กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ลิงค์: https://ehenx.com/15860/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิเคราะห์นโยบายและแผน,นักทรัพยากรบุคคล,นิติกร,นักจัดการงานทั่วไป,นักวิชาการเงินและบัญชี,วิศวกรโยธา,นายช่างเทคนิค
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี,ปริญญาโททุกสาขา,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 13,800-21,000
อัตราว่าง: 16
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 24 ธ.ค. 2564
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป

ด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประสงค์จะรับ สมัครบุคคลเพือจัดจ้างเป็นพนักงานราชการ ประเภทพนักงานราชการทั่วไป ฉะนี้น อาศัยอำนาจ ตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการสรรหาและเลือกสรร พนักงานราชการและแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๒ จืงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อ เลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไปโดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

อัตราว่าง : 7 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000-21000 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*,ปริญญาโททุกสาขา*


นักทรัพยากรบุคคล

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นิติกร

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักจัดการงานทั่วไป

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นักวิชาการเงินและบัญชี

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


วิศวกรโยธา

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นายช่างเทคนิค

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 13800- บาท

คุณวุฒิ : ปวส.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ระดับปริญญาโท

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่น ที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในระดับ ปริญญาโททุกสาขาวิชา

ระดับปริญญาตรี

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่น ที่เทียบได้ในระดับเดียวกันใน ระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา
ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
– สามารถไปปฏิบัติงานประจำ ณ ต่างจังหวัดได้


นักทรัพยากรบุคคล

– เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่น ที่เทียบได้ในระดับเดียวกันใน ระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา


นิติกร

มีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได็ไม่ตํ่ากว่านี๋ ในสาขาวิชานิติศาสตร์


นักจัดการงานทั่วไป

– เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่น ที่เทียบไดในระดับเดียวกันในระดับ ปริญญาตรีทุกสาขาวิชา


นักวิชาการเงินและบัญชี

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นทีเทียบไดไม่ตากว่านี้ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชา บริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งที่ศึกษาวิชาบัญชีมา ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต


วิศวกรโยธา

๑)ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบเท่าได้ไม่ตํ่ากว่านี้ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมก่อสร้าง และต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามที่กฎหมายกำหนด
๒) ได้รับปริญญาหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้และต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด


นายช่างเทคนิค

๑) ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นทีเทียบได้ไมตากว่านี้ในสาขาวิชาใด สาขาวิชาหนึ่งทางช่างยนต์ ทางช่างกลโรงงาน ทางช่างโลหะ ทางช่างไฟฟ้า ทางช่างไฟฟ้ากำลัง ทางช่างก่อสร้าง ทางช่างยนต์ ทางช่างโยธา ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างวิทยุและโทรคมนาคม หรือสาชาวิชาใด สาขาวิชาหนึ่งหรือ หลายสาขาวิชาและทางใดทางหนึ่งหรือหลายทางดังกล่าวข้างต้น
๒) ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพทางเทคนิค หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ใมตากว่านี้ ในสาขาวิชาเทคนิค สถาปัตยกรรม เทคนิควิศวกรรมเครื่องกล เทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า เทคนิควิศวกรรมโยธา เทคนิควิศวกรรมสำรวจ เทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ เทคนิควิศวกรรม คอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขาวิชาดังกล่าวข้างต้น

๓) ได้รับประกาศนิยบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้Iม่ตั้ากว่านี้ในสาขาวิชา เครื่องกล สาชาวิชาเทคนิคโลหะ สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม สาขาวิชาการก่อสร้าง สาขาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชา อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาโยธา หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งหรือหลายสาขาวิชาดังกล่าวข้างต้น
๔) ได้รับประกาศนียบัตรหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ระดับปริญญาโท

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นทีต้องใช้ความรู, ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำตรวจสอบ ปฏิบัติงานอย่างใด อย่างหนี่งหรือหลากหลาย ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ ประสาน เสนอแนะ เกี่ยวกับนโยบาย และเบ้าหมาย แผนงาน โครงการ ของส่วนราชการ จัดทำแผนและโครงการของส่วนราชการ และปฏิบัติหน้าที่ อื่นที่เกี่ยวข้อง
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑) รวบรวม และประมวลผลเบื้องต้น เกี่ยวกับโครงการวิจัยเชิงนโยบายทีส่งเสริมการพัฒนา อุทยานวิทยาศาสตร์ โครงการดำเนินงานกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ขอรับสิทธิประโยชน์จากรัฐ และโครงการ สนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์
๒) ร่วมวางแผน/โครงการ และจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี
๓) ศึกษา รวบรวม และประมวลผลข้อมูลสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจของการส่งเสริม กิจการอุทยานวิทยาศาสตร์
๔) ตรวจสอบ วิเคราะห์ และช่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนที่จำเป็นในการ ดำเนินงานส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์
๕) รวบรวม และติดตามรายงานความก้าวหน้าและการใช้จ่ายงบประมาณของงาน/โครงการ ต่างๆและประมวลผลเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเร่งรัดติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด และใข้ในการประเมินผลการดำเนินงาน
๖) ประสานงาน รวบรวมข้อมูล และประมวลผลเบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล หรือทิศทาง การพัฒนาเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ใต้แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๗) ประสานงาน รวบรวบและประมวลผลข้อมูลทั้งจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสภาวะ ภายนอก และจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนหรือการบริหารโครงการของสำนักงานปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๘) ประสานและจัดเก็บข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อประกอบการจัดทำแผนหรือ การบริหารโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
๙) ศึกษาและติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ ๆ กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ งานนโยบายยุทธศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อนำมาประยุกต์ไข้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด

๑๐) รวบรวม วิเคราะห์ รวมทั้งบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา กำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
๑๑) ประสานงานเครือข่ายความร่วมมือในการสนับสนุนโครงการกิจกรรมการพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
๑๒) ปฏิบัติงาน และสนับสนุนงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อสนับสนุนให้กอง/คูนย7 กลุ่มของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม บรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
๒. ด้านการวางแผน
ร่วมวางแผนการทำงานที่รับผิดขอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือ และผลสัมฤทธื๋ในการดำเนินกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์
๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ สร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
๑) รวบรวมข้อมูล เอกสารหรือสื่อต่างๆ เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการ ส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์
๒) ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเรืองต่างๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมกิจการอุทยาน วิทยาศาสตร์ เพื่อแก่ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน
๓) ข่วยสนับสนุนจัดกิจกรรมเพื่อเสริมศักยภาพและความสามารถในการส่งเสริมจัดตั้งและ ดำเนินกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์

ระดับปริญญาตรี

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและการวางแผน ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับ การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประสานแผน ประมวลแผน พิจารณา เสนอแนะ เกี่ยวกับนโยบายและเป้าหมาย ของส่วนราชการหรือนโยบายแผนงานและโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหารหรือความมั่นคง ในระดับประเทศรวมถึงประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมทั้งในและต่างประเทศเพื่อประกอบ การกำหนด นโยบาย จัดทำแผนหรือโครงการของส่วนราชการหรือใช้เป็นข้อมูลสำหรับกำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนาในระดับประเทศ รวมทั้งทางด้านการส่งเสริมการนำงานวิจัยและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบท ของพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบของผู้บังคับบัญชาในฝ่ายส่งเสริมการวิจัย และนวัตกรรมภูมิภาค เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ในการแกไขปัญหา เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มศักยภาพการผลิต และเศรษฐกิจชุมชน
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน รวมทั้งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและการวางแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ด้งนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑) รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง
๒) รวบรวมข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้น เกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของส่วน ราชการ หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงานหรือโครงการ ให้สามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
๓) วิเคราะห์นโยบายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคงและเสนอข้อคิดเห็น เพื่อช่วยจัดทำแผนการปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
๔) สำรวจ รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการดำเนินงานตามนโนยาบรัฐบาลและประเด็น ปัญหา ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนงาน หรือกำหนดยุทธศาสตร์
๔) ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล เพื่อประกอบการ เสนอแนะแนวทางการประสานงานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการติดตาม ประเมินผลให้สอดคล้อง ไปในแนวทางเดียวกัน
๖) ประสานงาน รวบรวมข้อมูล ตรวจสอบและประมวลผลเบื้องต้นทางวิขาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรี และภารกิจตามนโยบายของหน่วยงาน

๗) ศึกษา วิเคราะห์และกลั่นกรองข้อมูลและให้ความเห็นทางวิชาการ เกี่ยวกับภารกิจ การประชุมแผนงาน โครงการ การดำเนินการหน่วยงานสถาบันอุดมศึกษา งานประสานติดตามทางนโยบาย และงานด้านการต่างประเทศ เพื่อให้บรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
๘) ประสาน ควบคุมและดูแลการจัดหา จัดเตรียมและจัดทำข้อมูลเอกสารทางด้านวิชาการ สรุปรายงานการประชุม ติดตามและจัดเก็บข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย ทางวิชาการเพื่อสนับสนุนภารกิจ ของรัฐมนตรี
๙) ศึกษา และติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมทั้งในและต่างประเทศ เทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ การบริหาร การจัดการ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสรุป เสนอประกอบการจัดทำข้อมูลทางวิชาการ นโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการปฏิบัติงาน โครงการ หรือสนับสนุน กิจกรรมของรัฐมนตรี และของหน่วยงาน
๑๐) ปฏิบัติงาน และสนับสนุนอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้งานทาง ด้านวิชาการของสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม บรรลุภารกิจ ที่กำหนดไว้
๑๑) ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน และจัดทำข้อมูล สนับสนุน ภารกิจของหน่วยปฏิบัติการ เครือข่าย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/ภาคใต้
๑๒) รวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีและความต้องการผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม วิเคราะห์โจทย์ความต้องการด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของพื้นที่
๑๓) ประสานและรวบรวมข้อมูล จัดทำเอกสารและสรุปรายงานการประชุมต่างๆ ของหน่วย ปฏิบัติการเครือข่ายด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/ภาคใต้
๑๔) ประสานความร่วมมือภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิด การสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการบูรณาการด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในระดับพื้นที่
๑๕) รวบรวมและสรุปผลการดำเนินงานชองหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย ด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/ภาคใต้
๒. ด้านการวางแผน
๑) วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานชองหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธที่กำหนด
๒) วางแผนการจัดเก็บข้อมูล เอกสารและผลงานต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำรายงานผลการ ดำเนินงานทางวิชาการ
๓)ร่วมวางแผนการดำเนินงานชองของหน่วยปฏิบัติการเครือข่ายด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/ภาคใต้ เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
๓. ด้านการประสานงาน
๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนดไว้

๒) ประสานงานสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ งานประสานและติดตามทางนโยบายกับ หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อไห้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเช้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
๑) รวบรวมข้อมูล เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนงานโครงการ
๒) ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเรืองต่าง ๆ เกี่ยวกับงานนโยบายและแผนเพื่อ แก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
๓) เผยแพร่และให้บริการ ข้อมูลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม แกหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
๔) ร่วมให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานด้านการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมภูมิภาค แก่หน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง


นักทรัพยากรบุคคล

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งมีลักษณะงานทีปฏิบัติ เกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์และดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบ มาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารทรัพยากร บุคคล การวิเคราะห์และเสนอแนะการปรับปรุงระบบงานและโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถึงส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม การวางแผนอัตรากำลัง การจัดกรอบอัตรากำลัง การกำหนดตำแหน่ง จัดทำคำบรรยายลักษณะงาน
๑) งานวิเคราะห์โครงสร้างและระบบงาน รับผิดชอบการศึกษา วิเคราะห์ เพื่อปรับปรุง โครงสร้างและระบบงานของสำนักงานปลัดกระทรวง รวมทั้งการปรับปรุงระบบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้มีประสิทธิภาพ ดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้งและจัดประชุม อ.ก.พ. ระดับกรม และ อ.ก.พ.ระดับกระทรวง
๒) งานวางแผนอัตรากำลัง การวิเคราะห์ วางแผนอัตรากำลังข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ การจัดทำกรอบอัตรากำลัง การจัดทำคำบรรยายลักษณะงาน การประเมินคำงาน เพื่อขอกำหนดตำแหน่ง รวมทั้งการจัดทำรายงานการบริหารทรัพยากรบุคคล และปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่เกี่ยวข้อง
๓) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานทรัพยากรบุคคลของสถาบันอุดมศึกษา โดยปฏิบัติงาน เกี่ยวข้องกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสถาบันอุดมศึกษา การลา การให้ได้รับสิทธิประโยชน์และคำตอบแทนอื่น ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา การติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารงานทรัพยากร บุคคลของสถาบันอุดมศึกษา และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
๑) ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ทีต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านระบบงานและอัตรากำลัง ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบของผู้บังคับบัญชา ในกลุ่มงานระบบงานและอัตรากำลัง กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล กองกลาง เพื่อให้การปฏิบัติงาน ด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง ครบถ้วน และแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
๒) ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น โดยใซัความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการปฏิบัติงานเกียวกับการบริหารงานทรัพยากรบุคคล สิทธิประโยชน์และคำตอบแทนของบุคลากร ในสถาบันอุดมศึกษาและการติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคล ของสถาบันอุดมศึกษาภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑) สำรวจ ศึกษา รวบรวมข้อมูลด้านอัตรากำลังและตำแหน่งของกอง/ศูนย์/กลุ่ม ในสังกัด สำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถีงข้อมูล อัตรากำลังของส่วนราชการ และหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ระบบสรุปอัตรากำลังของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้มีข้อมูล เกี่ยวกับกำลังคนของแต่ละหน่วยงานอย่างครบถ้วน สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงการบริหารอัตรากำลังและ กำหนดตำแหน่งของหน่วยงานตำงๆ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้

๒) ศึกษา วิเคราะห์โครงสร้างของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อกำหนดจำนวนอัตรากำลัง ประเภทตำแหน่ง และสายงาน ให้มีความถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
๓) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาคาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อดำเนินการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งให้สอดคล้องเหมาะสมกับบทบาทภารกิจที่เพิ่มขึ้นหรือ เปลี่ยนแปลงไป
๔) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำ แผนอัตรากำลังของส่วนราชการ
๕) สนับสบุนการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานภายในของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัด สำนักงานรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๖) ดำเนินการเกี่ยวกับกรอบอัตรากำลังของพนักงานจ้างเหมาบริการ เพื่อให้มีข้อมูลอัตรากำลัง ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
๗) สนับสนุนการดำเนินการจัดทำแบบบรรยายลักษณะงานของทุกตำแหน่งในสำนักงาน รัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งทราบ ภารกิจ และหน่วยงานสามารถนำไปใข้ประกอบการบริหารทรัพยากรบุคคลในด้านอื่นๆ ได้
๘) สนับสนุนการดำเนินงานด้านการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ ด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคลของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
๙) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที,ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคลในภาพรวมของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประสบความสำเร็จตามแผนงานและเปัาหมายที่กำหนดไว้
๑๐) ศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงาน ทรัพยากรบุคคลของสถาบันอุดมศึกษา หรือเพื่อประกอบการจัดทำมาตรฐานหลักเกณฑ์การบริหารงานทรัพยากร บุคคลของสถาบันอุดมศึกษา
๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบกลั่นกรองคำเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชองสถาบันอุดมศึกษา งานรับ-จ,ายเครืองราชอิสริยาภรณ์และประกาศนียบัตรกำกับเครืองราชอิสริยาภรณ์ งานตรวจสอบคำขอแกไขราชกิจจานเบกษาและประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตลอดจนเรียกคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์
๑๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการและ ประโยชน์เกื้อถูลอื่น ตามที่กำหนดไวิในกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
๑๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา ในเรื่องต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด ตลอดจนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๑๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลทีเกียวข้องในการปฏิบัติงาน ทั้งระบบเอกสาร และระบบฐานข้อมูลสารสนเทศหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานของตนเองร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธที่กำหนด

๓. ด้านการประสานงาน
๑) ประสานการทำงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงาน เกี่ยวกับงาน ระบบงานและอัตรากำลัง ให้สอดคล้องกับภาพรวมของกลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล ให้เกิดความร่วมมือ และประสานงานกับสมาซิกในทีมงาน ให้ความช่วยเหลือภายในทีมงาน เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ๋ตามที่กำหนดไว้
๒) ขี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง และมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ การบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแก่สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจหรือเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๔. ด้านการบริการ
๑) ให้คำแนะนำ ขี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นแกหน่วยงานราชการ เอกชนข้าราชการ พนักงาน หรือเจ้าหนัาที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับงานระบบงานและอัตรากำลัง เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุน งานตามภารกิจของหน่วยงาน หรือการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาแก,สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลทั่วไป เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
๒) ให้บริการข้อมูล เกี่ยวกับระบบสรุปอัตรากำลังของสำนักงานปลัดกระทรวง ส่วนราชการ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการ บริหารทรัพยากรบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสนับสบุนภารกิจของบุคคลหรือหน่วยงาน และใช้ประกอบการ พิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ และมาตรการต่างๆ
๓) รวบรวม ประเมินและสรุปผลการประเมินความพึงพอใจการให้บริการในภาพรวม ของกลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นรายไตรมาส และรายปี เพื่อปรับปรุงการให้บริการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน

ฝากประชาสัมพันธ์

เพื่อประโยชน์ของท่านโปรดดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่รับสมัครสอบ ที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อตรวจสอบข้อมูลการรับสมัครสอบ


นิติกร

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงานปฏิบัติงานด้านนิติการภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติงาน
๑) เสนอความเห็นแกผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมาย เกี่ยวกับ ระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณา ของผู้บังคับบัญชา
๒) ศึกษา วิเคราะห์และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานที่ รับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสม และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
๓) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการ ดำเนินการเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ และการดำเนินคดีของหน่วยงาน
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสาน
๓.๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงาน หน่วยงานหรือส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนดไว้
๓.๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคล หน่วยงานหรือส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๓.๓) ประสานงานด้านนิติการกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ด้านนิติการให้มีความสะดวก เรียบร้อย และราบรื่น
๔. ด้านบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ ในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความร้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคล หรือหน่วยงานดังกล่าว
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานทางกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะงานทีปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับดูแลการดำเนินการของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ให้ปฏิบัติเป็นไปตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๔๔๖ และที่แกิไขเพิ่มเดิม รวมถึงประกาศ ระเบียบ และกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

๑) การดำเนินงานเกี่ยวกับการขอความเห็นชอบ/รับทราบการเแHขข้อกำหนดของ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามมาตรา ๑๑
๒) การดำเนินงานเกี่ยวกับการขออนุญาตเปลี่ยนชื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามมาตรา ๑๔
๓) การดำเนินงานเกี่ยวกับการขออนุญาตใซัชื่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นอักษร ต่างประเทศ ตามมาตรา ๒๑ วรรคสอง
๔) การดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามมาตรา ๒๓ และกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา เอกชน พ.ศ. ๒๔๔๙
๕) การดำเนินงานการแต่งตั้งกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามมาตรา ๒๘
๖) การดำเนินงานเกี่ยวกับการรับทราบการแต่งตั้งอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามมาตรา ๔๐ และผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดีตามมาตรา ๔๒
๗) การดำเนินงานเกี่ยวกับการเลิกกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามมาตรา ๑๐๐
๘) การดำเนินงานเกี่ยวกับการโอนผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามมาตรา
๑๐๑ และ ๑๐๒
๙) การสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เช่น การดำเนินงาน เกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน, การออกหนังสือรับรองสถานภาพนิติบุคคลให้แก่ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, การให้คำปรึกษาและวินิจฉัยข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานให้แกเจ้าหน้าที่ ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เป็นต้น
๑๐) ปฏิบัติภาระงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


นักจัดการงานทั่วไป

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ทีต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการภายในสำนักงาน งานสารบรรณ งานด้านพัสดุ อาทิเช่น ครุภัณฑ์ การจัดซื้อจัดจ้าง งานระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ERP และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง งานด้านบุคลากร การติดต่อ ประสานงานทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก รวมถึงการบริหารราชการทั่วไป ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
๑.ด้านการปฏิบัติการ
๑) ศึกษา รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสำนักงานในด้าน ต่างๆ เช่น /งานสารบรรณ /งานด้านพัสดุ / งานด้านบุคลากร เป็นต้น
๒) ปฏิบัติงานเลขานุการของผู้บริหาร เช่น การกลั่นกรองเรื่อง การจัดเตรียมเอกสารสำหรับ การประชุม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บังคับบัญชา
๓) จัดเตรียมการประชุม บันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุม และรายงานอื่น ๆ เพื่อให้ การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
๔) ทำเอกสารติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกหน่วยงานเพื่อให้ การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
๕) ช่วยติดตามการปฏิบัติตามมติของที่ประชุม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหารของ หน่วยงาน เพื่อการรายงานและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
๒.ด้านการวางแผน
– วางแผนการทำงานทีรับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมถุทธี๋ที่กำหนด
๓.ด้านการประสานงาน
๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมถุทธิ้ตามที่กำหนด
๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔.ด้านการบริการ
ตอบปัญหา ชี้แจง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้น แกหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไปเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจในงาน ที่รับผิดชอบ และปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการเงินและบัญชี

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ทางวิชาการในการ ปฏิบัติงานด้านงานการเงิน งานงบประมาณ และงานบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
๑) ศึกษา วิเคราะห์ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีปฏิบัติ ด้านการเงินการงบประมาณ การบัญชี และงานสารบรรณเพื่อให้มีความเข้าใจในกฎระเบียบแนวปฏิบัติที่ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
๒) ตรวจสอบ ปฏิบัติงาน รับผิดชอบ แกไชปัญหา ให้คำแนะนำ ประสานงานเกี่ยวกับการเบิก จ่ายเงิน ให้สามารถเบิกจ่าย เงินงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่า แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ และถูกต้องตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
๓) จัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี จัดทำคำของบประมาณรายจำยประจำปี การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปี การเบิกจ่ายเงินงบประมาณแทนกัน การกันเงินงบประมาณไว้ เบิกเหลื่อมปีการขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณ และการขยายเวลาเก็บรักษาเงินงบประมาณ
๔) ควบคุม ตรวจสอบ การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี การจัดทำรายงานการใช้จ่าย งบประมาณ ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้ข้อมูลเป็นไป อย่างถูกต้อง ครบล้วนและเป็นปัจจุบัน
๕) ปฏิบัติงาน รับผิดชอบ เกี่ยวกับการจัดทำหนังสือราชการ นับตั้งแต่คิด ร่าง เซียน แต่ง พิมพ์ จัดทำสำเนา ตามเรื่องที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
๖) ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และแก่ไขปัญหาต่างๆ ทีเกิดขึ้นแก1เจ้าหนัาทีในระดับรองลงมาในสายงาน ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานต่างๆ ทีเกี่ยวข้อง เพื่อให้ การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
๗) ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ งานงบประมาณ เพื่อนำมาประยุกต์ไข้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
๘) ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานอื่นๆ ตามทีได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุน ให้หน่วยงานและสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม บรรลุภาระกิจที่กำหนดไว้


วิศวกรโยธา

ปฏิบัติงานทางวิศวกรรมโยธา ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณ ด้านวิศวกรรมโยธา การด้นคว้า วิเคราะห์วิจัย ทดสอบ หาข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบ การตรวจสอบวินิจฉัยงานวิศวกรรมโยธา การวางโครงการก่อสร้างในสาขา วิศวกรรมโยธา การให้คำปรึกษาแนะนำ หรือตรวจสอบที่เกี่ยวกับงานในสาขาวิศวกรรมโยธา ซึ่งงานดังกล่าวข้างต้นนี้มีลักษณะ ขนาด หรืออยู่ในประเภท ตามที่กำหนดไว้สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม และปฏิบัติ หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธา ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตาม ที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑) สำรวจ ศึกษา วางแผน วิเคราะห์ วิจัย ออกแบบ คำนวณ ประมาณราคา ควบคุมงาน ก่อสร้าง งานบำรุง งานบูรณะช่อมแซม งานอำนวยความปลอดภัย งานผังเมืองหรืองานอื่นใดที่เกี่ยวช้อง กับวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒) ตรวจสอบ แบบแปลน โครงสร้าง สภาพการใช้งานของอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
๓) ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานสำรวจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้รูปแบบแผนที่ ต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
๔) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนด กฎ ระเบียบ มาตรฐาน มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับ วิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน
๕) ศึกษา วิจัย และทดสอบวัสดุ ที่ใช้งานด้านวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มี ความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยและประหยัดงบประมาณ
๖) ตรวจสอบสัญญาก่อสร้าง บำรุง บูรณะซ่อมแซมและอำนวยความปลอดภัย รวมถึงการ แก่ไขสัญญา งานวิศวกรรมโยธา เพื่อให้งานมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
– วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้มีการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธี๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธิ๋ตามที่กำหนดไว้
๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

๔. ด้านการบริการ
๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาและเผยแพร,ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั่งการมีส่วนร่วม
๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง จัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับ งานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใข้ประกอบการ พิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ


นายช่างเทคนิค

ปฏิบัติงานทางเทคนิค ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการซ่อม สร้าง ประกอบ ดัดแปลง ออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแบบแปลน และรายละเอียด ที่กำหนด ควบคุมระบบงานที่ใซัเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ หลายนชนิดรวมกันคำนวณรายการ และประมาณราคาเกี่ยวกับงานดังกล่าว ช่วยงาน ตรวจสอบ การประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุม ตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย สำรวจท้องที่เพื่อกำหนดเขตและสถานที่เกี่ยวกับการประกันภัย และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใฃ้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับบปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างเทคนิค ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑) ดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมและบำรุงรักษา ระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่น ๆ ในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและพร้อมใน การใช้งาน
๒) ซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนหรือออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการทดลองใช้เครื่องจักร เครื่องกล และสิ่งก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชา และมาตรฐานงานช่าง และให้เกิดความปลอดภัย
๒. ด้านการบริการ
๑) ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำข้อมูล ถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะ ทั่วไปให้แกบุคลากรภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชน เพื่อให้ความรู้ ความสามารถ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
๒) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ระดับปริญญาโท

การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ (สอบข้อเขียน) ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง –    นโยบาย/ยุทธศาสตร์ และบทบาทภารกิจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานปลัดกระทรวง การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม –    แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการและการติดตามประเมินผล –    การจัดทำข้อเสนอโครงการและการบริหารจัดการโครงการ –    ความรู้ความสามารถในการจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ –    การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ –    การคิดและการออกแบบเชิงกลยุทธ์ –    ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๒ (สอบสัมภาษณ์) ๑.ความรู้ พิจารณาจากประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ๒.ความสามารถ พิจารณาความสามารถที่จะทำงานในหน้าที่ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เขาวน์ปัญญา ในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และการแก้ไขปัญหา ๓.บุคลิกภาพทั่วไปและทัศนคติ พิจารณาจากประวัติส่วนตัวบุคลิกลักษณะทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ระดับปริญญาตรี

การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ (สอบข้อเขียน) –    ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม –    ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔ –    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนโครงการ –    ความรู้เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ –    ความรู้เกี่ยวกับการร่างหนังสือราชการ การจดบันทึกรายงานการประชุม –    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม การจัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงาน/โครงการ การติดตามประเมินผล รวมทั้งการบริหารความเสี่ยง –    ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวประเทศ ๒๐ ปี –    ความรู้เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุม คณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอ เรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ –    ความรู้เกี่ยวกับข้าราชการการเมือง
การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๒ (สอบสัมภาษณ์) ๑.ความรู้ พิจารณาจากประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ๒.ความสามารถ พิจารณาความสามารถที่จะทำงานในหน้าที่ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา ในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และการแก้ไขปัญหา ๓.บุคลิกภาพทั่วไปและทัศนคติ พิจารณาจากประวัติส่วนตัวบุคลิกลักษณะทั้งทางร่างกายและจิตใจ


นักทรัพยากรบุคคล

การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ (สอบข้อเซียน) –    การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล –    ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ –    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ –    พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม –    พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.๒๕๖๒ –    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๒ (สอบสัมภาษณ์) ๑.ความรู้ พิจารณาจากประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ๒.ความสามารถ พิจารณาความสามารถที่จะทำงานในหน้าที่ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา ในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และการแก้ไขปัญหา ๓.บุคลิกภาพทั่วไปและทัศนคติ พิจารณาจากประวัติส่วนตัวบุคลิกลักษณะทั้งทางร่างกายและจิตใจ


นิติกร

การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ –    พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ –    พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ แกไขเพิ่มเดิม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ และกฎหมายว่าด้วย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน –    พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๒ (สอบสัมภาษณ์) ๑.ความรู้ พิจารณาจากประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ๒.ความสามารถ พิจารณาความสามารถที่จะทำงานในหน้าที่ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา ในการแสดงความคิดเห็นไนเรื่องต่างๆ และการแก้ไขปัญหา ๓.บุคลิกภาพทั่วไปและทัศนคติ พีจารณาจากประวัติส่วนตัวบุคลิกลักษณะทั้งทางร่างกายและจิตใจ


นักจัดการงานทั่วไป

การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ –    ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และระเบียบที่เกี่ยวซ้อง –    ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แกไขเพิ่มเดิม –    พระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ –    ความรู้เกี่ยวกับการเงินและงบประมาณ –    ความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับนักจัดการงานทั่วไป –    ความสามารถในการบริหารจัดการงานทั่วไป –    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๒ (สอบสัมภาษณ์) ๑.ความรู้ พิจารณาจากประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ๒.ความสามารถ พิจารณาความสามารถที่จะทำงานในหน้าที่ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา ในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และการแก้ไขปัญหา ๓.บุคลิกภาพทั่วไปและทัศนคติ พิจารณาจากประวัติส่วนตัวบุคลิกลักษณะทั้งทางร่างกายและจิตใจ


นักวิชาการเงินและบัญชี

การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ – ความรู้เกี่ยวกับบัญชี การเงิน และงบประมาณ –    ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS – Government Fiscal Management information System) –    พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ –    ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ –    พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ –    ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่ง จากคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ –    มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๒ (สอบสัมภาษณ์) ๑.ความรู้ พิจารณาจากประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ๒.ความสามารถ พิจารณาความสามารถที่จะทำงานในหน้าที่ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา ในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และการแก้ไขปัญหา ๓.บุคลิกภาพทั่วไปและทัศนคติ พิจารณาจากประวัติส่วนตัวบุคลิกลักษณะทั้งทางร่างกายและจิตใจ


วิศวกรโยธา

การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ ๑.ความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน –    ความรู้ทางด้านกลศาสตร์ การออกแบบ การเขียนแบบ งานสำรวจ งานคอนกรีต งานสาธารณูปโภค และการประมาณราคาก่อสร้าง ๒.ความรู้เรื่องกฎหมายและกฎระเบียบราชการ –    พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ –    พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ –    ประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๒ (ลักษณะ ๒ : ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง)
การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๒ (สอบสัมภาษณ์) ๑.ความรู้ พิจารณาจากประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ๒.ความสามารถ พิจารณาความสามารถที่จะทำงานในหน้าที่ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา ในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และการแก่ไขปัญหา ๓.บุคลิกภาพทั่วไปและทัศนคติ พิจารณาจากประวัติส่วนตัวบุคลิกลักษณะทั้งทางร่างกายและจิตใจ


นายช่างเทคนิค

การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ ๑) ความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน คณิตศาสตร์พึ่นฐาน,ทฤษฎีวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, มาตรฐานการติดตั่งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย,เครื่องกลไฟฟ้า,หม้อ แปลงไฟฟ้า, เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า,ระบบโทรคมนาคม และการสื่อสาร เบื้องต้น,ระบบปรับอากาศ,ระบบสุขาภิบาล,ระบบดับเพลิง,ระบบประปา, ระบบท่อนํ้าโสโครก ๒) ความรู้เรื่องกฎหมายและกฎระเบียบราชการ กฎกระทรวงฉบับที่ ๓๓ ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๘
การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ ๒ (สอบสัมภาษณ์) ๑.ความรู้ พิจารณาจากประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ๒.ความสามารถ พิจารณาความสามารถที่จะทำงานในหน้าที่ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เชาวน์ปัญญา ในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และการแกไขปัญหา ๓.บุคลิกภาพทั่วไปและทัศนคติ พิจารณาจากประวัติส่วนตัวบุคลิกลักษณะทั้งทางร่างกายและจิตใจ

วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 24 ธ.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |

Facebook Comments