะห์นโยบายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง และเสนอข้อคิดเห็น เพื่อช่วยจัดทำแผน กำหนดตัวชี้วัดในการขับเคลื่อน การปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
  4. ศึกษา วิเคราะห์ กลั่นกรองงบประมาณของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และนโยบายของหน่วยงาน
  5. สำรวจ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและประเด็น ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนงาน หรือกำหนดยุทธศาสตร์ และทิศทางองค์การ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์และตัวชี้วัด
  6. ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาลเพื่อประกอบ การเสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการกำหนดตัวชี้วัดและติดตามประเมินผลให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการกำหนดทิศทางองค์การ การวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. รวบรวมข้อมูล เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนงานโครงการ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
  2. ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ งานนโยบายและแผนเพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
  2. ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
  3. ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตามความต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
  4. เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แก้ไขข้อผิดพลาดของคำสั่งเพื่อให้ระบบ ปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
  6. ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลของหน่วยงานที่ไม่ซับซ้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
  7. ช่วยรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
  8. รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่อง การติดตั้งระบบเครื่อง เพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และตรงตามความต้องการใช้ของหน่วยงาน
  9. ช่วยตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่ายไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
  10. ช่วยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการออกใบอนุญาต เพื่อให้การออกใบอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ช่วยจัดทำคู่มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ดำเนินการฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนการใช้ระบบงานที่พัฒนาแก่เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
  3. ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทํางาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธา ภายใต้การกำกับ แนะนํา ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. สํารวจ ศึกษา วางแผน วิเคราะห์ วิจัย ออกแบบ คํานวณ ประมาณราคา ควบคุมงานก่อสร้าง งานบํารุง งานบูรณะซ่อมแซม งานอํานวยความปลอดภัย งานผังเมืองหรืองานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  2. ตรวจสอบ แบบแปลน โครงสร้าง สภาพการใช้งานของอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
  3. ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานสำรวจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อให้ได้รูปแบบ แผนที่ต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
  4. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ กำหนด กฎ ระเบียบ มาตรฐาน มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน
  5. ศึกษา วิจัย และทดสอบวัสดุ ที่ใช้ในงานด้านวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยและประหยัดงบประมาณ
  6. ตรวจสอบสัญญาก่อสร้าง บำรุง บูรณะซ่อมแซมและอำนวยความปลอดภัย รวมถึงการแก้ไขสัญญางานวิศวกรรมโยธา เพื่อให้งานมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษาแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิศวกรรม-โยธา และโครงสร้างพื้นฐานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งการมีส่วนร่วม
  2. จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง จัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบ การพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ 

เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ พัสดุ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการ ที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ
ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริหารทั่วไป ได้แก่ การรับ – ส่งหนังสือ การลง ทะเบียน รับหนังสือ การร่างโต้ตอบหนังสือราชการ การบันทึกข้อมูล การจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงินและการพิมพ์เอกสาร จดหมาย และหนังสือราชการต่าง ๆ การเตรียมการประชุม การจดรายงานการประชุม เป็นต้น
    เพื่อสนับสนุนให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความสะดวกเรียบร้อยตรงตามเป้าหมายมีหลักฐานตรวจสอบได้
  2. รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน บัญชี พัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งานและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  4. รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่าง ๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
  5. ดำเนินการด้านงานบุคคล ข้อมูลพื้นฐาน ทะเบียนประวัติ
  6. รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เช่น สมุดลงเวลาปฏิบัติราชการ รายชื่อ พนักงาน ข้อมูลจำนวนบุคลากร เอกสารอื่น ๆ ที่เป็นหลักฐานตามระเบียบวิธีการปฏิบัติเพื่อสะดวกต่อการค้นหาสำหรับใช้เป็นหลักฐานตรวจสอบได้
  7. ตรวจสอบ และสอบทานความถูกต้องของเอกสาร หนังสือ และจดหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เพื่อให้แน่ใจว่าเอกสารทั้งหมดมีความถูกต้อง ครบถ้วน และปราศจากข้อผิดพลาด
  8. จัดทำและแจกจ่าย ข้อมูล เอกสาร หลักฐาน หนังสือเวียน หรือระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อแจ้งให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทราบ หรือดำเนินการต่าง ๆ ต่อไป
  9. ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และอาคารสถานที่ของหน่วยงาน เช่น การจัดเก็บรักษา การเบิกจ่ายพัสดุครุภัณฑ์ การจัดทำทะเบียนพัสดุครุภัณฑ์ การดูแลรักษายานพาหนะ และสถานที่ เพื่อให้การดำเนินงานด้านพัสดุ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และอาคารสถานที่เป็นไปอย่างถูกต้อง และมีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  10. การรวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงาน เช่น เอกสารตรวจรับรองมาตรฐาน (ธรรมาภิบาล) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงาน
  11. จัดเตรียมการประชุม บันทึกการประชุม และจัดทำรายงานการประชุม เพื่อให้การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จัดเตรียม และดำเนินการผลิตเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม การฝึกอบรม สัมมนา นิทรรศการ และโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เอกสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน และพร้อมใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงต่อเวลา
  12. ปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เช่น จัดเตรียมเอกสาร เพื่อเปิดเผย ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลข่าวสารรับทราบข้อมูลข่าวสาร
  13. ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ ๆ กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสารบรรณ งานธุรการ งานบริหารทั่วไป งานการบริหารงานบุคคล งานพัสดุ ครุภัณฑ์ งานงบประมาณ งานประชาสัมพันธ์ และงานประชุม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษาและแนะนำในเบื้องต้นแก่บุคลากร ประชาชน ผู้ที่มาติดต่อ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
  2. อำนวยความสะดวก ติดต่อ และประสานงานกับทุกส่วนงานของหน่วยงานในเรื่องการประชุม และการดำเนินงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกำหนดเวลา และบรรลุวัตถุประสงค์
  3. ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
  4. ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
  5. ผลิตเอกสารต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
  2. รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
  3. ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
  4. ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
  5. ตรวจสอบและกำกับดูแล การรับเงิน การจ่ายเงิน การนำเงินส่งคลัง

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
  2. ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน 

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานพัสดุตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

2. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง การเก็บรักษา นำส่งการซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดี พร้อมต่อการใช้งาน
  2. ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุเพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
  3. ร่างและตรวจสอบสัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
  4. รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
  5. ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพแลรวดเร็วยิ่งขึ้น
  6. ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินการสำเร็จลุล่วง
  2. ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ 

เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานสถิติตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. สำรวจ จัดทำ รวบรวม ตรวจสอบข้อมูลสถิติที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก เพื่อเป็นฐานข้อมูล หรือข้อมูลสนับสนุนในการจัดทำเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ
  2. สนับสนุนการปฏิบัติงานสำรวจสถิติ อาทิ ช่วยในการจัดทำร่างตารางรายงานสถิติ ช่วยร่างแบบสอบถาม เพื่อให้การปฏิบัติงานสำรวจสถิติดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  3. จัดหมวดหมู่ และจัดทำระเบียบข้อมูลสถิติ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล

2. ด้านการบริการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน

ฝากประชาสัมพันธ์

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ

  1. ให้บริการข้อมูลสถิติแก่หน่วยงานหรือบุคคลที่สนใจ เพื่อให้หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
  2. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปอย่างราบรื่น 

นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างเขียนแบบ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบงานสถาปัตยกรรม งานแผนที่ งานวิศวกรรมโครงสร้าง และงานระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนงานออกแบบของหน่วยงานต่าง ๆ
  2. ศึกษาข้อมูลของวัสดุก่อสร้าง เพื่อนำมาใช้ในงานเขียนแบบให้เกิดความสมบูรณ์
  3. ประมาณราคางานก่อสร้างของหน่วยงานราชการ เพื่อใช้ในการเปิดสอบราคา และนำไปสู่การก่อสร้างตามวัตถุประสงค์

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
  2. ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการและให้ความช่วยเหลือในงานที่รับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างเครื่องกล ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ดำเนินการตรวจสอบ บำรุงรักษา ซ่อมแก้ไข ปรับปรุง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
  2. ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ ประมาณราคา เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน
  3. สำรวจ รวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติ ประวัติการบำรุงรักษา การซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องมือกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงาน

2. ด้านการบริการ

  1. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  2. ให้คำแนะนำและบริการแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการทำงาน 

นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างเทคนิคตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมและบำรุงรักษา ระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่น ๆ ในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและพร้อมในการใช้งาน
  2. ซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนหรือออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการทดลองใช้เครื่องจักร เครื่องกล และสิ่งก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาและมาตรฐานงานช่าง และให้เกิดความปลอดภัย

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำข้อมูล ถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไปให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชน เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
  2. ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 

นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างไฟฟ้า ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการ ติดตั้ง ซ่อม ประดิษฐ์ ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุมการใช้งาน ดูแล บำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์ รับส่งข้อมูลข่าวสาร ในภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
  2. จัดทำระเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผนบำรุงรักษา
  3. ปรับเทียบค่ามาตรฐานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการออกใบรับรองตามที่หน่วยงาน หรือกฎหมายกำหนด

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหา ให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  2. ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบ การปฏิบัติงาน ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ 

นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างโยธา ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ก่อสร้าง บำรุงรักษาโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อให้ตรงตามหลักวิชาช่าง ความต้องการของหน่วยงาน และงบประมาณที่ได้รับ
  2. ตรวจสอบ แก้ไข และกำหนดรายละเอียดของงานให้ตรงกับแบบรูปและรายการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ถอดแบบ เพื่อสำรวจปริมาณวัสดุที่ใช้ตามหลักวิชาช่าง เพื่อประมาณราคาค่าก่อสร้าง
  4. ควบคุมงานก่อสร้าง งานปรับปรุง และซ่อมแซม หรือตรวจการจ้างตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมรายงานความก้าวหน้าของงาน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
  5. รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยในงานด้านช่าง

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและฝึกอบรมเกี่ยวกับงานโยธาที่ตนมีความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
  2. ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานโยธา และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 

นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานช่างศิลป์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ออกแบบงานศิลป์และตกแต่งภายใน บอร์ด ป้ายประกาศ ป้ายโฆษณา การจัดทำภาพ ฉาก ประดิษฐ์ตัวอักษร เวทีของหน่วยงาน ผังสถานที่ สื่อสิ่งพิมพ์ จัดตกแต่งห้องประชุมและอาคารสถานที่เพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ สะอาดสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย และสื่อความได้เป็นอย่างดี
  2. ดูแล จัดเก็บ บำรุงรักษา ซ่อมแซม วัสดุอุปกรณ์การทำงานให้เป็นระบบเพื่อให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ การออกแบบ เทคนิค การจัดงานศิลป์ การจัดนิทรรศการแก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอก เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในงานศิลป์
  2. ช่วยจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ คู่มือ หนังสือ แผ่นพับและนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างภาพพจน์ และส่งเสริมการออกแบบงานศิลป์ 

นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างสำรวจ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. สำรวจรังวัด จัดทำแผนที่ป่าอนุรักษ์
  2. สำรวจรังวัด หมายแนวเขต และจัดทำเครื่องหมายแนวเขตป่าอนุรักษ์
  3. สำรวจรังวัด จัดทำหมุดหลักฐานแผนที่
  4. สำรวจรังวัด แปลงถือครองที่ดินของราษฎร ในเขตป่าอนุรักษ์
  5. สำรวจรังวัด จัดทำระวางแผนที่ มาตรฐาน มาตราส่วน 1:4,000
  6. สำรวจรังวัดตรวจสอบแปลงที่ดินกับขอบเขตป่าอนุรักษ์
  7. สำรวจรังวัดรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น ลำคลอง ห้วย ถนน เพื่อจัดทำแผนที่ป่าอนุรักษ์
  8. สำรวจ ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษา แนะนำ ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไปแก่บุคลากรทุกสายงาน เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
  2. ให้คำแนะนำ ปรึกษา ตอบปัญหา เกี่ยวกับงานสำรวจรังวัด จัดทำแผนที่ และตรวจสอบแปลงที่ดิน ที่ตนมีความรับผิดชอบ แก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้รับบริการ ได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นที่มีประโยชน์
  3. ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
  4. ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือ และร่วมมือในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 

นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านตรวจสอบภายใน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและสำรวจความหลากหลายของแมลงป่าไม้ เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูล
  2. ศึกษา ค้นคว้า วิจัยด้านอนุกรมวิธาน ชีววิทยาและนิเวศวิทยา ของแมลงป่าไม้
  3. ให้บริการความรู้ทางวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์แมลงป่าไม้
  4. ให้บริการด้านวิชาการเกี่ยวกับปัญหาการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูป่าไม้ในพื้นที่อนุรักษ์

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ และร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกัน ทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. รวบรวม จัดทำข้อมูล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับงานวิจัยทางด้านกีฏวิทยาป่าไม้
    เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และให้บริการข้อมูลแก่ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยง และนำเข้า-ส่งออก แมลงป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้ด้านกีฏวิทยา แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    และประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์
  3. ให้คำปรึกษา แนะนำ ในงานด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูล และร่วมดำเนินการวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านพันธุศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้
  2. วิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ ตรวจวัด ตรวจพิสูจน์ วินิจฉัยทางวิทยาศาสตร์ ของวัตถุตัวอย่าง สอบเทียบเครื่องมือ อุปกรณ์วัด เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. ร่วมปฏิบัติงานด้านการรับรองระบบงาน การบริหารจัดการการทดสอบความชำนาญจัดทำฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการ ส่งเสริมพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์
  4. ร่วมศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้และร่วมดำเนินการจัดฝึกอบรม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและทันต่อความก้าวหน้าของวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  5. ศึกษา ค้นคว้า ติดตามความรู้ และพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  6. ร่วมดำเนินงานระบบประกันคุณภาพ เพื่อให้ผลการทดสอบเป็นที่น่าเชื่อถือ

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการส่วนราชการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  2. เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง 

นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการสัตวแพทย์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับโรคสัตว์ป่า โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนด้านห้องปฏิบัติการ ด้านการชันสูตรโรคสัตว์ป่า ด้านการผลิตการทดสอบชีวภัณฑ์สัตว์ป่า ด้านสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ด้านป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคสัตว์ป่า รวมทั้งพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขภาพสัตว์ป่า ด้านสุขศาสตร์สัตว์ป่าและสุขอนามัย เพื่อให้สัตว์ป่ามีสุขภาพดี
  2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับการขยายพันธุ์สัตว์ป่าด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้านข้อมูลสารสนเทศ การสัตว์ป่า ด้านชีววิทยาสัตว์ป่า ด้านการผสมเทียม ด้านการปรับปรุงพันธุ์ การทดสอบพ่อพันธุ์
    ด้านความสมบูรณ์พันธุ์ และควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำเชื้อสัตว์พ่อพันธุ์และตัวอ่อน
  3. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนามาตรฐาน ด้านการกักกันสัตว์ป่า ด้านการเลี้ยงสัตว์ป่าปลอดโรค ด้านการชันสูตรโรคสัตว์ป่า ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการสัตวแพทย์สาธารณสุข ด้านห้องปฏิบัติการตรวจสอบ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และยกระดับมาตรฐานให้เป็นสากล
  4. ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพและให้การรับรองคุณภาพ ชีวภัณฑ์สัตว์ป่า
    การชันสูตรโรคสัตว์ป่า การควบคุมป้องกันโรคระบาด และสิ่งแวดล้อมของสัตว์ป่าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์และการสาธารณสุข
  5. ดำเนินการตรวจสอบและรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของสัตว์ป่า อาหารสำหรับสัตว์ป่า ยาสัตว์ ชีววัตถุ สถานที่เลี้ยงสัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมสำหรับสัตว์ป่า เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  6. กำกับ ดูแลงานและดำเนินการควบคุมป้องกันโรคระบาดให้แก่สัตว์ป่า ควบคุม เคลื่อนย้าย และกักกันสัตว์ป่า – ซากสัตว์ป่า
  7. รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพสัตว์ป่า ตลอดจนสืบย้อนข้อมูล เพื่อการวางแผนและดำเนินการในการควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ป่า ขยายพันธุ์สัตว์ป่า เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภัณฑ์ และแก้ไขปัญหาระบบสืบพันธุ์
  8. รวบรวมข้อมูลระบบตรวจสอบย้อนกลับด้านการสัตว์ป่า เพื่อควบคุม ตรวจสอบ และหาสาเหตุข้อบกพร่องในการสัตว์ป่า

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ จัดทำสื่อสารสนเทศ เผยแพร่ข้อมูล ถ่ายทอดเทคโนโลยี เกี่ยวกับหลักวิชาการสัตวแพทย์และงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
  2. ให้บริการในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้รับ บริการมีความพึงพอใจ 

วิชาที่สอบ

นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบภายใน ซึ่งประกอบด้วย

  • หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561
  • หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562
  • พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
  • พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  • พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
  • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ซึ่งประกอบด้วย

  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
  • ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2562
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนักวิชาการพัสดุ ซึ่งประกอบด้วย

  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  • ความรู้เกี่ยวกับกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
  • ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ. 2543
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ซึ่งประกอบด้วย

1.1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผนทุกระดับ

  • แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580)
  • แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ทรัพยากรทางบก
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
  • นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
  • นโยบายป่าไม้แห่งชาติ

1.2 ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดทำแผนงานโครงการ การบริหารแผนงานโครงการ การติดตามประเมินผลแผนงาน/โครงการ

  • หลักเกณฑ์และวิธีการติดตามและประเมินผลตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ
  • หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561
  • หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562

1.3 ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และการจัดทำงบประมาณ

  • พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
  • พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
  • ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
  • ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย
    เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

1.4 ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Microsoft office) และการใช้ Internet

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและเหตุการณ์ปัจจุบัน

  • พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
  • พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
  • พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • เหตุการณ์ปัจจุบันด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

  • การวิเคราะห์ ออกแบบ และการจัดการระบบฐานข้อมูล
  • การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และแนวคิด และกระบวนการในการแก้ปัญหา
  • การวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบสารสนเทศ
  • ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
  • ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
  • การใช้งานระบบปฏิบัติการ และชุดโปรแกรมสำเร็จรูป
  • ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
  • การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)

3. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งวิศวกรโยธา ซึ่งประกอบด้วย

  • กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  • กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ก่อสร้างอาคาร
  • ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างไม้
  • ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหล็ก
  • ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบฐานราก
  • ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงสร้าง
  • ความรู้เกี่ยวกับระบบระบายน้ำ ถังเก็บน้ำ ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ
  • ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างทาง
  • ความรู้เกี่ยวกับระบบอุปกรณ์ประกอบอาคาร

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ซึ่งประกอบด้วย

  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
  • ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสำนักงาน
  • ความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
  • พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ซึ่งประกอบด้วย

  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
  • ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
  • ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2562
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุ ซึ่งประกอบด้วย

  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
  • ความรู้เกี่ยวกับกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
  • ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๓
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งเจ้าพนักงานสถิติ ซึ่งประกอบด้วย

  • พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550
  • พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ความรู้ด้านสถิติเบื้องต้นเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
  • ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานสำหรับงานทางด้านสถิติ

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างเขียนแบบ ซึ่งประกอบด้วย

  • ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบด้านงานโยธา
  • ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบด้านเครื่องกล
  • ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบด้านสถาปัตยกรรม
  • ทดสอบความรู้เกี่ยวกับประมาณราคา

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างเครื่องกล ซึ่งประกอบด้วย

  • ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้ารถยนต์
  • ความรู้เกี่ยวกับระบบส่งกำลังและเครื่องล่างรถยนต์
  • ความรู้เกี่ยวกับนิวเมติกและไฮรดรอลิกส์
  • การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะทั่วไป
  • ความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างเทคนิค ซึ่งประกอบด้วย

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานช่างพื้นฐาน
  • ความรู้เกี่ยวกับการดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่น ๆ
  • ความรู้เกี่ยวกับการซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ
  • ความรู้ความเข้าใจงานด้านช่างเทคนิคที่จำเป็นตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบควบคุมทางไฟฟ้า
  • ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และคำนวณวงจรไฟฟ้า
  • ความรู้เกี่ยวกับการตรวจวัดทางไฟฟ้า
  • ความรู้เกี่ยวกับวิธีบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
  • ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
  • ความรู้เบื้องต้นด้านไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์
  • ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคเครื่องรับส่งวิทยุสื่อสาร
  • ความรู้เกี่ยวกับระบบสายส่งและสายอากาศ ระบบสื่อสารด้วยระบบเส้นใยนำแสง
  • ความรู้เกี่ยวกับดิจิตอลและคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
  • ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างโยธา ซึ่งประกอบด้วย

  • การเขียนแบบ ประมาณราคาก่อสร้าง การบริหารงานก่อสร้าง การสำรวจ และความรู้ความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับงานด้านโยธา
  • การตรวจและการควบคุมการก่อสร้างอาคาร ถนน งานสาธารณูปโภค และการทดสอบวัสดุด้านวิศวกรรมโยธา

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างศิลป์ ซึ่งประกอบด้วย

  • ความรู้เกี่ยวกับงานด้านช่างศิลป์ การออกแบบ การจัดงานศิลป์ บอร์ด สื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณา และงานอื่น ๆ ทางด้านช่างศิลป์
  • ความรู้ในหลักการออกแบบและองค์ประกอบศิลป์ การออกแบบ การตกแต่ง และจัดนิทรรศการ
  • ความรู้ความสามารถในการออกแบบกราฟิก Adobe Photoshop, Adobe Illustrator

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้

1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างสำรวจ ซึ่งประกอบด้วย

  • การสำรวจรังวัดแนวเขตที่ดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าพิกัดฉาก เพื่อนำมาจัดทำแผนที่
  • การสำรวจรังวัด ด้วยเครื่องมือรับสัญญาณจากดาวเทียม (GPS)
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องรับสัญญาณจากดาวเทียม (GPS)
  • ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่ภูมิประเทศ
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหมุดหลักฐานแผนที่
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม
  • ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แผนที่ภูมิประเทศ เช่น มาตราส่วนแผนที่ การวัดระยะทางในแผนที่การคำนวณเนื้อที่
  • ความรู้ เกี่ยวกับเครื่องมือ สำรวจรังวัด

2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 


นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ

1 การสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

  • ทดสอบความรู้ทางด้านกีฏวิทยา ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของแมลง
  • ทดสอบความรู้ทางด้านอนุกรมวิธาน และการจำแนกชนิดแมลง
  • ทดสอบความรู้แมลงศัตรูป่าไม้ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

2. การสอบปฏิบัติ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

  • ทดสอบการปฏิบัติงานด้านกีฏวิทยาในห้องปฏิบัติการ 

นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

1. การสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

  • ความรู้ด้านอณูพันธุศาสตร์ (Molecular Genetics) ชีววิทยาระดับโมเลกุล (Molecular Biology) จีโนมิกส์ และชีวสารสนเทศ (Bioinformatics)
  • ความรู้ด้านเทคนิคการวิเคราะห์และวิจัยในห้องปฏิบัติการด้านสารพันธุกรรม (Laboratory Techniques for Genetic Materials Analysis and Research)
  • ความรู้พื้นฐานด้านชีววิทยา และพันธุศาสตร์พืช (Plant Biology and Genetics)
  • ความรู้ภาษาอังกฤษ ด้านไวยากรณ์ การอ่าน และการเขียน

2. การสอบปฏิบัติ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

  • ทดสอบการปฏิบัติงานด้านพันธุศาสตร์ป่าไม้ในห้องปฏิบัติการ
  • การใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุศาสตร์ และพันธุศาสตร์ประชากร หรือโปรแกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ

การสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

  • ความรู้เกี่ยวกับการจับบังคับควบคุมสัตว์ เพื่อการวินิจฉัยอาการป่วย และรักษาพยาบาลสัตว์
  • ความรู้เกี่ยวกับโรคสัตว์ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนและโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ธรรมชาติ
  • ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคในสัตว์ป่า
  • ความรู้เกี่ยวกับการสอบสวนโรค การชันสูตรโรคสัตว์ป่า
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชีววิทยาสัตว์ป่า
  • ความรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสัตว์ และระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ และการเก็บตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันโรคตามแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health)
  • ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เทคโนโลยีด้านวิทยาการสืบพันธุ์ของสัตว์ป่า
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และที่เป็นประเด็นปัญหา ณ ปัจจุบัน 

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 23 เม.ย. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

แผนที่ ประกาศ 1 | 2 | เว็บรับสมัคร |

Facebook Comments